วัดสำแล วัดสวยที่ชาวมอญอพยพสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา
https://youtu.be/Jxg3Ce_d-_w วัดสำแล ปทุมธานี วัดสวยที่ชาวมอญอพยพสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา… สวัสดีครับท่านที่รักการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดสวยงามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อว่า “วัดสำแล” ที่มีเรื่องราวว่าชาวมอญอพยพได้สร้างไว้ ซึ่งมีอัตลักษณ์ความเป็นมอญอย่างชัดเจนคือ เจดีย์แบบมอญและเสาหงส์ธงตะขาบ อีกทั้งมีสถูปบรรจุอัฐิของคีตกวีชั้นครูอยู่ที่นี่ คือครูไพบูลย์ บุตรขัน ผู้แต่งเพลงชื่อดัง มนต์รักลูกทุ่ง วัดสำแล ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านกระแชง อ.เมือง จ.ปทุมธานี วัดแห่งนี้สร้างโดยชาวมอญที่อพยพเข้ามาเมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาวัดเกิดความทรุดโทรมและได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ.2412 วัดสำแลติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมีบรรยากาศที่เย็นสบาย ถ้าเราเดินทางผ่านหน้าวัดจะไม่เห็นความสวยงามของหมู่เจดีย์แบบมอญ ซึ่งตั้งหลังวัด (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา) ดังนั้นเมื่อผ่านมายังวัดสำแล อย่าลืมแวะเที่ยวชมความงามของเจดีย์แบบมอญหลังวัดด้วยนะครับ ด้านหน้าวัดสำแล จะเห็นอุโบสถหลังใหม่สวยงาม ซึ่งสร้างแทนอุโบสถหลังเก่าในปี พ.ศ.2547 และสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2551 โดยมีคุณสมบูรณ์ เตชะมงคลกิจ นักธุรกิจที่มีบ้านเกิดอยู่ที่นี่ร่วมบริจาคกว่า 16 ล้านบาท ข้างอุโบสถหลังใหม่ เป็นอุโบสถหลังเก่าเป็นแบบมหาอุตม์ แต่หันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากที่ชมความสวยงามหน้าบันของอุโบสถหลังใหม่แล้ว ผมจึงเดินไปหลังวัด ทั้งนี้เราสามารถขับรถไปจอดริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้เช่นกันครับ ตำนานสัญลักษณ์ชาวมอญ ธงตะขาบ มีตำนานเล่าว่า ณ ดอยสิงคุตต์ เมืองย่างกุ้ง มีตะขาบยักษ์ตัวหนึ่งอาศัยอยู่และชอบจับช้างมากินเป็นอาหาร จนซากช้างกองสุมเต็มไปหมด วันหนึ่งมีพ่อค้าจากต่างแดนผ่านมาพบซากช้างนี้ จึงอาศัยจังหวะที่ตะขาบยักษ์ออกไปหากิน คัดเลือกและขนงาช้างลงเรือสำเภาของตนไป เมื่อตะขาบยักษ์กลับมาเห็นก็โกรธมาก จึงไล่ตามพ่อค้านั้นลงไปในทะเล แต่กลับต้องพบกับปูยักษ์เจ้าทะเลขนาดมหึมา เจ้าตะขาบยักษ์สู้ไม่ได้จึงถูกปูยักษ์จับกินเป็นอาหารไปในที่สุด ต่อมาในสมัยพุทธกาล ตปุสสะและภัลลิกะ พ่อค้าจากอุกกลชนบท… Read More »