Tag Archives: อยุธยา

วัดขนอนเหนือ ด่านอากรสมัยอยุธยา จิตรกรรมโบราณ หลวงพ่อพรหมเกจิดัง

https://youtu.be/X7HxR7yOBNo วัดขนอนเหนือ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ด่านอากรสมัยอยุธยาและหลวงพ่อพรหมพระเกจิดังในอดีต… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านไปท่องเที่ยวยังวัดขนอนเหนือ ที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ว่าเคยเป็นด่านขนอนหรือด่านภาษีอากรทางน้ำในสมัยอยุธยา(คลองโพธิ์) มีภาพจิตรกรรมโบราณในอุโบสถและเรื่องราวของพระเกจิชื่อดังในอดีต “หลวงพ่อพรหม ติสสเทโว” เคยจำพรรษาที่นี่  ตำนานกล่าวว่า วัดขนอนเหนือได้สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยนายประทุมซึ่งมีตำแหน่งพระยาสีหราชเดโช เป็นผู้สร้างวัดและมีชื่อว่า “วัดประทุมสิงขร” ต่อมาเรียกชื่อ “วัดขนอนเหนือ” ในภายหลัง นอกจากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้ว ภายในอุโบสถยังพบกับความสวยงามของจิตรกรรมโบราณ แม้จะมีบางส่วนที่เสียหายจากความชื้นอยู่บ้าง จิตรกรรมหลังพระประธานเป็นภาพเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวึงส์ และปราสาทต่างๆบนสวรรค์ ช่องว่างระหว่างประตูเขียนภาพพระมาลัยโบรดสัตว์นรก ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพพระพุทธเจ้าชนะมาร ส่วนผนังด้านข้างทั้งสองตอนบนจะเขียนภาพวิทยาธรและเทพชุมนุมนั่งประนมมือไปทางพระประธาน ถัดลงมาเป็นภาพพุทธประวัติ ภาพจิตรกรรมสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพจิตรกรรมด้านล่างมีความเสียหายไปเป็นแนวทั้งแถบ ที่เกิดจากความชื้นเป็นที่น่าเสียดายมากครับ… ซึ่งน่าจะเกิดจากบริเวณรอบอุโบสถมีการเทปูนซีเมนต์และปูกระเบื้อง ทำให้ความชื้นไม่มีช่องระบายจนประทุออกมาที่ผนังอุโบสถและทำให้ภาพจิตรกรรมเกิดความเสียหายได้ นอกจากภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่าภายในอุโบสถแล้ว ที่วัดขนอนเหนือยังมีเรื่องราวของพระเกจิชื่อดังในอดีตคือ “หลวงพ่อพรหม ติสสเทโว” ซึ่งสืบทอดสายวิชาสายวัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา หลวงพ่อพรหมสมัยเด็ก ร่ำเรียนที่โรงเรียนวัดขนอนเหนือ และก็ร่ำเรียนวิทยาคมจากบิดาเพราะว่าบิดาของท่านเป็นศิษย์ของขรัวตาแสง วัดน้อยทองอยู่ กรุงเทพฯ (หลวงตาแสงสืบทอดวิชาจากวัดประดู่ทรงธรรม) ทำให้หลวงพ่อพรหมแรกเริ่มได้ร่ำเรียนวิชาสายวัดประดู่ทรงธรรมจากบิดานั่นเอง หลวงพ่อพรหม ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่  20  ตุลาคม  พ.ศ. 2456 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11  ปีฉลู  อุปสมบทในเดือน 6  ตรงกับปี พ.ศ. 2479  อายุ 23 ปี    พระครูสารกิจ(ฟัก)… Read More »

วัดใหญ่เทพนิมิตร ชุมชนลาวอพยพลุ่มน้ำป่าสัก

https://youtu.be/6VktiBahWqw วัดใหญ่เทพนิมิตร ชุมชนลาวอพยพลุ่มน้ำป่าสัก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา… สวัสดีครับท่านที่รักการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เนื่องด้วยผมได้เห็นภาพวัดแห่งหนึ่งจากการเผยแพร่ของวารสารเมืองโบราณ เป็นภาพพระธาตุเจดีย์มีลักษณะคล้ายองค์พระธาตุพนม แต่อยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผมจึงไม่รอช้าที่จะเดินทางไปเที่ยวชมวัดแห่งนั้น วัดที่ผมจะพาไปชมคือ วัดใหญ่เทพนิมิตร ต.สามไถ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา จุดเด่นคือพระธาตุเจดีย์ที่พบแถบทางอีสานและลาว ซึ่งสอดคล้องตามเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีจนถึงรัชกาลที่ 3 ได้มีการทำศึกสงครามและกวาดต้อนชาวลาวอพยพเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักจำนวนมาก รูปแบบพระธาตุเจดีย์ที่นี่คล้ายกับพระธาตุพนม และส่วนตัวผมมีความศรัทธาพระธาตุพนมเป็นอย่างมาก จึงได้เดินทางไปกราบสักการะ วัดใหญ่เทพนิมิตรห่างจากตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาไม่ถึง 30 กิโลเมตร การเดินทางสะดวกตลอดเส้นทางครับ บรรยากาศที่วัดจะค่อนข้างเงียบ มีพื้นที่ติดกับโรงเรียนวัดใหญ่ ดูเผินๆ เหมือนสัมผัสบรรยากาศแถบอีสานบ้านเกิดผมครับ จากอัตลักษณ์รูปแบบลาวในวัดแห่งนี้ สอดคล้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มคนลาวอพยพที่มีบันทึกในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีและพระราชพงศาวดาร กล่าวว่า ในสมัยกรุงธนบุรีเกิดความขัดแย้งในอาณาจักรล้านช้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์คุมกองกำลังไปยึดนครเวียงจันทน์และกวาดต้อนชาวลาวเข้านับหมื่นคนมาแถบลุ่มน้ำป่าสัก ในสมัยรัชกาลที่ 1 หลวงเทพหริรักษ์ได้คุมกองกำลังกับหัวเมืองเหนือขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสนจนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ.2347 และได้กวาดต้อนชาวลาว(ลาวยวน) เข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก จนกระทั่งช่วงรัชกาลที่ 3 มีสงครามกับนครเวียงจันทน์จึงมีการกวาดต้อนชาวลาวมาเช่นกัน ระฆังไม้ หรือที่เรียกว่า โปง จะพบตามวัดแถบอีสานเป็นจำนวนมาก ในอุโบสถจะมีจิตรกรรมซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภาพจิตกรรมมีความเลือนลางหายไปหลายส่วน ด้านข้างอุโบสถ จะเป็นภาพจิตรกรรม 4 แถว โดยแบ่งเป็น แถวบนสุดจะเป็นภาพพระพรหม, แถวที่สองและสาม จะเป็นภาพเทพชุมนุม นางอัปสร และเหล่ายักษ์นั่งประนมหันหน้าไปยังพระประธาน, แถวล่างสุดเป็นเรื่องราวของรามเกียรติ์ ส่วนด้านหลังพระประธาน เป็นภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระมาลัยกำลังสนทนากับพระอินทร์และมีภาพจุฬามณีมหาเจดีย์ สันนิษฐานว่าจิตรกรรมเขียนขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากชมความงามบริเวณรอบอุโบสถกันแล้ว ผมจึงเดินไปยังริมแม่น้ำป่าสัก เพื่อเก็บบรรยากาศท้องถิ่น บรรยากาศโดยรวมที่วัดใหญ่เทพนิมิตร… Read More »

วัดส้ม วิจิตรศิลป์ปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น

https://youtu.be/OHA2QvrEFaw โบราณสถาน วัดส้ม ลวดลายปูนปั้นวิจิตรศิลป์ปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น… วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปชมความงามลวดลายปูนปั้นที่โบราณสถาน วัดส้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ยังหลงเหลือความงาม วิจิตรให้ได้ชมแม้กาลเวลาจะผ่านมาแล้วหลายร้อยปี ข้อมูลจากกรมศิลปากร กล่าวว่า วัดส้มเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ติดกับคลองท่อ (คลองฉะไกรใหญ่) ทางด้านทิศตะวันตก ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัด สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ ปรางค์ประธาน วิหาร และเจดีย์ราย จากการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นปรางค์ก่ออิฐและมีการทำทับหลัง รวมทั้งลวดลายปูนปั้นประดับองค์ปรางค์วัดส้ม พบว่ามีวิวัฒนาการมาจากโครงสร้างและลวดลายในสถาปัตยกรรมเขมรซึ่งมีอายุการสร้างอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 แสดงให้เห็นว่าปรางค์ประธานวัดส้มนั้นน่าจะได้รับการสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาโดยมีอายุเก่ากว่าปรางค์องค์อื่นๆ ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น พระปรางค์องค์เล็กที่วัดมหาธาตุ (พ.ศ. 1917) และวัดราชบูรณะ (พ.ศ. 1967) เล็กน้อย การสำรวจของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เดินทางสำรวจวัดส้ม เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2510 และบันทึกไว้ในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ไว้ว่า วัดส้มเป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่หลังศาลากลางจังหวัด(ปัจจุบันเป็นศูนย์การท่องเที่ยวอยุธยา) ติดกับคลองท่อ โบราณสถานอื่นๆพังทลายหมด เหลือเพียงปรางค์ขนาดย่อม รูปทรงกระทัดรัดน่าดู เป็นปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น ลวดลายประดับองค์ปรางค์งามมาก จัดว่าเป็นสองรองจากวัดภูเขาทอง อย่างไรก็ดี ลายปูนปั้นที่นี่เหลือมากกว่าแห่งอื่นทั้งหมดในอยุธยา ลายซุ้มประตู ลายทับหลัง กลีบขนุน ตลอดจนลายเฟื่องเชิงชายต่างๆ เหลือบริบูรณ์น่าอัศจรรย์ เมื่อส่องกล้องดูลายในที่สูงก็ยิ่งตื่นเต้นด้วยลายละเอียดประณีตอย่างคาดไม่ถึง หน้าบันเป็นภาพเทพพนมนั่งชันเข่าข้างซ้ายเรียงกันเป็นแถว ตรงกลางมีลายคั่น ก่อนที่ผมจะเดินทางไปชมพื้นที่วัดส้ม ได้ทำการเปิดอ่านเรื่องราวของวัดส้ม พบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ… Read More »

วัดโคก ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียร อีกแห่งในอยุธยา

https://youtu.be/2ZbHjefjn7U วัดโคก อ.บางปะหัน ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระและหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปปางนาคปรกเก่าแก่สมัยลพบุรี… ถ้าจะกล่าวถึงตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระที่เป็นที่โด่งดังในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลายท่านจะต้องกล่าวถึงวัดตูม อย่างแน่นอน เพราะมีเรื่องราวเล่าขานมายาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สำหรับวัดโคก อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่เล่าขานถึงน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเศียรพระ ซึ่งน้อยคนนักจะรู้จัก อาจจะเพราะเรื่องเล่าตำนานการบันทึกไม่เก่าแก่เหมือนวัดตูม แต่ที่วัดโคกแห่งนี้ ก็มีความโด่งดังเกี่ยวกับพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง นั่นก็คือหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรกเก่าแก่ ศิลปะสมัยลพบุรี ที่เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถมาก่อน ด้วยเรื่องราวดังกล่าวข้างต้น ผมจึงได้เดินทางไปยังวัดโคก เพื่อกราบสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ และนำภาพบรรยากาศมาฝากครับ วัดโคก ตั้งอยู่ที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ไกลจากวัดตูมเท่าไรนัก ทางเข้าวัดจะมีป้ายขนาดใหญ่ชัดเจนครับ ภายในวัดมีบรรยากาศค่อนข้างเงียบ  ในอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสำริดขนาดหน้าตัก 42 นิ้ว สูง 56 นิ้ว ไม่พบประวัติการส้ราง แต่มีการบอกเล่ากันว่าสร้างในกรุงเทพฯ แล้วอาราธนามาประดิษฐานในอุโบสถวัดแห่งนี้เป็นพระประธานแทนหลวงพ่อนาค ตำนานบอกเล่าจากคนเก่าแก่ เล่าว่า ที่เศียรพระพุทธรูปส่วนบนสามารถเปิดออกได้ ด้านในจะเป็นโพรงมีน้ำซึมออกมา ซึ่งมีการกล่าวตำนานการพบคล้ายกับที่วัดตูม ว่ามีคนวิกลจริตมาอาศัยหลับนอนในวัด แล้วเปิดเศียรพระดื่มน้ำแก้กระหาย แต่ปรากฏว่าจากคนวิกลจริตกลับหายเป็นคนปกติดังเดิม จนเป็นที่กล่าวถึงกันและนำน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปเป็นสิริมงคลกันจนถึงทุกวันนี้ หลังจากที่ผมได้กราบสักการะหลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมจึงไปยังที่ประดิษฐานหลวงพ่อนาค  หลวงพ่อนาค พระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดหน้าตัก 13 นิ้ว สูง 31 นิ้ว ศิลปะสมัยลพบุรี เคยประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดโคก แต่ด้วยเป็นพระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่นักและมีความเก่าแก่ จึงเป็นที่ปรารถนาของเหล่ามิจฉาชีพ และได้เกิดเหตุการโจรกรรมถึง 4… Read More »

ซุ้มพระยืนโบราณ วัดท่ายักษ์ วัดร้างริมคลองหัวรอ อยุธยา

พาไปชมซากซุ้มพระยืนโบราณอันโดดเดี่ยว ณ วัดท่ายักษ์หรือวัดพยัคฆ์ วัดร้างนอกแผนที่ ริมคลองหัวรอ อยุธยา สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน วันนี้แอดมินตั้มจะพาเดินทางไปชมพื้นที่วัดร้างนอกแผนที่แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกชื่อกันว่า “วัดท่ายักษ์” หรือบางท่านเรียก “วัดพยัคฆ์” ตั้งอยู่ที่ ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ติดกับคลองหัวรอหรือคลองบางขวด ก่อนถึงวัดดาวคะนองเพียง 200 เมตร การเดินทางครั้งนี้ เพราะได้ทราบว่าพบเพียงซุ้มพระพุทธรูปโบราณเพียงซุ้มเดียวหรืออาจจะเป็นมณฑป ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว และไม่ปรากฏในแผนที่ แต่พบว่ามีการสำรวจจากนักสำรวจต่างประเทศมาก่อนแล้วโดยใช้ชื่อว่า “วัดท่ายักษ์” ผมและทีมเดินทาง มายังวัดแห่งนี้หลายครั้ง เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงและชื่นชอบสถานที่แห่งนี้อย่างยิ่ง ท่านที่สนใจเดินทางไปชม ให้ตั้งพิกัด Google ตามลิ้งนี้ >> https://goo.gl/maps/yM5CMcZh5oBQaoat9 เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าซุ้มพระโบราณนี้ยังคงแข็งแรง ตั้งอย่างโดดเดี่ยว โดยแทบไม่เห็นซากโบราณสถานโดยรอบหลงเหลืออยู่เลย พบเพียงเศษซากอิฐและกระเบื้องบางส่วนเท่านั้น บรรยากาศโดยรวมได้เห็นถึงความแปลกตา ที่ไม่ค่อยได้เห็นกันโดยทั่วไป และมีผู้ติดต่อสอบถามเพื่อเดินทางไปชมอย่างมากมาย ปัจจุบันนี้ สำนักศิลปากร เขต 3 ได้เข้าพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลทำการศึกษาเพื่อทำประวัติวัดแห่งนี้แล้วครับ เพื่อให้บทความมีเนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผมจึงได้ติดต่อ ดร.ฉันทัส เพียรธรรม อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพื่อการสันนิษฐานรูปแบบศิลปกรรมของวัดแห่งนี้ ซึ่งอาจารย์ได้เดินทางไปยังสถานที่จริงและสเก็ตภาพสันนิษฐานให้ไว้ด้วยครับ ข้อสันนิษฐาน โดย ผศ.ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ดร.ฉันทัส ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับศิลปกรรมไว้ดังนี้ วัดท่ายักษ์หรือวัดพยัคฆ์เหลือสิ่งก่อสร้างที่เป็นห้องมณฑปก่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ​โดย​มี​ร่องรอยการต่อเติมเป็นทางเดินซุ้มวงโค้งแต่ว่าทางเดินทั้ง 3 ข้างนั้นพังไปแล้วทำให้เหลือแต่แกนมณฑป​ ด้านบนของมณฑกมีร่องรอยการต่อยอดเป็นเครื่อง​บนไม่ทราบว่าด้านบนนั้นจะมียอดเป็นอย่างไรแต่ว่ามีชุดฐานที่ปรากฏว่าพยายามจะต่อเป็นเครื่องบนแน่นอน ภายในมณฑป ปรากฏพระพุทธรูปยืนเป็นแบบยกพระหัตถ์​เป็นปางประทานอภัย สิ่ง​ก่อสร้างที่เหลืออยู่นี้ต้องบอกว่ามีลักษณะที่แปลก ไม่ปรากฏในวัดอื่นเลยทั้งในพระนครศรีอยุธยาหรือว่าเมืองสำคัญ​… Read More »

วัดวิหารทอง วัดร้างเหลือเจดีย์ลวดลายปูนปั้นสวยงาม ที่อยุธยา

https://youtu.be/BSU0CYjeLLs https://youtu.be/FUTJqgE2PIs  วัดวิหารทอง วัดร้างเหลือเจดีย์ลวดลายปูนปั้นสวยงาม ที่อยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและสนใจเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยววัดร้างอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานามว่า วัดวิหารทอง ซึ่งเหลือองค์เจดีย์ตั้งโดดเด่นแต่หลบสายตาผู้คนเพราะอยู่ในเขตของบริษัทเอกชน… ความพิเศษคือเป็นเจดีย์ที่มีลวดลายปูนปั้นหลงเหลือให้เห็นถึงความสวยงามวิจิตรอย่างมาก จึงจะพาทุกท่านเดินทางไปเที่ยวชมกันครับ ก่อนจะเดินทางขอกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดดราม่าเสียก่อน แม้ว่าองค์เจดีย์ตรงนี้จะอยู่ในเขตบริษัทเอกชน แต่พื้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว ดังนั้นบริษัทเอกชนตรงนี้จะชำระค่าเช่าที่ดินต่อกรมศาสนาทุกปี และดูแลเจดีย์นี้ให้คงเดิมตลอดไป…ดังนั้นขอให้เข้าใจว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว ชาวบ้านก็ต้องทำมาหากิน ถ้าจะอนุรักษ์หมดทั้งกรุงเก่า คงต้องไล่คนหนีให้หมดกลายเป็นเมืองร้างล่ะครับ… เข้าใจตามนี้นะครับ… การเดินทางให้ใช้เส้นทางผ่านวัดวงษ์ฆ้อง มาที่บริษัทนิวอธิปัตย์ ซึ่งเป็นบริษัทรถทัวร์ท่องเที่ยว เจดีย์องค์นี้จะอยู่ภายในบริษัทนี้ครับ การสำรวจของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ จากข้อมูลในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” โดยอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนบันทึกการสำรวจวัดร้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยารวมถึงวัดวิหารทองไว้ด้วย ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ เมื่อปี พ.ศ.2501 อาจารย์ น. ณ ปากน้ำเคยเข้ามาสำรวจ พบว่ามีเจดีย์ทรงปรางค์ขนาดย่อมทรงสูงอยู่หนึ่งองค์ มีซากอุโบสถ เห็นเสาแปดหลี่ยม บัวหัวเสาเป็นรูปกลีบบัวละเอียด หลังอุโบสถมีซุ้มจระนำ พระประธานเป็นพระปูนปั้นมีเรือนแก้วประกอบติดผนัง ภายในเรือนแก้วทาสีเสน พบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบลูกฟูก และพระพุทธรูปทำด้วยศิลาทรายขนาดเท่าคนจริง ได้เห็นวิธีเรียงอิฐเสาแปดเหลี่ยม โดยเขาเอาอิฐปลายด้านหนึ่งปาดให้เป็นเส้นเฉียงแล้วนำมาวางสลับกันให้สองด้านชนกัน จะกลายด้านหนึ่งเป็นแปดเหลี่ยม ขนาดอิฐที่เคยวัดได้มีขนาด 32 x 16 x 6 เซนติเมตร แซมด้วยอิฐเล็กขนาด 26 x 14 x 4 เซนติเมตร และมีอิฐใหญ่พิเศษขนาด 35… Read More »