Tag Archives: โบราณสถาน

ขุดพบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุพันปี สวยงามที่สุด ณ เมืองโบราณซับจำปา

https://youtu.be/F1anpvudLhU วันนี้ผมจะพาไปชมความงดงามของเศียรพระพุทธรูปโบราณที่มีอายุกว่าพันปี หรือสมัยทวารวดี ที่มีความสมบูรณ์สวยงามมากที่สุดเศียรหนึ่งที่เคยค้นพบ เศียรพระพุทธรูปนี้ ขุดพบที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จากการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ก่อนการค้นพบเมืองโบราณซับจำปา ได้พบโบราณวัตถุต่างๆตามพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ตั๊กแตนปาทังการะบาดในพื้นที่ ราวปี พ.ศ.2513 กรมการเกษตรจึงส่งอากาศยานเพื่อโปรยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงได้เห็นสัณฐานคูเมืองโบราณซับจำปาทางอากาศ คล้ายรูปหัวใจ จึงเกิดข่าวโด่งดังแพร่กระจายในแวดวงโบราณคดี และเริ่มมีการสำรวจทางโบราณคดีนับแต่นั้นมา โดยนำทีมสำรวจโดยอาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ อาจารย์วีระพันธ์ มาลัยพันธ์ ได้กล่าวว่าการสำรวจเมืองโบราณซับจำปามีความน่าสนใจเพราะมีความผสมผสานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี เช่น มีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพบเศษภาชนะ รวมถึงรูปปั้นตุ๊กตาดินเผายุคประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีเป็นต้น การขุดสำรวจทางโบราณคดี ได้ค้นพบโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น แต่ในสมัยนั้น การควบคุมยังลำบากเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้มีโบราณวัตถุบางชิ้นได้หลุดรอดถูกลักขโมยไปขายในตลาดต่างประเทศ โบราณวัตถุที่ขุดพบในเมืองโบราณคดีซับจำปามีมากมาย จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ซับจำปา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี ส่วนโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบคือ เศียรพระพุทธรูปโบราณ สมัยทวารวดี อายุกว่าพันปี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 ที่มีความงดงามและสมบูรณ์มากเศียรหนึ่ง ภาพด้านบนที่ท่านได้เห็นในขณะนี้ เป็นภาพเมื่อครั้งขุดพบเศียรพระพุทธรูปครั้งแรก จากเพจเมืองโบราณซับจำปา และชมรมรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร คุณศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดี ผู้ขุดสำรวจในไซต์งานครั้งนั้น ได้กล่าวว่าตั้งแต่เขาได้เรียนและอ่านหนังสือทางโบราณคดี ไม่เคยพบเศียรพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่สวยงามขนาดนี้ โดยปกติจะพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีเป็นแบบพระเนตรโปนพระโอษฐ์ใหญ่ แต่การค้นพบครั้งนี้ถือว่ามีความงดงามแตกต่างจากข้อมูลที่เคยรับรู้มาก่อน และโบราณวัตถุสำคัญอีกชิ้นที่ค้นพบคือ ฐานและเสาธรรมจักรแปดเหลี่ยม มีจารึกภาษาบาลี ตัวอักษรปัลลวะ คาถาในพระไตรปิฎก 4 คาถา อายุราวพุทธศตวรรษที่… Read More »

วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ วัดของสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรที่สาบสูญ เหลือเพียงชื่อในแผนที่

https://youtu.be/raWifsrc7L8 สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยหาวัดสำคัญวัดหนึ่งที่สาบสูญไปแล้วในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่โบราณและแผนที่ของกรมศิลปากร ระบุถึงตำแหน่งวัดแห่งนี้ไว้ ชื่อว่า “วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ” คำว่าเจ้าฟ้าดอกเดื่อนี้ คืออีกชื่อหนึ่งของ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” นั่นเอง ที่มาของชื่อเจ้าฟ้าดอกเดื่อนั้น ตามพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ได้กล่าวว่า ขณะสมเด็จพระราชชนนีทรงครรภ์นั้น สมเด็จพระราชชนกทรงพระสุบินว่ามีผู้ถวายดอกมะเดื่อ ซึ่งพระองค์ทรงทำนายว่า “ดอกมะเดื่อเป็นคนหายากในโลกนี้” เมื่อพระราชโอรสประสูติ จึงพระราชทานนามว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร” ส่วนราษฎรเรียกว่า “เจ้าฟ้าดอกเดื่อ” หรือ “เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” ซึ่งคำว่า “อุทุมพร” แปลว่า “ดอกมะเดื่อ” นั่นเอง เมื่อครั้งสมเด็จพระราชชนกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ทรงขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งมีบันทึกแตกต่างกัน บ้างว่าเป็นระยะเวลา 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือเพียง 10 วัน ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ความสำคัญคือ พระองค์สละราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบ แล้วลาผนวชทันที แต่พระองค์ก็เคยสึกออกมาเพื่อมาช่วยการศึกสงครามเมื่อครั้งศึกพระเจ้าอลองพญา เมื่อ ปี พ.ศ.2303 เมื่อเสร็จศึกพระองค์ก็ได้ออกผนวชอีก จึงจะเห็นได้ว่าพระองค์นั้นมีพระปรีชาสามารถทั้งสติปัญญาการปกครอง การรบ และใฝ่ในทางธรรม ไม่ปรารถนาในราชสมบัติ จนสุดท้ายในศึกเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2310 ฝ่ายเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าได้คุมตัวภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรกลับไปด้วย และต่อมาได้มีการค้นพบบันทึกคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า ต้นฉบับเป็นภาษามอญ เป็นเนื้อหาที่พระเจ้ากรุงอังวะให้สอบถามเชลยศึกเกี่ยวกับพงศาวดารไทยและขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเชื่อว่าย่อมมีคำให้การจากสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรด้วย… Read More »

โบราณสถานแปลกตา ปล่องระบายแรงดันน้ำประปา สมัยอยุธยา

https://youtu.be/80tyfssifJ0 วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวของท่อหรือปล่องระบายความดับน้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่อาจจะไม่คุ้นตาของใครหลายๆคน ที่ยังปรากฏให้เห็นชัดเจนในปัจจุบัน จากข้อมูลระบุว่ามีอยู่สองแห่งในเมืองลพบุรี ได้แก่ ข้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และถ้าจะกล่าวถึงระบบท่อประปา จะถือกันว่าในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะเป็นต้นกำเนิดครั้งแรกในแผ่นดินสยาม ดังที่เราได้เห็นหลักฐานท่อประปาดินเผาและระบบประปามากมายในโบราณสถานต่างๆ และในเขตพระราชวัง ข้อมูลจากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลพบุรี. กรมศิลปากรจัดพิมพ์ ปี พ.ศ.2542 ได้เขียนเรื่องการนำน้ำสะอาดมาใช้ในเขตพระราชวังไว้ว่า มีการนำน้ำมาจากทะเลชุบศรและห้วยซับเหล็ก ในระยะแรก รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้นำน้ำมาจากทะเลชุบศร ด้วยการสร้างประตูระบายน้ำปากจั่นและบังคับให้น้ำไหลตามท่อไปยังอ่างพักตะกอน (อ่างแก้วและสระแก้ว) จากนั้นจึงจ่ายน้ำตามท่อน้ำดินเผาที่ฝังใต้ดินเพื่อนำไปใช้ยังพื้นที่ต่างๆ โดยมีวิศวกรชาวเปอร์เซียเป็นที่ปรึกษาและออกแบบ ในส่วนของห้วยซับเหล็กได้เริ่มนำมาใช้ช่วงท้ายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เพราะต้องใช้น้ำมากขึ้นจากการสร้างเมืองที่ใหญ่ขึ้น และมีการสร้างน้ำพุภายในพระราชวัง   ซึ่งน้ำจากห้วยซับเหล็กเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ใสสะอาดที่ไหลลงมาตามซอกเขาธรรมชาติที่อยู่ในระดับสูงน้ำไหลแรงดี และเนื่องจากระยะทางค่อนข้างไกลมากห่างจากเมืองลพบุรีไปทางทิศตะวันออกราว 12 กิโลเมตร จึงมีการดำเนินการเป็นสองช่วง ช่วงแรกทำเป็นลำรางชักบังคับน้ำจากลำห้วยซับเหล็ก ยาวทอดจนมาถึงบริเวณวังศาลา(ต.ท่าศาลา เมืองลพบุรี) และมีการดำเนินงานประปาช่วงที่สองตั้งแต่วังศาลาจนถึงเมืองลพบุรีโดยวิธีการฝังท่อน้ำดินเผาลงใต้ดิน และในระหว่างเส้นทางลำเลียงน้ำเข้าเมืองลพบุรี จะมีการสร้างท่อหรือปล่องระบายแรงดันของน้ำไว้เป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นจุดผ่อนคลายแรงดันของน้ำในฤดูที่มีน้ำมาก กระแสน้ำไหลแรง ป้องกันไม่ให้แรงน้ำสูงมากเกินไป จนเกินกำลังรับน้ำของท่อน้ำดินเผา และนี่ก็คือเรื่องราวความเป็นมาของโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นสูงเด่นผ่านสายตาของหลายคนมากมาย ที่อาจไม่มีใครรู้เลยว่าคืออะไร ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไป สวัสดีครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

สระแก้ว สระน้ำโบราณพันปี เมืองโบราณศรีมโหสถ ปราจีนบุรี

https://youtu.be/qJYpAQ7oiRo สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวตามรอยอดีตเมืองโบราณศรีมโหสถ อายุกว่าพันปี ที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีจุดสำคัญในการเดินทางไปเที่ยวชมครั้งนี้คือ โบราณสถานสระแก้ว ซึ่งเป็นสระน้ำโบราณที่มีความพิเศษกว่าจุดอื่นๆ ในเมืองโบราณศรีมโหสถ สมัยทวารวดี ด้วยรูปแบบที่มีการสลักรูปสัตว์มงคลไว้ขอบสระตามความเชื่อในศาสนาฮินดู และยังคงเห็นร่องรอยได้ถึงปัจจุบันนี้ เมืองโบราณศรีมโหสถ เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ที่บ้านโคกวัด ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ลักษณะของเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้าง 700 เมตร ยาว 1,550 เมตร มีคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ ภายในเมืองปรากฏซากโบราณสถาน สระน้ำ บ่อน้ำกระจัดกระจายโดยทั่วไป มีจำนวนมากกว่า 100 แห่ง ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู อาทิ ซากศาสนสถานที่ก่อด้วยศิลาแลงที่มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16, เทวรูป พระนารายณ์ ศิวลึงค์ เป็นต้น นอกจากนี้จากการดำเนินงานทางโบราณคดียังได้พบลูกปัดแก้วคาร์นีเลียนและลูกปัดหินอาเกตแบบทวารวดีอีกด้วย ศิวลึงค์โบราณขนาดใหญ่ที่สุดในไทย ขนาดยาวเกือบ 3 เมตร เมืองโบราณศรีมโหสถ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดต้นโพธิ์ศรีมาโพธิ โบราณสถานสระแก้ว ตั้งอยู่ทางนอกเมืองโบราณศรีมโหสถ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 เมตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 18*18 เมตร ลึกประมาณ 6.50 เมตร โดยขุดลงไปบนชั้นดินที่เป็นชั้นของศิลาแลง ริมผนังของสระด้านในทั้ง 4 ด้าน สลักเป็นภาพสัตว์ปรัมปรา อาทิ ช้าง สิงห์… Read More »

จิตรกรรมโบราณในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา

สวัสดีครับ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดเชิงท่า อยุธยา นอกจากโบราณสถานที่สวยงาม ได้แก่ วิหาร พระปรางค์ประธานของวัด ผมได้เกิดความประทับใจภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ภายในศาลาการเปรียญเป็นอย่างมาก และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย ผมจึงขอนำภาพและเรื่องราวภาพจิตรกรรมมาแบ่งปัน เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปเที่ยวชม ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบไปด้วยอาคารประธาน ๑ หลัง ผนังด้านในศาลาการเปรียญเขียนภาพจิตรกรรม ระหว่างผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งมีภาพวิถีชาวบ้านแทรกปะปน เหนือผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพพนม จิตรกรรมในศาลาการเปรียญนี้ เป็นฝีมือของพระอาจารย์ธรรม เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้และนายแข ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์และแท่นพิธีธรรม ภาพจิตรกรรมภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า ประกอบไปด้วย ผนังส่วนบนทั้งสี่ด้าน เขียนภาพชุมนุมเทวดานั่งประนมมือ หันหน้าไปยังผนังด้านทิศตะวันตก ซึ่เขียนภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับในซุ้มเรือนแก้ว ขนาดข้างด้วยเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ธูปเทียนตั้งอยู่บนตั่งสีแดง ถัดลงมาผนังด้านล่างทั้งสี่ด้านเขียนเป็นภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติชาดก โดยที่ภาพพุทธประวัติเริ่มจากช่องว่างระหว่างประตูด้านทิศตะวันออก วนทวนเข็มนาฬิกาไปทางผนังด้านทิศเหนือและสิ้นสุดที่ช่องว่างระหว่างประตูที่ผนังด้านทิศตะวันตก ส่วนภาพเรื่องทศชาติชาดกเริ่มจากผนังด้านทิศตะวันตก ช่องว่างซ้ายมือถัดจากประตูเขียนเป็นภาพเรื่องเตมีย์ชาดก แล้ววนมายังทางผนังด้านทิศใต้และสิ้นสุดที่เรื่องพระเวสสันดรชาดกที่ผนังด้านทิศตะวันออก ภาพจิตรกรรมพุทธประวัติและทศชาติชาดกภายในศาลาการเปรียญนี้ เขียนขึ้นโดยครูแขร่วมกับคณะ และพระอาจารย์อาภรณ์ธรรม เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ซึ่งมีอายุอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๔ ถึง พ.ศ.๒๔๑๑ ทั้งหมดนี้คือภาพความสวยงามของโบราณสถานภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวและเก็บภาพความสวยงามนี้ไว้เป็นที่ระลึก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่… Read More »

อันซีนลพบุรี สะพานโบราณอายุกว่า 300 ปี สะพานเรือก สมัยพระนารายณ์

https://youtu.be/A0FlFA8aRpg วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองลพบุรี เพื่อตามรอยโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันในปี 2563 กำลังได้รับการบูรณะ เพื่อเปิดเผยสู่สาธารณชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของลพบุรี นั่นก็คือ สะพานเรือก หรือสะพานคลองท่อ ซึ่งมีหลักฐานทาประวัติศาสตร์ว่ามีขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวเกี่ยวกับคลองเรือกมีความน่าสนใจ ผมจึงได้เดินทางร่วมกับเพจตามรอยวัดเก่าลุ่มน้ำลพบุรีเพื่อบันทึกข้อมูลนี้ไว้ ดังนี้ เมืองลพบุรีด้านทิศตะวันออกมีคูเมืองหลายชั้น ชั้นนอกสุดคูเมืองค่อนข้างกว้างและยังคงสภาพที่สมบูรณ์ขอคลองจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวเมืองเรียกกันว่า คลองเรือก ในรายงานการเสด็จประพาสเมืองลพบุรีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ระบุชื่อคลองนี้ว่าคลองท่อ เช่นในข่าว เสด็จประพาสเมืองลพบุรีราชกิจจานุเบกษา วันที ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๘) ลงข่าวไว้ว่า …วันที่ ๓๑ ตุลาคม  เวลาเย็นเสด็จลงเรือพระที่นั่งพายประพาสในคลองท่อ จนถึงวัดตองปุ… …วันที่ ๑ พฤศจิกายน… เสด็จเรือพระที่นั่งพายล่องลงไปเข้าคลองเมืองด้านใต้ ทอดพระเนตรสถานที่โบราณนอกเมืองแล้วมาเข้าคลองท่อข้างใต้ ประทับวัดสัมปหล่อ (วัดสันเปาโล) แล้วเสด็จไปตามคลองท่อได้ไปออกข้างเหนือที่ทุ่งพรหมาสตร์… และมีปรากฏในหลักฐานทางประศาสตร์ในแผนที่เมืองลพบุรีสำรวจและวาดโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ชื่อ เดอ ลามาร์ เมื่อ ค.ศ ๑๖๘๗ (๒๒๓๐) ได้วาดตำแหน่งสะพานข้ามคลองท่อไว้ ๒ แห่ง คือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและด้านทิศตะวันออก และในแผนที่เมืองลพบุรี จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ พ.ศ ๒๔๕๗ ระบุตำแหน่งข้ามคลองท่อด้านทิศตะวันออก ชื่อว่า สะพานราเมศร์ และน่าจะตรงกับตำแหน่งสะพานเดียวกับที่ระบุในแผนที่ของ เดอ ลามาร์ ฉะนั้นสะพานที่สร้างขึ้น ณ ตำแหน่งนี้มีมาแล้วตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ… Read More »