Tag Archives: วัดสาบสูญ

วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญเป็นศูนย์การค้าเอเชียทีคในกรุงเทพฯ

  วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญ จากวัดกลายเป็นวัดร้างและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เอเชียทีคในกรุงเทพฯ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวยังเอเชียทีค ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในย่านถนนเจริญกรุง มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากันมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยบรรยากาศติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และมีความทันสมัย จึงมีความคึกคักของนักท่องเที่ยวอย่างมาก เมื่อผมได้เดินทางไปถึงก็ได้ไปสะดุดตากับอาคารไม้เก่าหลังหนึ่งในเขตศูนย์การค้า จากป้ายเขียนไว้ว่าสร้างในปี ค.ศ. 1912 หรือ พ.ศ.2455 ซึ่งมีอายุเกิน 100 ปี มีความโดดเด่นในย่านธุรกิจ ผมจึงได้ลองค้นหาข้อมูล จึงได้พบว่าอาคารหลังนี้เป็นทรัพย์สินของ บริษัทอีสท์ เอเชียติก จำกัด แห่งประเทศเดนมาร์ก ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเลื่อย แต่ความน่าสนใจไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะก่อนที่จะมาเป็นโรงเลื่อย พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นวัดมาก่อน จนกระทั่งแปรเปลี่ยนเป็นโรงเลื่อย และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ก็คือเอเชียทีค วัดพระยาไกร วัดที่สาบสูญ คำว่าวัดพระยาไกร ทำให้ผมนึกไปถึงพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก แห่งวัดไตรมิตรวิทยาราม เพราะแต่เดิมพระทองคำองค์ดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปที่มีปูนปั้นทับไว้ ทำให้ไม่มีผู้ใดทราบว่าคือพระพุทธรูปทองคำ จนกระทั่งได้ทำการอัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม จนเกิดการกระเทาะของปูนเผยให้เห็นความล้ำค้าด้านในองค์พระ สามารถเอ่านเพิ่มเติมจากบทความนี้ >> https://www.faiththaistory.com/precious-buddha เมื่อผมได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น จึงเกิดความสนใจในเรื่องราวนี้ขึ้นมา จึงได้ลองค้นหาข้อมูลจากหนังสือ “วัดร้างในบางกอก”  โดย ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ได้เขียนรายละเอียดไว้ได้อย่างน่าสนใจ  ในหนังสือได้เขียนว่า ที่ตั้งของวัดพระยาไกรจากแผนที่ ฉบับเก่าๆ ระบุว่าตั้งลงไปทางทิศใต้ของวัดราชสิงขรเล็กน้อย และวัดลาดบัวขาวขึ้นมาทางเหนือตามแม่น้ำเจ้าพระยา หรือปัจจุบันคือถนนเจริญกรุงตอนล่าง ยังมีสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรและป้ายชุมชนที่มีชื่อวัดเป็นหลักฐาน จากสารานุกรมเสรี ได้เขียนว่า วัดพระยาไกร เป็นชื่อเดิมของวัดโชตนาราม และมีหลักฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ. 2344 จนกระทั่งมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (บุญมา)… Read More »

วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ วัดของสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรที่สาบสูญ เหลือเพียงชื่อในแผนที่

https://youtu.be/raWifsrc7L8 สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยหาวัดสำคัญวัดหนึ่งที่สาบสูญไปแล้วในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่โบราณและแผนที่ของกรมศิลปากร ระบุถึงตำแหน่งวัดแห่งนี้ไว้ ชื่อว่า “วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ” คำว่าเจ้าฟ้าดอกเดื่อนี้ คืออีกชื่อหนึ่งของ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” นั่นเอง ที่มาของชื่อเจ้าฟ้าดอกเดื่อนั้น ตามพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ได้กล่าวว่า ขณะสมเด็จพระราชชนนีทรงครรภ์นั้น สมเด็จพระราชชนกทรงพระสุบินว่ามีผู้ถวายดอกมะเดื่อ ซึ่งพระองค์ทรงทำนายว่า “ดอกมะเดื่อเป็นคนหายากในโลกนี้” เมื่อพระราชโอรสประสูติ จึงพระราชทานนามว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร” ส่วนราษฎรเรียกว่า “เจ้าฟ้าดอกเดื่อ” หรือ “เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” ซึ่งคำว่า “อุทุมพร” แปลว่า “ดอกมะเดื่อ” นั่นเอง เมื่อครั้งสมเด็จพระราชชนกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ทรงขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งมีบันทึกแตกต่างกัน บ้างว่าเป็นระยะเวลา 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือเพียง 10 วัน ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ความสำคัญคือ พระองค์สละราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบ แล้วลาผนวชทันที แต่พระองค์ก็เคยสึกออกมาเพื่อมาช่วยการศึกสงครามเมื่อครั้งศึกพระเจ้าอลองพญา เมื่อ ปี พ.ศ.2303 เมื่อเสร็จศึกพระองค์ก็ได้ออกผนวชอีก จึงจะเห็นได้ว่าพระองค์นั้นมีพระปรีชาสามารถทั้งสติปัญญาการปกครอง การรบ และใฝ่ในทางธรรม ไม่ปรารถนาในราชสมบัติ จนสุดท้ายในศึกเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2310 ฝ่ายเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าได้คุมตัวภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรกลับไปด้วย และต่อมาได้มีการค้นพบบันทึกคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า ต้นฉบับเป็นภาษามอญ เป็นเนื้อหาที่พระเจ้ากรุงอังวะให้สอบถามเชลยศึกเกี่ยวกับพงศาวดารไทยและขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเชื่อว่าย่อมมีคำให้การจากสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรด้วย… Read More »