Tag Archives: สมเด็จพระนารายณ์

โบราณสถานแปลกตา ปล่องระบายแรงดันน้ำประปา สมัยอยุธยา

https://youtu.be/80tyfssifJ0 วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวของท่อหรือปล่องระบายความดับน้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่อาจจะไม่คุ้นตาของใครหลายๆคน ที่ยังปรากฏให้เห็นชัดเจนในปัจจุบัน จากข้อมูลระบุว่ามีอยู่สองแห่งในเมืองลพบุรี ได้แก่ ข้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และถ้าจะกล่าวถึงระบบท่อประปา จะถือกันว่าในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะเป็นต้นกำเนิดครั้งแรกในแผ่นดินสยาม ดังที่เราได้เห็นหลักฐานท่อประปาดินเผาและระบบประปามากมายในโบราณสถานต่างๆ และในเขตพระราชวัง ข้อมูลจากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลพบุรี. กรมศิลปากรจัดพิมพ์ ปี พ.ศ.2542 ได้เขียนเรื่องการนำน้ำสะอาดมาใช้ในเขตพระราชวังไว้ว่า มีการนำน้ำมาจากทะเลชุบศรและห้วยซับเหล็ก ในระยะแรก รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้นำน้ำมาจากทะเลชุบศร ด้วยการสร้างประตูระบายน้ำปากจั่นและบังคับให้น้ำไหลตามท่อไปยังอ่างพักตะกอน (อ่างแก้วและสระแก้ว) จากนั้นจึงจ่ายน้ำตามท่อน้ำดินเผาที่ฝังใต้ดินเพื่อนำไปใช้ยังพื้นที่ต่างๆ โดยมีวิศวกรชาวเปอร์เซียเป็นที่ปรึกษาและออกแบบ ในส่วนของห้วยซับเหล็กได้เริ่มนำมาใช้ช่วงท้ายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เพราะต้องใช้น้ำมากขึ้นจากการสร้างเมืองที่ใหญ่ขึ้น และมีการสร้างน้ำพุภายในพระราชวัง   ซึ่งน้ำจากห้วยซับเหล็กเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ใสสะอาดที่ไหลลงมาตามซอกเขาธรรมชาติที่อยู่ในระดับสูงน้ำไหลแรงดี และเนื่องจากระยะทางค่อนข้างไกลมากห่างจากเมืองลพบุรีไปทางทิศตะวันออกราว 12 กิโลเมตร จึงมีการดำเนินการเป็นสองช่วง ช่วงแรกทำเป็นลำรางชักบังคับน้ำจากลำห้วยซับเหล็ก ยาวทอดจนมาถึงบริเวณวังศาลา(ต.ท่าศาลา เมืองลพบุรี) และมีการดำเนินงานประปาช่วงที่สองตั้งแต่วังศาลาจนถึงเมืองลพบุรีโดยวิธีการฝังท่อน้ำดินเผาลงใต้ดิน และในระหว่างเส้นทางลำเลียงน้ำเข้าเมืองลพบุรี จะมีการสร้างท่อหรือปล่องระบายแรงดันของน้ำไว้เป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นจุดผ่อนคลายแรงดันของน้ำในฤดูที่มีน้ำมาก กระแสน้ำไหลแรง ป้องกันไม่ให้แรงน้ำสูงมากเกินไป จนเกินกำลังรับน้ำของท่อน้ำดินเผา และนี่ก็คือเรื่องราวความเป็นมาของโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นสูงเด่นผ่านสายตาของหลายคนมากมาย ที่อาจไม่มีใครรู้เลยว่าคืออะไร ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไป สวัสดีครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

อันซีนลพบุรี สะพานโบราณอายุกว่า 300 ปี สะพานเรือก สมัยพระนารายณ์

https://youtu.be/A0FlFA8aRpg วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองลพบุรี เพื่อตามรอยโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันในปี 2563 กำลังได้รับการบูรณะ เพื่อเปิดเผยสู่สาธารณชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของลพบุรี นั่นก็คือ สะพานเรือก หรือสะพานคลองท่อ ซึ่งมีหลักฐานทาประวัติศาสตร์ว่ามีขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวเกี่ยวกับคลองเรือกมีความน่าสนใจ ผมจึงได้เดินทางร่วมกับเพจตามรอยวัดเก่าลุ่มน้ำลพบุรีเพื่อบันทึกข้อมูลนี้ไว้ ดังนี้ เมืองลพบุรีด้านทิศตะวันออกมีคูเมืองหลายชั้น ชั้นนอกสุดคูเมืองค่อนข้างกว้างและยังคงสภาพที่สมบูรณ์ขอคลองจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวเมืองเรียกกันว่า คลองเรือก ในรายงานการเสด็จประพาสเมืองลพบุรีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ระบุชื่อคลองนี้ว่าคลองท่อ เช่นในข่าว เสด็จประพาสเมืองลพบุรีราชกิจจานุเบกษา วันที ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ.๒๔๔๘) ลงข่าวไว้ว่า …วันที่ ๓๑ ตุลาคม  เวลาเย็นเสด็จลงเรือพระที่นั่งพายประพาสในคลองท่อ จนถึงวัดตองปุ… …วันที่ ๑ พฤศจิกายน… เสด็จเรือพระที่นั่งพายล่องลงไปเข้าคลองเมืองด้านใต้ ทอดพระเนตรสถานที่โบราณนอกเมืองแล้วมาเข้าคลองท่อข้างใต้ ประทับวัดสัมปหล่อ (วัดสันเปาโล) แล้วเสด็จไปตามคลองท่อได้ไปออกข้างเหนือที่ทุ่งพรหมาสตร์… และมีปรากฏในหลักฐานทางประศาสตร์ในแผนที่เมืองลพบุรีสำรวจและวาดโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ชื่อ เดอ ลามาร์ เมื่อ ค.ศ ๑๖๘๗ (๒๒๓๐) ได้วาดตำแหน่งสะพานข้ามคลองท่อไว้ ๒ แห่ง คือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและด้านทิศตะวันออก และในแผนที่เมืองลพบุรี จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ พ.ศ ๒๔๕๗ ระบุตำแหน่งข้ามคลองท่อด้านทิศตะวันออก ชื่อว่า สะพานราเมศร์ และน่าจะตรงกับตำแหน่งสะพานเดียวกับที่ระบุในแผนที่ของ เดอ ลามาร์ ฉะนั้นสะพานที่สร้างขึ้น ณ ตำแหน่งนี้มีมาแล้วตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ… Read More »