กราบนมัสการหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา

By | March 1, 2015

https://youtu.be/4WoXn4L5BMI

กราบนมัสการหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา

วันหยุดสุดสัปดาห์อีกครั้ง ผมได้วางแผนเดินทางไปยังวัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา เหตุเพราะเป็นวัดที่หลวงพ่อปาน โสนันโท เคยจำพรรษาก่อนที่จะมรณภาพ ซึ่งหลวงพ่อปานท่านเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ด้วยปฏิปทาของหลวงพ่อปาน ตลอดชีวิตของท่านได้ดำเนินรอยตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด จึงเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนเสมอมา แม่ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ความดีและคำสอนต่างๆของท่าน ยังเป็นที่เล่าขานมาจนถึงทุกวันนี้

ก่อนหน้านี้ผมได้อ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน โสนันโท เกี่ยวกับการเดินทางธุดงค์ไปยังสระบุรี เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท และพระพุทธฉาย ที่สระบุรี ซึ่งเรื่องราวค่อนข้างอัศจรรย์หลายๆประการ ทำให้ผมต้องเดินทางไปทั้ง 2 สถานที่อีกครั้งหนึ่ง เพราะเกิดความเลื่อมใสเป็นทวีคูณ

หลังจากที่ผมได้เดินทางไปสถานที่ข้างต้นแล้ว จึงได้ตั้งใจไว้ว่าจะเดินทางไปยังวัดบางนมโค เพื่อไปกราบนมัสการหลวงพ่อปาน แม้ว่าปัจจุบันท่านจะมรณภาพไปแล้วก็ตาม

สถานที่ตั้งของวัดบางนมโค จะอยู่ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเดินทางค่อนข้างง่าย และสะดวก โดยให้เดินทางมายังอำเภอเสนา จะผ่านโลตัส และปั้มน้ำมัน ปตท. และบางจาก ทางเข้าของวัดจะใกล้เคียงกับปั้มน้ำมันบางจาก จะเห็นป้ายขนาดใหญ่ชัดเจนฝั่งขวามือ

ถ้าเดินทางมาจากพระนครศรีอยุธยา จะผ่านโลตัสก่อน และมาถึงปั้ม ปตท.

ถ้าเดินทางมาจากพระนครศรีอยุธยา จะผ่านโลตัสก่อน และมาถึงปั้ม ปตท.

เยื้องปั้ม ปตท. จะเป็นปั้มบางจาก ทางเข้าวัดจะตั้งอยู่ถัดไป

เยื้องปั้ม ปตท. จะเป็นปั้มบางจาก ทางเข้าวัดจะตั้งอยู่ถัดไป

ภาพแผนที่การเดินทางมาวัดบางนมโค

ภาพแผนที่การเดินทางมาวัดบางนมโค

ผมใช้เวลาเดินทางไม่นานนักก็มาแวะเข้าปั้มน้ำมันหากาแฟดื่มเล็กน้อย ก่อนที่จะไปวัดบางนมโคซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน

บริเวณวัดบางนมโค

บริเวณวัดบางนมโค

ศาลหน้าวัด

ศาลหน้าวัด

หลังจากเลี้ยงเข้ามาตามเส้นทางตามป้ายบอกทาง ผมก็ได้หาที่จอดรถซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางดีครับ บริเวณหน้าวัดจะมีต้นไม้ขนาดใหญ่ และมีการสร้างศาลเจ้าที่ไว้ด้วย รวมทั้งเครื่องสักการะต่างๆ ที่ชาวบ้านและผู้ที่มีความเชื่อนำมาถวาย มีเรื่องเล่าว่าต้นไม้ต้นนี้เคยจะถูกตะดออก แต่มีหญิงคนหนึ่งมาเข้าฝันหลวงพ่อปานไม่อยากให้ตัดเพราะจะไม่มีที่อยู่ ทางวัดจึงไม่ได้ตัดออกจนทุกวันนี้

พระพุทธโสนันทะ (จำลอง) หน้ามณฑปหลวงพ่อปาน

พระพุทธโสนันทะ (จำลอง) หน้ามณฑปหลวงพ่อปาน

เมื่อผมจอดรถเรียบร้อยแล้วผมก็ตรงดิ่งมายังมณฑปหลวงพ่อปานเป็นอันดับแรก ด้านหน้ามณฑปหลวงพ่อปานจะประดิษฐานพระพุทธโสนันทะ องค์จำลอง ที่ให้พุทธศาสนิกชนสามารถปิดทองบูชาได้

พระพุทธโสนันทะ องค์จำลอง

พระพุทธโสนันทะ องค์จำลอง

ก่อนที่ผมจะเข้าไปยังพระมณฑปหลวงพ่อปาน ผมก็ได้ทำการจุดธูปเทียน บูชาพระด้านหน้า และปิดทององค์พระก่อน

รูปหล่อหลวงพ่อปาน

รูปหล่อหลวงพ่อปาน

เมื่อเข้ามาด้านในพระมณฑปหลวงพ่อปาน จะมีรูปหล่อหลวงพ่อปานประดิษฐานอยู่ ซึ่งสามารถที่จะปิดทองบูชาได้

พุทธศาสนิกชนร่วมปิดทองบูชาหลวงพ่อปาน

พุทธศาสนิกชนร่วมปิดทองบูชาหลวงพ่อปาน

ผมได้ทำการปิดทองบูชาหลวงพ่อปาน และสังเกตุที่องค์พระ จะเห็นถึงความหนาของแผ่นทองคำเปลวอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นว่า มีผู้เดินทางมาทำบุญที่วัดบางนมโคปริมาณที่ไม่น้อยเลย

กรอบคำอธิบายเรื่องราวของพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์

กรอบคำอธิบายเรื่องราวของพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์

พระคาถาปัจเจกโพธิ์ เป็นคาถาที่หลวงพ่อปาน ได้นำออกเผยแพร่ และได้รับความนิยมในการสวดบูชากันโดยทั่วไป ซึ่งภายในพระมณฑปจะมีกรอบรูปที่บอกถึงเรื่องราวของพระคาถานี้ไว้ด้วย

ป้ายคาถาพระปัจเจกโพธิ์ ในมณฑป

ป้ายคาถาพระปัจเจกโพธิ์ ในมณฑป

ประวัติพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์ พระคาถาที่หลวงพ่อปานได้ฝากไว้ให้สาธุชน

พระคาถานี้ หลวงพ่อปานได้เรียนมาจากท่านครูพึ่งบุญ หรือท่านครูผึ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2472 ซึ่งเวลานั้นครูผึ้งมีอายุ 99 ปี ท่านได้เรียนพระคาถานี้และเห็นผลมามากมาย หลวงพ่อปานได้แนะนำให้คนที่สวดพระคาถานี้ จะต้องถือศีลเป็นนิจ อาจจะสวด 3 จบ ถึง 9 จบ ตามแต่กำลังศรัทธา ให้สวดพระคาถาทุกวันอาจจะเป็นตอนเช้า ตอนเย็น ก่อนนอน ตามสะดวก จะเกิดปัญญา ทำมาหากินไม่ขัดสน เรื่องราวประวัติของพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์ มีเรื่องราวดังนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2472 หลวงพ่อปานพร้อมคณะได้เดินทางไปยังทุกภาคของประเทศไทย เมื่อไปถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะที่หลวงพ่อปานได้เข้าจำวัด โดยมีพระอุปัฏฐากกับทายกคอยดูแลที่หน้าห้อง ประมาณ 17.00 น. มีชายคนหนึ่ง รูปร่างเพรียว ท่าทางสง่า ผิวขาว นุ่งห่มผ้าม่วงสีน้ำเงิน สวมเสื้อนอกราชปะแตน กระดุมห้าเม็ด ถุงเท้าขาว รองเท้าคัชชูสีดำ สวมหมวกสักหลาด ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ได้เข้ามาถามพระอุปัฎฐาก แล้วถามว่าหลวงพ่อตื่นหรือยัง พระอุปัฏฐากยังไม่ทันตอบ ก็มีเสียงหลวงพ่อปานดังออกมาว่า ยังไม่นอนหรอก นอนคอยอยู่ นึกว่าจะผิดนัดเสียแล้ว

ขณะที่ท่านทั้งสองได้สนทนากันอยู่นั้น ยังความสงสัยให้กับพระอุปัฏฐากเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อปานเลยบอกไปว่า โยมผู้เฒ่าท่านนี้ได้ทางในและได้นัดหมายระหว่างที่เราได้เดินทางมา หลวงพ่อปานได้กล่าวต่อว่า พวกเราจะพ้นความยากจนเพราะโยมท่านนี้มีของดี ซึ่งโยมท่านนี้ชื่อท่านครูผึ้ง

ท่านครูผึ้งได้เล่าถึงที่มาของพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์ว่า เมื่อครั้งอายุ 40 ปี ได้มีพระธุดงค์มารูปเดียว จึงได้นิมนต์ให้พักเพื่อบำเพ็ญกุศลนาน 4 วัน ได้ปฏิบัติท่านอย่างดีเท่าที่จะทำได้ ได้เรียนพระกรรมฐานจากท่าน เมื่อท่านจะกลับ จึงได้มอบพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์บทนี้ไว้ให้ พร้อมอธิบายวิธีปฏิบัติ ท่านบอกว่าเงินทองจะไม่ขาดมือ ถ้าปฏิบัติเป็นกรรมฐานจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี ให้โยมเอาพระคาถานี้ไปภาวนาเป็นกรรมฐานเถิด ไม่เกิน 2 ปี โยมจะร่ำรวยใหญ่ เงินทองจะหลั่งไหลมา

เมื่อท่านครูผึ้งได้เล่าเรื่องจบ จึงได้มอบพระคาถานี้ให้หลวงพ่อปาน และได้โปรดแจกจ่ายเป็นธรรมทานด้วยเถิด

ตัวพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์

นะโม ฯลฯ 3 จบ

พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (ว่าครั้งเดียว)

“วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม” (ว่ากี่จบก็ได้ แต่ให้สม่าเสมอ)

พระคาถานี้ ต่อมาหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้นำมารวมกับพระคาถาต่างๆ จนเกิดเป็นพระคาถาเงินล้าน ที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพในหลวงเสด็จเยี่ยมวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2517

ภาพในหลวงเสด็จเยี่ยมวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2517

หนังสือสวดมนต์ ที่ทางวัดพิมพ์แจก

หนังสือสวดมนต์ ที่ทางวัดพิมพ์แจก

หลังจากที่ผมได้กราบพระและเดินชมบรรยากาศภายในพระมณฑปหลวงพ่อปานแล้ว ผมก็ได้เดินออกไปเพื่อจะเข้าไปนมัสการพระพุทธโสนันทะ ภายในพระอุโบสถ

บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ

บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ

ด้านหน้าพระอุโบสถ

ด้านหน้าพระอุโบสถ

พระอุโบสถเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 โดยหลวงพ่อปาน

พระอุโบสถเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 โดยหลวงพ่อปาน

พระพุทธรูปทางเข้าพระอุโบสถ

พระพุทธรูปทางเข้าพระอุโบสถ

ใบเสมารอบพระอุโบสถ

ใบเสมารอบพระอุโบสถ

พระพุทธโสนันทะ ประดิษฐานในพระอุโบสถ

พระพุทธโสนันทะ ประดิษฐานในพระอุโบสถ

ภายในพระอุโบสถจะประดิษฐานพระพุทธโสนันทะ และองค์หลวงพ่อปาน ส่วนที่ผนังจะมีภาพวาดสีสวยงามดีครับ

ภาพวาดในพระอุโบสถ ในหลวงเสด็จเยี่ยมวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2517

ภาพวาดในพระอุโบสถ ในหลวงเสด็จเยี่ยมวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2517

ทางลงสู่ด้านล่างพระอุโบสถเพื่อชมภาพวาดเมืองนรก

ทางลงสู่ด้านล่างพระอุโบสถเพื่อชมภาพวาดเมืองนรก

พระอุโบสถที่วัดบางนมโค จะแปลกกว่าที่อื่นๆคือ หลวงพ่อปานได้ออกแบบให้มีชั้นล่าง และมีภาพวาดเกี่ยวกับเมืองนรก ไว้เป็นข้อเตือนใจแก่สาธุชนทั้งหลาย

ภาพวาดเมืองนรก

ภาพวาดเมืองนรก

ภาพวาดเมืองนรก

ภาพวาดเมืองนรก

หลังจากเดินวนเวียนดูภาพเมืองนรกสักครู่ ผมก็เลยไปดูใต้ฐานพระพุทธโสนันทะ จะเป็นทางรอดให้ผู้ที่มีความเชื่อลอดใต้ฐานพระด้วยครับ

ความงามภายนอกพระอุโบสถ

ความงามภายนอกพระอุโบสถ

หลังจากนั้นผมก็ได้ไปที่จุดให้เช่าวัตถุมงคล เพื่อเก็บเป็นที่ระลึก และเป็นสิริมงคล

จุดให้เช่าวัตถุมงคล

จุดให้เช่าวัตถุมงคล

สำหรับเรื่องวัตถุมงคลนั้น หลวงพ่อปานมีมูลเหตุที่ต้องสร้างขึ้น เมื่อในอดีต โดยมีมูลเหตุดังนี้

มูลเหตุหลวงพ่อปานสร้างพระวัตถุมงคล

เมื่อปี พ.ศ. 2446 หลวงพ่อปานท่านได้ครุ่นคิดเรื่องการปรับปรุงเสนาสนะในวัดบางนมโค โดยตั้งใจจะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุด ท่านได้ใช้วิธีกรรมฐาน ในบริเวณป่าช้าท้ายวัด ในขณะที่ท่านเจริญฌาณอยู่นั้น มีชีปะขาวปรากฏกายขึ้น และกล่าวว่าท่านต้องสร้างพระเพื่อใช้ในการหาทุนปัจจัย

โดยชีปะขาวกล่าวว่าให้ทำเป็นรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับบนบัลลังค์เหนือสัตว์ต่างๆ โดยจะนิมิตให้เห็นวันละ 1 ตัวพร้อมพระคาถากำกับ โดยแต่ละคืนจะปรากฏนิมิตดังนี้

คืนที่ 1 มีหนุมานปรากฏ พร้อมคาถา มีพุทธคุณด้านปลอดภัย และเจริญในหน้าที่การงาน

คืนที่ 2 มีไก่ปรากฏ พร้อมคาถา มีพุทธคุณด้านเมตตา มหานิยม

คืนที่ 3 มีครุฑปรากฏ พร้อมคาถา มีเดชอำนาจ คงกระพันชาตรี

คืนที่ 4 มีเม่นปรากฏพร้อมคาถา มีพุทธคุณปลอดภัยจากสัตว์ร้าย

คืนที่ 5 มีรูปนกกระจาบปรากฏพร้อมคาถา มีพุทธคุณด้านความปลอดภัย

คืนที่ 6 มีรูปปลาเสือปรากฏพร้อมคาถา มีพุทธคุณด้านการค้าขายดี

ชีปะขาวได้แนะนำให้ท่านปลุกเสกได้นาน 3 ปี จะมีอิทธิฤทธิ์ขึ้นมาก เมื่อเสกครบไตรมาสก็จะป้องกันอันตรายได้ แม้ว่าหลวงพ่อปานจะได้รับคำแนะนำจากชีปะขาวแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่ได้สร้างพระ จนปี พ.ศ. 2450 ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาปลุกเสกพระจากอาจารย์แจง ซึ่งเป็นฆราวาส ตามตำราพระร่วงเจ้า จึงได้ตัดสินใจสร้างพระขึ้นมาเป็นครั้งแรก

พระหลวงพ่อปาน

พระหลวงพ่อปาน  http://www.centralamulet.com

ผมลองค้นหาข้อมูลการเช่าบูชาพระรุ่นแรกๆ ของหลวงพ่อปานมีราคาหลักหมื่น จนถึงแสนเลยนะครับ ถือว่าได้รับความนิยมสูงมาก สำหรับผมเองก็คงไม่ได้เช่าหาของแพงขนาดนั้น ก็เลยเช่าบูชารุ่นใหม่ๆ ที่ส้รางหลังท่านมรณภาพมาเป็นที่ระลึก

ภายในมณฑปหลวงพ่อปาน

ภายในมณฑปหลวงพ่อปาน

ประวัติย่อหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

หลวงพ่อปาน ท่านเกิดย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 เป็นบุตรชายคนเล็กของคุณพ่ออาจ และคุณแม่อิ่ม สุทธาวงศ์ โดยครอบครัวมีอาชีพทำนา

สาเหตุที่โยมบิดาเรียกท่านว่า ปาน เนื่องจาก ที่นิ้วก้อยข้างซ้ายของท่านมีปานแดง ตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้ว

หลวงพ่อปานได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2438 โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อยุธยา พระกรรมวาจารย์ คือ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน อยุธยา พระอนุสาวนาจารย์ คือ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ อยุธยา และท่านได้ฉายาว่า “โสนันโท”

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วท่านได้มาอยู่ที่วัดบางปลาหมอ โดยมีหลวงพ่อสุ่น เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน  เมื่อท่านเรียนวิชาจากหลวงพ่อสุ่นแล้ว ก็ได้ออกธุดงค์เพียงรูปเดียวจนถึงเขตแดนพม่า และเกิดเรื่องราวอัศจรรย์มากมาย

และเรียนพระปริยัติธรรมและภาษาบาลีกับอาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ป็นเวลา 2 ปี และไปเรียนต่อที่วัดสระเกศ กรุงเทพฯ จนจบอภิธรรม 7 คัมภีร์

ขณะที่อยู่กรุงเทพฯ ได้เรียนด้านแพทย์แผนโบราณที่วัดสังเวช จากนั้นได้เรียนวิชากรรมฐานเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี เป็นเวลา 3 เดือน

ศึกษาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี อีก 1 เดือน และได้เรียนวิชาสร้างพระจากชีปะขาว จำนวน 6 พิมพ์ และเรียนวิชายันต์เกราะเพชร จากอาจารย์แจงซึ่งเป็นฆราวาสชาวสวรรคโลก

เมื่อท่านได้เรียนจบ ก็ได้มาตั้งสำนักสอนภาษาบาลี และนักธรรมที่วัดบางนมโค และได้ริเริ่มก่อสร้างวัดบางนมโค ตั้งสำนักสอนภาษาบาลีและนักธรรม ริเริ่มการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ และพัฒนาวัดบางนมโค จนเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ จากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างวัดทั้งหมดถึง 41 วัด มีการก่อสร้างโบสถ์ และศาสนวัตถุอื่นอีกมากมาย นับว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีบารมีสูงมากจึงสามารถสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดพระศาสนาได้มากถึงเพียงนี้

หลวงพ่อปาน มรณภาพ วันแรม 14 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 26 กรกฎาคม 2481

แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่สิ่งต่างๆและคำสอนก็ยังเป็นมรดกอันล้ำค่ามาจนถึงปัจจุบันนี้

ภาพประวัติศาสตร์ ณ วัดบางนมโค … ในหลวงเสด็จมาวัดบางนมโค

ในหลวงเสด็จเยี่ยมวัดบางนมโค

ในหลวงเสด็จเยี่ยมวัดบางนมโค

ในหลวงเสด็จ ณ มณฑปหลวงพ่อปาน

ในหลวงเสด็จ ณ มณฑปหลวงพ่อปาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จวัดบางนมโคเป็นการส่วนพระองค์ ขณะที่ทรงแปรพระราชฐานประทับ ณ พระราชวังปางปะอิน อยุธยา เพื่อทรงชมปูชนียสถาน นมัสการพระ บูชาหลวงพ่อปาน นมัสการพระพุทธโสนันทะ พระประธานในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2517

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า หลวงพ่อปานเก่งมาก ศักดิ์สิทธิ์มาก ได้ทำประโยชน์ไว้มาก เช่น การก่อสร้างศาสนสถานแข็งแรง สวยงามทั้งนั้น พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาโร) เจ้าอาวาสได้ถวายพระพรว่า หลวงพ่อปานนั้นมีราชทินนามว่า พระครูวิหารกิจจานุการ ผู้ปราถนาพุทธภูมิคงแก่เรียนมาก ส่งเสริมการศึกษาการปฏิบัติ นำการก่อสร้างมาสู่ท้องถิ่นใกล้และไกล มีประโยชน์มากและมั่งคง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งถามว่า บางนมโค มีความหมายว่าอย่างไร ท่านพระครูวิหารกิจจานุยุตเจ้าอาวาสได้ถวายพระพรว่า ก่อนสร้างวัดท้องทุ่งแห่งนี้มีวัวควายอยู่มาก เมื่อพ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่วัดสีกุก อาจจะต้อนวัวควายมาไว้ที่นี่ จึงได้ชื่อว่า บางนมโค เพราะมีวัวควายอยู่มาก วัดนี้อยู่ห่างจากค่ายสีกุกประมาณ 3 กิโลเมตร ในสมัยก่อนนั้นเรียกว่า วัดนมโค ต่อมามีการเปลื่ยนแปลงในสมัยหลวงพ่อปานเป็น วัดบางนมโค

จากหนังสืออนุสรณ์ 109ปี หลวงพ่อปาน

ประวัติย่อ วัดบางนมโค

วัดบางนมโคตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของลำน้ำแควน้อยซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า “วัดบางนมโค” นี้ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 ได้มาตั้งค่ายที่วัดสีกก กวาดต้อนผู้คนและวัวควายซึ่งมีมากในบริเวณนั้นมาใช้งาน จึง เรียกกันว่า “วังโค” หรือ “บ้านบางโค” ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น “บางนมโค” สืบมาจนปัจจุบัน ครั้งแรกตั้งเป็นชื่อตำบลแล้วนำมาใช้เป็นชื่อวัดในภายหลัง

วัดบางนมโค มีเจ้าอาวาสปกครองวัดนับถึงปัจจุบันได้ 8 รูป ดังนี้

1.เจ้าอธิการคล้าย (พะ.ศ.2426-2456) เป็นชาวเมืองนนทบุรี มีความเชี่ยวชาญด้านคาถาอาคมเก่งกล้าได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะหมวด ท่านขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเนื่องจากชราภาพมาก 2.พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ (พ.ศ.2456-2478) หลังจากเจ้าอธิการคล้ายลาออกจากตำแหน่งชาวบ้านได้ร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นเป็นเจ้าอาวาส แต่หลวงพ่อปฏิเสธโดยขอให้พระอธิการเย็นขึ้นครองแทน จนพระอธิการเย็นมรณภาพท่านจึงรับตำแหน่งเจ้าอาวาส 3.พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโท) (พ.ศ.2478-2480) หลวงพ่อปานปกครองดูแลวัดบางนมโคได้เพียง 2 ปีเท่านั้นก็มรณภาพลงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2481 4.พระอธิการเล็ก เกสโร (พ.ศ.2481-2484) 5.พระอธิการเจิม เกสโร (พ.ศ.2485-2491) 6.พระมหาวีระ ถาวโร (พ.ศ.2492-2500) (ฤาษีลิงดำ) 7.พระอาจารย์อำไพ อุปเสโน (พ.ศ.2501-2503) 8.พระครูวิหารกิจจานุยุต (พ.ศ.2503-2544) 9.พระครูสุวัจจริยาภรณ์ (พ.ศ.2544 ถึงปัจจุบัน)

ฟังแอดมินเล่าเรื่อง

https://youtu.be/qhQuahiPqfY

https://youtu.be/oCXhnMgC37U

https://youtu.be/GxUg_C9WChs

https://youtu.be/_Xqc1WUBesE

https://youtu.be/vebDx2ya2NQ

ตำนานที่มา อภินิหารคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า

คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นคาถาที่นิยมอย่างแพร่หลายของหลวงพ่อปาน … ต่อมาหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้เพิ่มเติมกลายเป็นพระคาถาเงินล้าน ซึ่งเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์มีเรื่องราวอัศจรรย์มากมาย ลองรับฟังดูครับ

อ่านบทความความเชื่อพระคาถาเงินล้าน ได้ที่ลิ้งก์ >> www.faiththaistory.com/spell-bodhisattva

https://youtu.be/4xyqdsrkUXM

ภาพบรรยากาศงานประจำปีปิดทองหลวงพ่อปาน ที่จัดขึ้นทุกปี

ผมได้เดินทางไปเที่ยวชมงานปิดทองหลวงพ่อปาน ประจำปี พ.ศ.2560 จึงนำภาพมาฝากด้วยครับ… การจัดงานถือว่าใหญ่โตพอสมควรเลยหล่ะครับ

คลิปงานประจำปี ปิดทองหลวงพ่อปาน ปี พ.ศ.2560

https://youtu.be/Tat2n1OoMus

ประมวลภาพงานประจำปี ปิดทองหลวงพ่อปาน ปีพ.ศ.2560

งานประจำปี 2560

ส้วมหลุมสมัยก่อน

เมื่อเราเดินไปเข้าห้องสุขา จะเห็นห้องสุขาโบราณ ห้องส้วมสมัยก่อน ณ วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา มีลวดลายสวยงามแปลกตา มีปล่องระบายกลิ่น มองเห็นถึงความเก่าแก่มีอายุหลายสิบปี ได้สอบถามแม่ค้าที่วัดกล่าวว่า เป็นส้วมหลุมเก่า ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อปานยังทรงขันธ์อยู่(หลวงพ่อปาน มรณภาพเมื่อ ปี พ.ศ. 2481) ซึ่งสมัยก่อนนั้นยังเป็นแบบส้วมหลุม ต่อมายุคสมัยเปลี่ยนไปจึงมีการสร้างส้วมซึมแทน แต่ทางวัดบางนมโค ยังอนุรักษ์ส้วมนี้ไว้ ให้เห็นถึงความสวยงามของลวดลายและวิถีชีวิตของคนสมัยก่อน

ส้วมหลุมเก่า วัดบางนมโค

คลิปจาก YouTube : FaithThaiStory

ช่องทางการติดตาม

Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com

Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน

YouTube Channel FaithThaiStory

Instagram

TikTok