Tag Archives: อยุธยา

ชมโบราณสถาน วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างที่อยุธยา

https://youtu.be/mgsFu1NpzrE สวัสดีครับ มาต่อกันกับเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยว สำรวจวัดร้าง Episode 1 ที่ผมยังค้างไว้ สำหรับครั้งนี้เราจะเดินทางไปชมพื้นที่วัดสี่เหลี่ยม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของอยุธยาในทุ่งลุมพลี วัดสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ติดถนน เห็นได้ชัดเจน กรมศิลปากรได้ติดป้ายชื่อวัดและแนะนำสถานที่คร่าวๆไว้ให้นักท่องเที่ยวได้อ่านกัน ในส่วนของพื้นที่จะเหลือเพียงพระอุโบสถ มีผนังอยู่ทั้งสี่ด้าน และมีร่องรอยการบูรณะโดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนหลังคาได้พังทลายมาหมดสิ้นแล้วทั้งหมด กลุ่มเราได้ใช้แผนที่ ที่ได้รับการอัพเดทใหม่ล่าสุด ปี พ.ศ. 2558 มาใช้ในการเดินทาง…ต้องยกเครดิตให้กลุ่มนักเดินทางที่พาผมไปในครั้งนี้ครับ ลักษณะพระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายราวๆ พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตกโดยมีผนังรับชั้นหลังคา จึงไม่ปรากฏเสาภายในอาคาร …แต่จะมีเสาพาไลด้านนอกอาคารรองรับชายคาที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร กลุ่มของเราเดินชมพื้นที่ ไม่นานเท่าไรนัก และก็แวะพักคุยกับชาวบ้านใกล้เคียง เฮฮา สนุกดีครับ … แม้ว่าเราจะไม่ทราบเรื่องราวความสำคัญของวัดแห่งนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่การท่องเที่ยวครั้งนี้ก็ทำให้ได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่แปลกตา และไม่เคยเห็นมาก่อน … ได้เพื่อนเพิ่มขึ้น ได้ศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์มากขึ้น และที่สำคัญได้ฝึกการเรียนรู้ ให้มีใจอนุรักษ์สมบัติของชาติได้มากขึ้นด้วย… แล้วพบกันใหม่ในบรรยากาศการท่องเที่ยว สบายๆ ตามสไตล์ ชิลๆ … สวัสดีครับ…   ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory ร่วมแชร์ประสบการณ์การท่องเที่ยววัดด้วยกัน ได้ที่ กลุ่มรวมพลคนชอบเที่ยววัด

เที่ยวสำรวจวัดร้างสมัยอยุธยา วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค

https://youtu.be/oWjTw8j7kPY จากบทความเดิม ภารกินเที่ยววัด สำรวจวัดร้างอยุธยา Episode 1 เราก็มาต่อกันที่วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค … สำหรับการเดินทางมาที่วัดแห่งนี้ เราได้ตามรอยมาจากหนังสือ “อยุธยา ที่ไม่คุ้นเคย” โดย ปวัตร์ นวะมะรัตน ที่ได้ตีพิมพ์ไว้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เป็นหนังสือที่ทำให้กระแสการอนุรักษ์เกิดขึ้นได้มากเลยทีเดียว ถือว่าเป็นหนังสือที่น่าซื้อหามาไว้อ่านเป็นความรู้ที่ดีมากเล่มหนึ่ง ซึ่งยังสามารถหาซื้อเป็นเจ้าของได้ตามร้านหนังสือทั่วไป กลุ่มของเราได้เดินทางมาถึงราวๆเที่ยงวัน ด้วยบรรยากาศที่ไม่ร้อนมากนัก ขับรถลัดเลาะมาทางวัดภูเขาทองและได้สอบถามคนในพื้นที่จนมาพบกับวัดป่าพลูตาม แผนที่ เมื่อเดินทางมาถึง จะเห็นเพียงโคกดินสูงและเศษก้อนอิฐโบราณที่กระจายทั่วไป อีกทั้งได้พบกระเบื้องเชิงชายที่แตกหักจำนวนหนึ่ง รวมถึงเศษซากพระพุทธรูป และลูกนิมิตโบราณอีก 2 ลูก ที่ชาวบ้านได้ทำการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธรูปที่ยังพอหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เราเดินทางเข้ามายังพื้นที่วัดป่าพลู ก็ได้พบกับยาย ที่เป็นชาวบ้านแถบนี้ และก็นั่งคุยเรื่องราวกันอย่างเป็นกันเอง ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีเลยครับ ผมได้เดินดูพื้นที่รอบๆ ก็จะเห็นเพียงเศษอิฐบางส่วน และศาลาพระพุทธรูปที่ชาวบ้านได้สร้างไว้ วัตถุโบราณที่มีให้เห็นคือเศษซากพระพุทธรูป แต่ส่วนเศียรนั้นได้หายไปแล้วครับ ลูกนิมิตโบราณ จะมีอยู่ 2 ลูกในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะที่ไม่กลมเหมือนกับปัจจุบันนี้ เราได้พบเศษกระเบื้องเชิงชายจำนวนหนึ่ง จึงได้เก็บรวบรวมไว้ และทำการโทรปรึกษาอาจารย์กรมศิลปากร และได้ส่งมอบทั้งหมดนี้ให้กับ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ประวัติวัดป่าพลู จากหนังสือ อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย โดยปวัตร์ นวะมะรัตน ได้เขียนไว้ว่า วัดป่าพลูแห่งนี้ไม่พบหลักฐานการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพราะมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ พ.ศ. 2091 มีความพอสังเขปว่า เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ ยกทัพเข้าล้อมพระนครในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091 –… Read More »

สำรวจวัดมงกุฏ ภารกิจเที่ยววัดร้าง อยุธยาที่ไม่เคยรู้

https://youtu.be/B5YygaBhRPg มาต่อกันกับ ภารกิจเที่ยววัดร้างที่อยุธยา Episode 1 กันต่อครับ … เราจะเดินทางไปที่วัดมงกุฏ ซึ่งเป็นวัดร้างแห่งหนึ่งที่กรมศิลปากรได้เข้าไปปักหมุดเพื่อรอการบูรณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมจึงขอนำภาพบรรยากาศมาแชร์ให้ดูกัน ทั้งนี้วัดมงกุฏ ผมก็ไม่ทราบข้อมูลเรื่องราวประวัติเพราะไม่พบปรากฏหลักฐาน สิ่งที่เป็นจุดเด่นของวัดมงกุฏ ก็คือจะมีปราค์ที่ยังตั้งสูงตระหง่านมองเห็นยอดปรางค์โผล่ขึ้นมาเหนือแมกไม้ แต่องค์ปรางค์ก็ยังถูกล้อมรอบไว้ด้วยหมู่บ้านและต้นไม้ที่ปกคลุมพื้นที่ทำให้ผ่านหูผ่านตาของใครหลายๆคน แม้ว่าวัดมงกุฏจะไม่ปรากฏในแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ (ค.ศ. 1926) แต่สำหรับนักท่องเที่ยว และนักสำรวจเชิงอนุรักษ์หลายรายก็ได้เดินทางมาเก็บภาพเป็นที่ระลึกกันมากมายแล้วเช่นกัน ครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางไปถึง เมื่อพวกผมเดินทางมาถึง ก็วนเวียนหาทางเข้ากันสักพักเพราะจำเส้นทางไม่ได้ จนกระทั่งหาทางเข้าจนพบ และมองเห็นยอดปรางค์เหนือแมกไม้ … ปรางค์องค์นี้เมื่อซูมกล้องเข้าไปจับภาพ จะยังพบว่ามีลวดลายวิจิตรสวยงามหลงเหลืออยู่ เป็นปรางค์ที่ดูสวยงามมากองค์หนึ่งเลยหล่ะครับ ผมรู้สึกตื่นตาตื่นใจ กับการเดินทางมาวัดแห่งนี้พอสมควร เพราะบรรยากาศดูขลังๆ มีพระปรางค์กลางป่าดูแล้วมีความสุขครับ บริเวณนี้ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ทำให้น้อยคนนักที่จะเข้ามาถึง ถ้าไม่ใจรักกันจริงๆ คงไม่มากันแน่นอน … พวกผมก็วนเวียนดูความสวยงามโดยรอบสักระยะหนึ่ง เพื่อซึมซับบรรยากาศที่น้อยคนจะเคยเห็น … สำหรับพิกัดต่างๆ ผมคงไม่ขอกล่าวไว้ ด้วยเหตุผลบางประการ… แต่ถ้าใจรักกันจริง ผมคิดว่าทุกคนต้องไปกันถึงอย่างแน่นอน แล้วพบกันใหม่ ในภาพบรรยากาศเที่ยววัดต่างๆของผม … สวัสดีครับ … มาดูความเปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2561 https://youtu.be/ckmVg3_npKg ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory ร่วมแชร์ประสบการณ์การท่องเที่ยววัดด้วยกัน ได้ที่ กลุ่มรวมพลคนชอบเที่ยววัด… Read More »

วัดครุฑธาราม พระเจ้าเอกทัศน์โปรดเกล้าฯให้สร้าง สมัยอยุธยาตอนปลาย

เที่ยววัดครุฑธาราม อยุธยา มีบันทึกในพงศาวดารว่า เป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์พร้อมกับวัดละมุด  มาถึงวัดที่ 4 ในภารกิจเที่ยววัด ในโปรแกรม “เที่ยววัดร้าง Episode 1” นั่นก็คือวัดครุฑธาราม แต่วัดนี้ไม่ใช่วัดร้างนะครับ แต่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่เราเดินทางผ่านจึงได้ถือโอกาสแวะชมแวะเที่ยวกันซะเลย วัดครุฑธาราม มีพระอุโบสถสวยงามมีลักษณะเป็นอาคารขนาดไม่ใหญ่เท่าไรนัก กรอบหน้าจั่วประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ ฐานแอ่นโค้งแบบท้องเรือสำเภา ด้านหน้าต่อมุขยื่นและมีพาไลคลุมหรือหลังคาจั่นหับมุงกระเบื้องคลุมชายคารอง รับด้วยเสา 4 ต้น ซึ่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย มีบันทึกว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นใน พ.ศ.2302 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) พร้อมกับการสร้างพระประธานในพระอุโบสถ วัดครุฑธาราม ตั้งอยู่ในแถบคลองสระบัว อยุธยา ยังมีสภาพที่มีพระจำพรรษาปกตินะครับ แต่ก็เงียบเหงามากพอสมควร อาจจะเป็นเพราะห่างจากวัดในเกาะเมือง แต่ก็น่าจะเป็นวัดที่คนในชุมชนมาร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่างๆ สภาพพระอุโบสถปิดอยู่ไม่สามารถเข้าไปได้ อาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเท่าไหร่นัก จึงต้องปิดไว้ เพราะในอดีตเคยมีข่าวว่ามีโจรเข้ามาลักขโมยเศียรพระพุทธรูปโบราณด้านในด้วย ด้านหน้าพระอุโบสถ จะมีใบเสมาตั้งอยู่ซึ่งเป็นใบเสมาเดิมๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงชิ้นเดียว … โดยรอบพระอุโบสถจะไม่เห็นใบเสมาแล้ว เหลือเพียงร่องรอยที่เคยเป็นที่ตั้งแต่ได้พังทลายหายไปแล้วทั้งหมด   พระเจดีย์บางองค์ ยังมีสภาพที่สวยงาม มีลวยลายหลงเหลือให้ได้ชมกันอยู่ครับ ที่มาข้อมูล : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม บันทึก สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดครุฑ เมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก(ขึ้นครองราชสมบัติ) จากเอกสาร “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง” ได้เขียนไว้ว่าวัดครุฑธารามโปรดเกล้าสร้างขึ้นโดยพระเจ้าเอกทัศน์ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ โดยครั้งนั้นมีการโปรดเกล้าสร้าง 2 วัด ได้แก่… Read More »

สำรวจวัดผีเสื้อ ภารกิจเที่ยววัดร้างที่อยุธยา

https://youtu.be/aosmT1IvqLo เรามาเดินทางต่อในวัดที่ 3 กันเลยครับ ใน “ภารกิจเที่ยววัด สำรวจวัดร้างอยุธยา Episode 1” วัดที่ 3 ที่เราได้เดินทางกันมาคือวัดผีเสื้อ ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในย่านคลองสระบัวเช่นกัน มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างขวาง และก็เช่นเดิมจะมีบ้านของชาวบ้านตั้งอยู่ใกล้บริเวณนี้ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์ในการนำทางเข้าไปยังพื้นที่วัดผีเสื้อแห่งนี้ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์สำหรับวัดผีเสื้อยังไม่พบหลักทางทางเอกสาร แต่มีบันทึกในแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ … ชื่อวัดผีเสื้อ น่าจะเกี่ยวข้องกับชื่อของยักษ์ คงจะไม่เกี่ยวกับผีเสื้อ (ผมคิดว่าอย่างนั้นนะ) ชาวบ้าน ที่ตั้งบ้านเรือนใกล้พื้นที่วัดผีเสื้อ ให้ความช่วยเหลืออย่างดีเลยครับ จัดเตรียมรองเท้าบู้ท เพื่อให้ลุยเข้าไปในป่าเพราะช่วงที่ผมเดินทางนั้นตรงกับฤดูฝน น้ำจะเยอะ … ซึ้งใจจริงๆครับ เมื่อจัดเตรียมรองเท้ากันเรียบร้อยก็ได้เวลาลุยแล้วหล่ะครับ เดินเข้ามาสักเล็กน้อยก็เจอกับคลอง ซึ่งต้องระมัดระวังในการเดินข้าม และช่วยกันดึงมือให้ข้ามไป… จุดนี้ระวังเรื่องอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคด้วยนะครับ เดี๋ยวจะร่วงซะก่อน ต้องบอกว่า เป็นป่าดีๆนี่เองครับ… ด้วยความชุ่มชื้นของฝนที่โปรยปรายลงมา ทำให้ต้นไม้ขึ้นเขียวขจีไปทั่วบริเวณ จะต้องมีคนเดินนำหน้าแล้วคอยถางป่านำทางไปให้ จุดแรกที่เราเข้าไปถึง ก็จะพบกับโคกเจดีย์โบราณ ซึ่งไม่เหลือสภาพให้เห็นแล้วครับ มีลักษณะเป็นโคกดินที่เจดีย์ได้พังทลายไปจนหมดแล้ว จะพบเพียงเศษอิฐโบราณกระจายอยู่เท่านั้น เท่าที่ผมมองไปรอบๆ พบว่าพื้นที่วัดมีขนาดที่กว้างใหญ่มากเลยครับ มีร่องรอยสถานที่ ที่สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถ และพระเจดีย์ พระเจดีย์ ที่กลุ่มเราเข้าไปพบ จะมีลักษณะพังทลายไปจนหมด และมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมแทน แต่ก็ยังสังเกตุเห็นอิฐโบราณมีลักษณะก่อฐานขึ้นไป และมีตกกระจายไปทั่วบริเวณ บ่อยครั้งที่ผมได้เดินทางไปยังวัดร้างต่างๆ มักจะเห็นถึงร่องรอยการขุดเจาะของนักล่าสมบัติ ซึ่งก็รู้สึกหดหู่พอสมควร แต่ก็เป็นการห้ามกันได้ยาก ตราบใดที่ยังมีคนที่หวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว สำหรับเรื่องวัตถุโบราณต่างๆ ทางกลุ่มเราได้ย้ำเตือนซึ่งกันและกันเสมอว่า จะไม่หยิบสิ่งใดๆแม้แต่อิฐเพียงก้อนเดียวกลับไปอย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นอุดมการณ์และจรรยาบรรณของนักสำรวจและนักท่องเที่ยว ที่จะไม่ทำลายและนำสิ่งใดๆไปเป็นสมบัติส่วนตัว โดยส่วนตัวผมเองนั้น ก็ได้ยึดถืออุดมการณ์นี้อย่างเคร่งครัด อีกทั้งผมคิดว่าสมบัติต่างๆนี้เป็นของชาติและเป็นของสงฆ์… Read More »

สำรวจวัดใบสอหรือวัดใบลอ ภารกิจเที่ยววัดร้างที่อยุธยา

https://youtu.be/iI7BFERSP8M มาต่อกับครับกับเดอะซีรี่ส์ “ภารกิจเที่ยววัด สำรวจวัดร้าง Episode 1”  มาถึงวัดที่ 2 ของการเดินทางครั้งนี้ต่อมาจากวัดแร้ง เราจะไปกันต่อที่ “วัดใบสอ” หรือ “วัดใบลอ” ส่วนชาวบ้านแถบนี้เขาจะเรียกว่า “วัดท่าโขง” แต่สำหรับกลุ่มผมขอเรียกว่าวัดใบสอก็แล้วกันนะครับ วัดใบสอหรือวัดใบลอ อยู่ในย่านคลองสระบัว วัดจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของคลองปลาหมอ ในบริเวณที่เรียกว่าทุ่งแก้ว ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานทางเอกสารของวัดแห่งนี้ว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่และใครเป็นผู้สร้าง แต่มีปรากฏในแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ สามารถดูเส้นทางตามแผนที่ด้านล่างนี้ www.faiththaistory.com/map_ayutthaya การเดินทางต้องขอบคุณเมท ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญกว่าใครๆในกลุ่ม เพราะเคยสำรวจและศึกษาเส้นทางมาก่อนหน้านี้แล้ว… การจะเข้ามาถึงวัดใบสอ จะต้องผ่านบ้านชาวบ้านแถบนี้เข้ามา ซึ่งจะต้องขออนุญาตก่อนนะครับ ซึ่งพี่ชาวบ้านก็ให้ความอนุเคราะห์การเข้าสำรวจครั้งนี้เป็นอย่างดี และยังช่วยดูแลพื้นที่ไม่ให้รกเกินไป โดยการถางป่าไว้ให้อีกด้วยเผื่อว่าจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรเข้ามาสำรวจ บ้านหลังนี้มีสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ตัวใหญ่ถึง 2 ตัว… พี่ที่บ้านหลังนี้ก็ได้ช่วยขังไว้ให้และยังพาเดินเข้าไปอีกด้วยใจดีมากๆครับ… พื้นที่วัดใบสอค่อนข้างรกด้วยต้นไม้แต่ก็ได้รับการถางออกให้ เพื่อจะได้สะดวกกรณีมีกรมศิลปากรเข้ามาทำการสำรวจ พื้นที่โดยทั่วไป เราจะมองเห็นซากอิฐโบราณต่างๆ กระจายเต็มพื้นที่ เมื่อเดินเข้ามาด้านในก็จะมองเห็นส่วนของผนังพระอุโบสถที่ยังหลงเหลืออยู่ มองเป็นซุ้มหน้าต่างเพียงด้านเดียว เมื่อเดินถัดจากผนังพระอุโบสถ จะพบกับพระเจดีย์ที่ทรุดโทรม เหลือผนังอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่พังทลายลงมา ถูกเถาวัลย์และต้นไม้คลุมไว้ ซึ่งถ้ามีการตัดออก อาจจะพังทลายลงมา ผมได้กราบไว้ขออนุญาต ขึ้นไปดูภายในพระเจดีย์ที่พังนี้ จะเห็นส่วนอีก 1 ด้านที่ยังไม่พังลงไป   เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของวัดใบสอนั้น ไม่พบการบันทึกเป็นหลักฐานทางเอกสาร เพียงแต่มีบันทึกในแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ … ทีมเราจึงเดินทางกันมา โดยมีเมทที่เชียวชาญการเดินทางในครั้งนี้ … ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้อีกครั้ง… แล้วพบกันในวัดอื่นๆ ตามโปรแกรมต่อไป… สวัสดี…… Read More »