Tag Archives: โบราณสถาน

วัดใหญ่บ้านบ่อ สมุทรสาคร วิหารเก็บโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น

YouTube : FaithThaiStory พาเที่ยวโบราณสถานวัดใหญ่บ้านบ่อ ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านบ่อ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ประวัติวัดจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเขียนไว้ว่า สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ.2264 มีโบราณสถานที่น่าสนใจได้แก่ อุโบสถเก่า, หอไตรกลางน้ำ และวิหารเก่าโบราณ อุโบสถเก่ามีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2472 เพราะระบุปีการบูรณะไว้ที่หน้าบันด้วย มีการซ่อมแซมมุงหลังคาและซุ้มประตูใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2512 โดยมีพ่อเล็ก แม่หมา โพธิ์บุญ และพ่อบุญส่ง แม่ทองคำ ทองมาก มาสร้างพาไลด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงปูหินอ่อนใหม่ และในปี พ.ศ.2542 มีการบูรณะด้านในอุโบสถและปิดทององค์พระประธานใหม่ ภายในอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรม แต่ที่บานประตูมีการเขียนภาพโดยช่างท้องถิ่น หน้าอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาเลไลยก์ โดยรอบอุโบสถ มีใบเสมาคู่ ทำจากหินทรายแดงที่มีศิลปกรรมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นโบราณวัตถุสำคัญที่อาจจะใช้ยืนยันได้ว่า วัดแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจริงๆ ข้างอุโบสถ มีหอไตรไตรกลางน้ำมีความเก่าแก่ และโดดเด่นงดงามยิ่งนัก ทางวัดได้อนุรักษ์เสริมความแข็งแรงยกพื้นสูงขึ้น เพื่อให้คงอยู่คู่วัดยาวนานที่สุด โบราณสถานแห่งที่สามคือวิหารเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องบนและหลังคาทำจากไม้ มีพาไลยื่นออกมาด้านหน้า ประดับบัวแวงหัวเสา ที่เป็นศิลปกรรมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชี มีพระสาวกขนาบข้าง โดยรอบด้านในวิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชำรุดหลายองค์ รวมถึงเก็บรักษาโบราณวัตถุหลายชิ้น พระพุทธรูปองค์ใหญ่หลายองค์แตกชำรุดเศียรหายไป เห็นด้านในเป็นแกนไม้ และยังมีพระพุทธรูปเก่าองค์ขนาดเล็กอีกหลายองค์รวมอยู่ด้วย วิหารหลังนี้เปรียบเสมือนแหล่งเก็บโบราณวัตถุสำคัญหลายอย่างของวัดไว้ โบราณวัตถุสำคัญที่เก็บรักษาไว้ภายในอีกอย่างคือใบเสมา จึงอาจจะสันนิษฐานได้ว่า วิหารหลังนี้เคยเป็นอุโบสถมาก่อน ในวันที่ผมเดินทางไปนั้น เป็นช่วงที่ฝนตกชุก ประกอบกับหลังคาวิหารมีรอยรั่วหลายจุด ทำให้มีน้ำเจิ่งนองท่วมด้านใน ซึ่งทางวัดกำลังดำเนินการบูรณะรักษาโบราณสถานแห่งนี้ ให้คงทนแข็งแรงยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต … Read More »

วัดราษฎร์บำรุง(วัดหงอนไก่) โบสถ์โบราณสุดขลัง สมุทรสาคร

YouTube : FaithThaiStory วัดราษฎร์บำรุง หรือวัดหงอนไก่ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านคลองอ่อนใจ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แรกเริ่มตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เมื่อราวปี พ.ศ. 2438 มีท่านสมภารเทียนเป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้าง นางพวง รอดสมหวัง เป็นผู้บริจาคที่ดินให้วัดจำนวน 16 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ดินสงฆ์ หมื่นยงค์ มักสันต์ และกำนันแก้ว จันทร์เต็มดวง เป็นผู้อุปถัมภ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2444 ภายในวัดมีโบราณสถานที่น่าสนใจคือโบสถ์หลังเก่าอายุมากกว่า 100 ปี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ไม่ทราบปีสร้าง มีพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ. 2450 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดค่อนข้างเล็ก มีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องว่าว มีพาไลมุงสังกะสียื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นด้านบนเป็นรูปเทพพนม ถัดลงมาเป็นหงส์สองตัวหันหน้าเข้าหากัน มีลวดลายดอกไม้ประดับด้วยเครื่องถ้วย และเครื่องลายครามแบบจีนที่เป็นแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนด้านล่างของหน้าบันเป็นรูปมังกรคู่หันหน้าชนกัน ปัจจุบันอุโบสถหลังเก่าไม่ได้ใช้งานกลายเป็นอาคารร้าง และมีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ใช้งานทดแทนหลังเดิม มีพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อปี พ.ศ.2512 อุโบสถหลังเก่ากรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ในวันเดินทาง ผมเห็นอุโบสถหลังเก่ามีสภาพทรุดโทรมหนัก หลังคารั่วและพังหลายจุด มีน้ำขังภายในและโดยรอบ ถ้าปล่อยไว้สภาพเช่นนี้ นานไปคงพังทลายลงมา ในวันนี้อาจจะยังสามารถแก้ไขเพิ่มเติมความแข็งแรง… Read More »

วัดโชติการาม โบสถ์โบราณทรงวิลันดา เมืองนนทบุรี

YouTube : FaithThaiStory พาเที่ยวนนทบุรี ชมโบราณสถาน วัดโชติการาม เดิมชื่อว่า “วัดสามจีน” ตั้งอยู่ที่ ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อราวปี พ.ศ.2350 โดยชาวจีนสามคน ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระยาโชฎึกราช(บุญมา) และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโชติการาม จากรูปแบบสถาปัตยกรรมมีการสืบทอดรูปแบบมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โบราณสถานสำคัญในวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ประธาน และวิหาร ซึ่งตั้งเรียงกันในแนวทิศเหนือและใต้ อุโบสถเป็นอาคารทรงวิลันดา เป็นอาคารขนาดเล็ก หน้าบันใช้การก่ออิฐประดับลวดลายปูนปั้นแทนจั่วไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีภาพปูนปั้นหน้าบันเล่าเรื่องราวในชาดกเรื่อง ภูริทัตชาดก ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่ามกลางลวดลายพรรณพฤกษา ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย และหมู่พระพุทธรูปอีกหลายองค์ เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สร้างบนฐานประทักษิณ 2 ชั้น ระเบียงฐานประทักษิณตกแต่งด้วยกระเบื้องปรุลายจีน มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ เจดีย์มีชุดฐานสิงห์ซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น เป็นรูปแบบที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย วิหารเป็นอาคารขนาดเล็ก บานประตูด้านนอกแกะสลักรูปทวารบาลแบบจีนยืนบนสิงโต บานหน้าต่างด้านนอกตกแต่งลายรดน้ำ ด้านในบานประตูและหน้าต่างเขียนภาพแจกันทรงสูงใส่ดอกไม้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3-4 เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าและภาพในพุทธประวัติ จากการสำรวจทางโบราณคดีรอบอุโบสถและเจดีย์ประธาน โดยกรมศิลปากร พบว่ามีการสร้างและบูรณะ 3 ระยะ ได้แก่ แรกสร้างวัด สันนิษฐานสร้างราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงรัชกาลที่… Read More »

วัดโปรดเกษ วัดชาวมอญอพยพ สมัยพระเจ้าตาก นนทบุรี

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดโบราณแห่งหนึ่งนามว่า วัดโปรดเกษ ตั้งอยู่ที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ติดกับวัดสะพานสูง ริมคลองพระอุดม ตามประวัติว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดยกลุ่มชาวมอญที่เข้ามาในสมัยนั้น มีชื่อเดิมว่า วัดสนามไก่ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เข้ามาบูรณะวัดแถบชุมชนมอญ 3 วัด ได้แก่ วัดป่าฝ้าย(วัดฉิมพลีสุทธาวาส), วัดเกาะปิ้น(วัดท้องคุ้ง) และวัดสนามไก่ ซึ่งต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดโปรดเกษ โบราณสถานสถานสำคัญในวัดโปรดเกษ ประกอบไปด้วยเจดีย์โบราณ 2 องค์ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ ตัวอุโบสถได้รับการบูรณะเรื่อยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 หน้าบันลวดลายปูนปั้นสวยงาม รอบอุโบสถมีเสมาหินทรายแดงตั้งบนฐานบัวกลุ่มแข้งสิงห์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน และพระอันดับอีก 3 องค์ จากการสอบถามลุงหมึก จิตอาสาดูแลวัดโปรดเกษ ได้เล่าให้ฟังว่าเดิมวัดโปรดเกษ สร้างจากกลุ่มคนชาวมอญที่อพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ใช้ชื่อว่า วัดไก่เตี้ย ต่อมาพื้นที่ป่าหลังวัด ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกทหาร จึงเรียกว่า วัดสนามไก่เตี้ย และ วัดสนามไก่ตามลำดับ มาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโปรดเกษ หลังการบูรณะใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ลุงหมึกเล่าเพิ่มเติมว่า ในอุโบสถแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ได้ชำรุดทรุดโทรมและเลือนรางไป ทางวัดจึงได้ก่อผนังทับใหม่ เมื่อราว 40 ปีก่อน จากข้อมูลการอพยพของชาวมอญในสมัยกรุงธนบุรี กล่าวว่า ในปีพ.ศ.… Read More »

วัดเจตวงศ์(ร้าง) ปทุมธานี จิตรกรรมโบราณอดีตพระพุทธเจ้า

ข้อมูลทั่วไป วัดเจตวงศ์(ร้าง) วัดเจตวงศ์(ร้าง) ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี เป็นโบราณสถานวัดร้าง มีสิ่งปลูกสร้างสำคัญ คือ อุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมโบราณที่สวยงามและหลงเหลืออยู่ และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ชอบถ่ายรูปสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมโบราณ วัดเจตวงศ์ไม่พบบันทึกประวัติการสร้าง แต่สันนิษฐานจากรูปแบบสถาปัตยกรรมฐานอุโบสถมีบัวลูกแก้วอกไก่ ที่น่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทั้งนี้โดยรอบอุโบสถพบฐานใบเสมาทั้ง 8 ทิศ แต่ไม่พบใบเสมา  รูปแบบอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษา มีเทพพนมอยู่ตรงกลาง มีพาไลชายคายื่นออกมา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัยบนฐานชุกชีประดับกระจก มีพระอันดับลดหลั่นซ้ายและขวาข้างละ 1 องค์ ภาพจิตรกรรมโบราณหลังพระประธาน หลงเหลือภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับในซุ้มเรือนแก้วเพียงองค์เดียว ผนังหุ้มกลองหน้าด้านบนเป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าชนะมาร ผนังด้านข้างเหนือหน้าต่างเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าในซุ้มเรือนแก้วมีพระสาวกประนนมือซ้ายและขวา เหนือขึ้นไปเป็นภาพเหล่าเทวดา ภาพจิตรกรรมช่องระหว่างหน้าต่าง เป็นภาพในพุทธประวัติแต่ลบเลือนไปเกือบทั้งหมด การเดินทาง วัดจะอยู่ในซอยวัดชินวราราม ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยตั้ง Google map เดินทางไปถึงได้สะดวก เมื่อไปถึงแล้วสามารถเปิดประตูเข้าชมอุโบสถได้ครับ @tum_faiththaistory จิตรกรรมฝาผนังโบราณ วัดเจตวงศ์(วัดร้าง) เมืองปทุมธานี เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า #วัดร้าง #faiththaistory #ปทุมธานี #โบราณ ♬ แขกไทร (เดี่ยวขลุ่ย) – สำนักการสังคีตกรมศิลปากร ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

จารึกโบราณ ถ้ำวิมานจักรี สระบุรี เส้นทางประพาสหลายรัชกาล

คลิปจาก FaithThaiStory ท่องเที่ยวสระบุรี ชมถ้ำวิมานจักรีได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 ตั้งอยู่ไหล่เขาดอกไม้ ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เป็นหนึ่งในถ้ำของเทือกเขาวง ในหลวงรัชกาลที่ 4 ค้นพบถ้ำนี้เมื่อครั้งทรงผนวช และโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปางประทับยืนไว้ในถ้ำแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2370 ซึ่งขณะนั้นตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระองค์ดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ การอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้ในถ้ำ ปรากฏการจารึกในผนังถ้ำแห่งนี้อีกด้วย นอกจากนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ก็เคยเสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ เมื่อปีพ.ศ.2426 และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ไว้ที่ผนังถ้ำ แต่ปัจจุบัน จารึก จปร.นี้ได้ชำรุดหลุดหายไปด้วยแรงระเบิดจากการสัมปทานภูเขาหิน และในปี พ.ศ.2495 ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ก็เคยเสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้เช่นกัน เนื้อหาจารึกนี้ จารึกขึ้นในปี พ.ศ.2370 ตรงกับรัชกาลที่ 3 โดยมีเนื้อหาพอสังเขปว่าพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 4 ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธรูปจากรุงเทพ มาประดิษฐานไว้ในถ้ำวิมานจักรีแห่งนี้ เพื่อเป็นสถานที่สักการะบูชาของเหล่าภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสิริมงคลก่อนเดินทางไปสักการะรอยพระพุทธบาทต่อไป รวมถึงพระองค์ได้อำนวยพรแผ่ส่วนกุศลแด่ผู้ที่เดินทางมาสักการะ ทั้งนี้ ในจารึกได้ระบุไว้ด้วยว่า อย่าเข้าใจผิดคิดว่ามีการฝังสมบัติไว้ในถ้ำนี้ ไม่ควรขุนค้นเพราะเสียงแรงเปล่าและยังเกิดบาปอกุศลอีกด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จากประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ประกาศเรื่อง-ประดิษฐานพระพุทธรูปในถ้ำวิมานจักรี กล่าวถึงพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาครั้งนั้น เป็นพระพุทธรูปโบราณ เดิมประดิษฐานในถ้ำแขวงเมืองอุทัยธานี มีลักษณะงดงาม… Read More »