วัดหอระฆัง วัดร้างโบราณ ริมคลองมะขามเรียง พระนครศรีอยุธยา
https://youtu.be/tMfGbZYR3EA ผมได้หาโอกาสเดินทางมาสำรวจพื้นที่และท่องเที่ยวที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาอีกครั้ง และได้ค้นหาข้อมูลวัดโบราณและวัดร้างมาบางส่วน ก็ได้เจอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดหอระฆัง จากข้อมูลแต่เดิมนั้น จะมองเห็นแต่เพียงสิ่งก่อสร้างก็คือหอระฆังที่โดดเด่นอยู่เท่านั้น ต่อมาทางกรมศิลปากรได้ทำการขุดพื้นที่และสำรวจในปี พ.ศ. 2540 พบว่ามีตัวอาคาร และชิ้นส่วนพระพุทธรูปมากมายด้านหลังของหอระฆังนี้ จากการขุดสำรวจพบว่า วัดหอระฆังจะตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก โดยหอระฆังจะอยู่ทิศตะวันออก มีคลองมะขามเรียงผ่านหน้าวัด ในอดีตจะเรียกชื่อว่าคลองนายก่าย และเพี้ยนมาเป็นในไก่ และมาเปลี่ยนเป็นคลองมะขามเรียงในปัจจุบันนี้ เดินทางตามรอยกันเลยครับ การเดินทาง ถือว่ามาง่ายและสะดวกครับ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้ข้ามสะพานสะพานปรีดี-ธำรง เจอกับสี่แยกไฟแดงแรก ให้เลี้ยวขวาได้เลยครับ แล้วตรงไปอีก 50 เมตรก็จะเห็นหอระฆังตั้งตระง่านอยู่ข้างทางด้านซ้าย แล้วก็เข้าชมพื้นที่ได้เลยครับ วันนี้ผมเดินทางด้วยมอเตอร์ไซด์ เลยสะดวกขึ้นเยอะแวะข้างทางถ่ายรูปกันได้ แต่ต้องระวังอุบัติเหตุให้มากๆ เนื่องจากในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยามีจุดที่เป็นวงเวียนหลายจุด เวลาขับรถเหมือนจะวัดใจว่าใครจะไปด้านหน้าหรือเลี้ยว ยิ่งเราขับมอเตอร์ไซด์ก็อาจจะเสียจังหวะได้ง่ายๆ ต้องระวังครับ ส่วนท่านที่ไม่นิยมขับมอเตอร์ไซด์ ก็จะมีเรื่องลำบากก็คือหาที่จอดลำบากในบางพื้นที่ สรุปเลยนะครับ เดี๋ยวจะสับสนกันซะก่อน คลองในไก่ ก็คือคลองเดียวกันกับคลองมะขามเรียงนั่นแหละครับ อีกประมาณ 50 เมตร จากทางแยกไฟแดงก็จะถึงวัดหอระฆังแล้วหล่ะครับ อยู่ริมถนนซ้ายมือ คลองมะขามเรียงจะวางตัวในแนวทิศเหนือและใต้ของเกาะเมืองอยุธยา ในอดีตบริเวณนี้เป็นย่านการค้าสำคัญในสมัยอยุธยา รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของหอระฆังมีการเจาะช่องโค้งรูปกลีบบัว เป็นรูปแบบที่นิยมกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงสันนิษฐานกันว่าวัดหอระฆังแห่งนี้สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซุ้มโค้งรูปกลีบบัวทะลุถึงกันแนวทิศตะวันออกและตะวันตก ผนังชั้นบนเจาะเป็นรูปโค้งกลีบบัวทั้งสี่ด้าน ชั้นบนเป็นที่แขวนระฆัง เหนือขึ้นไปเป็นยอดทรงปราสาทที่ชำรุดทรุดโทรมไปแล้ว วัดหอระฆังนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดใครเป็นผู้สร้าง สำนักโบราณคดี กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60 ตอนที่ 39 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2486 หลังหอระฆังจะเป็นตัวพระวิหาร อาคารก่ออิฐถือปูนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า… Read More »