ตามรอยขุมสมบัติอาถรรพ์ วัดกุฎีดาว ณ สถานที่จริง
https://youtu.be/IwgDNfBDEG8 https://youtu.be/Jx0otraIssM สวัสดีครับท่านผู้รักการท่องเที่ยวตามรอย ครั้งนี้เป็นบทความพิเศษอีกครั้งหนึ่ง เพราะผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยความเร้นลับเกี่ยวกับขุมสมบัติอาถรรพ์ ที่มีบันทึกเป็นข้อเท็จจริงถึงความเร้นลับนี้ ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับกรุมหาสมบัติของวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยาไว้แล้ว แต่ครั้งนี้เราจะไปตามรอยอีกแห่ง ซึ่งสถานที่แห่งนี้ก็คือ วัดกุฎีดาว จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่มีเรื่องราวขุมสมบัติอาถรรพ์ที่มีความหลอนและน่ากลัวในประวัติศาสตร์อีกเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นประสบการณ์ตรงของพระรวงวศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช จุดจอดรถจะมี 2 จุดคือ ทางหน้าพระวิหาร และอีกจุดคือบริเวณฝั่งวัดประดู่ทรงธรรม โดยกลุ่มนักเดินทางจอดรถ ณ ฝั่งวัดประดูทรงธรรม พาเดิมชมพื้นที่วัดกุฎีดาว อันดับแรก ผมจะพาทุกท่านเดินชมพื้นที่ของวัดกุฎีดาวกันเสียก่อน เป็นวัดที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อเข้ามาในบริเวณวัดกุฎีดาว จะผ่านตำหนักกำมะเลียน มีปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ พระองค์เสด็จมาทอดพระเนตรการบูรณะเป็นครั้งคราว สันนิษฐานว่าพระองค์น่าจะมาประทับที่ตำหนักนี้ พระเจดีย์ประธานในวัด เป็นเจดีย์ศิลปะแบบมอญ มีร่องรอยการพอกองค์เดิม สันนิษฐานว่าเป็นการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การเดินชมพื้นที่วัดโดบรอบ มีพื้นที่ใหญ่พอสมควร ทำให้จินตนาการไปถึงในยุคสมัยรุ่งเรืองคงมีความสวยงามอลังการอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ วัดกุฎีดาว อยุธยา วัดกุฎีดาวมีบันทึกในหลายเอกสาร ได้แก่ พงศาวดารเหนือ, คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเป็นต้น ในพงศาวดารเหนือ ได้บันทึกว่า วัดกุฎีดาวสร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่า ซึ่งแปลมาจากภาษาพม่าได้บันทึกว่ามีการสร้างบูรณะเจดีย์วัดกุฎีดาว ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศถ ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) ได้บันทึกว่า มีการบูรณะวัดกุฎีดาวมีการบูรณะในสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ การบันทึกในหลายเอกสารอาจไม่บันทึกการสร้างวัด แต่จากหลักฐานเชิงประจักษ์คือรูปแบบเจดีย์ประธาน จะเป็นทรงระฆังแบบลังกา ซึ่งเป็นรูปแบบเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลพุทธจากลังกา และนิยมสร้างในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๒๐ -๒๑ อีกทั้งจากปล้องไฉนของเจดีย์ ได้พังลงมาด้านล่าง ได้เห็นการก่อบูรณะถึง 3 ครั้ง จึงมีความเป็นไปได้ว่า… Read More »