Tag Archives: วัดร้าง

วัดนก สถานที่ตั้งบ้านเรือนของครัวมอญและญาติโยมของมหาเถรคันฉ่องในสมัยอยุธยา

https://youtu.be/0WjAgcWElyQ วัดนก สถานที่ตั้งบ้านเรือนของครัวมอญและญาติโยมของมหาเถรคันฉ่องในสมัยอยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ติดกับวัดมหาธาตุ อยุธยา มีเรื่องราวการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นสถานที่ตั้งบ้านเรือนของญาติโยมมหาเถรคันฉ่อง… จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าเดินทางไปเก็บภาพบรรยากาศครั้งนี้ครับ ผมเดินทางในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2561 จอดรถที่วัดราชบูรณะ แล้วเดินผ่านเจดีย์เจ้าอ้าย เจ้ายี่ อนุสรณ์แห่งความเศร้าที่ทั้งสองพระองค์ทำยุทธหัตถีแย่งชิงพระราชสมบัติแล้วสิ้นพระชนม์ทั้งคู่… จากนั้นผ่านมาวัดมหาธาตุ แล้วเดินเลียบกำแพงวัดมหาธาตุฝั่งขายตั๋วเข้าชมโบราณสถานไปเล็กน้อย ก็จะเจอกับวัดนกแล้วหล่ะครับ ท่านสามารถชมคลิปวีดีโอประกอบที่ผมติดไว้ให้ด้านบนบทความนี้ พื้นที่วัดนก ปัจจุบันประกอบไปด้วยวิหาร มีซากพระพุทธรูปหินทราย และปรางค์ประธานขนาดเล็กหลังวิหาร จากหนังสืออยุธยาที่ไม่คุ้นเคย ได้เขียนไว้ว่า วัดนกปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรทรงนำพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติ พระยารามและครัวมอญจากเมืองแครงลงมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓) พระราชบิดา จึงโปรดให้ครัวมอญและญาติโยมของพระมหาเถรคันฉ่องไปตั้งบ้านเรือนอยู่หลังวัดนก ส่วนพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเป็นผู้นำพระยาเกียรติ พระยารามมาเฝ้าเพื่อทูลข้อราชการลับของฝ่ายพม่าให้สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบถึงแผนการลอบปลงพระชนม์พระองค์นั้น ก็โปรดให้ไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุข้างวัดนกนั่นเอง นอกจากนี้ ในเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวงได้ระบุว่า หลังวัดนกไปจนถึงหน้าวัดโพง เป็นตลาดมอญ ซึ่งเป็นย่านขายเครื่องทองเหลือง เช่น ขัน ถาด พาน เป็นต้น ปัจจุบันวัดโพง ก็เป็นวัดร้างตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดนก โดยมีบึงพระรามกั้นอยู่… จากเรื่องราวการบันทึกจึงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะมีความคึกคักคักอย่างมากในสมัยอยุธยา เพราะเป็นแหล่งความเจริญ ย่านตลาด และวัดสำคัญคือวัดมหาธาตุ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวพอสังเขปที่ผมได้พาทุกท่านเดินทางไปจินตนาการถึงเรื่องราวในอดีต ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ ช่องทางการติดตามเรื่องราว ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel FaithThaiStory ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory แบ่งปันเรื่องราวการท่องเที่ยววัดที่กลุ่ม… Read More »

วัดมหาทลาย (วัดร้าง) อยุธยา วัดที่รัชกาลที่ ๑ ทรงผนวช

https://youtu.be/VlNxKUrbIVA วัดมหาทลาย อยุธยา วัดที่รัชกาลที่ ๑ ทรงผนวช… สวัสดีครับวันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมโบราณสถานแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถ้ามองดูซากที่ยังหลงเหลือ ก็จะเหมือนโบราณสถานทั่วๆไปในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา… แต่ถ้าเราได้ทราบถึงประวัติความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ จะเป็นการเพิ่มอรรถรสในการเดินทางมากยิ่งขึ้น เช่น วัดมหาทลายแห่งนี้ ที่ปรากฏชื่อว่าเป็นสถานที่ทรงผนวชของรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเดินทางวันนี้ผมจะไปยังวัดมหาทลาย ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตของสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประวัติวัดมหาทลายจากป้ายกรมศิลปากร วัดมหาทลายตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศตะวันออก ในพื้นที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โบราณสถานภายในวัดมหาทลายที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน (พ.ศ.2561) เหลือเพียงวิหารเพียงหลังเดียว โดยเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 7.60 เมตร ยาว 10 เมตร สันนิษฐานสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลางราวพุทธศตวรรษที่ 22 – 23 วิหารหลังนี้มีร่องรอยการยกระดับผนังและพื้นภายในอาคารให้สูงขึ้นซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากน้ำท่วมก็เป็นได้ ส่วนซากโบราณสถานอื่นๆ ได้พังทลายจนหมดสิ้นไปแล้ว วัดมหาทลาย ความเกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 (วันที่ 20 เดือน 4 ตามปีจันทรคติ) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายา (หยก) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1… Read More »

สำรวจวัดร้าง อดีตค่ายพม่าโจมตีกรุงศรีอยุธยา – วัดเต่า วัดตามุก วัดสุเรนทร์

https://youtu.be/ZB-X8wg3uj8 สำรวจวัดร้าง อดีตค่ายพม่าโจมตีกรุงศรีอยุธยา – วัดเต่า วัดตามุก วัดสุเรนทร์… สวัสดีครับ ครั้งนี้ผมจะพาทุกท่านเดินเข้าป่า เดินทางท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์เมื่อครั้งการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ซึ่งครั้งนั้นเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญเพราะเป็นการปิดฉากความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระเจ้าตากกลับมากู้เอกราช จึงได้ย้ายเมืองไปที่กรุงธนบุรีในเวลาต่อมา การเดินทางครั้งนี้ ผมไม่สามารถเดินทางไปทุกวัดที่มีบันทึกว่าเป็นค่ายพม่าได้ เพราะมีหลายวัดและจะใช้เวลานาน จึงขอพาไปชมสภาพพื้นที่บางวัด และผมได้วางแผนจะพาไปชม 3 วัดได้แก่ วัดเต่า วัดตามุก(วัดพลับพลาชัย) วัดสุเรนทร์ ซึ่งเป็นค่ายพม่าฝั่งตะวันตกของเกาะเมืองอยุธยา… ปัจจุบันทั้ง 3 วัดนี้ มีสภาพเป็นโคกวัดร้าง ให้เห็นเพียงเศษซากก้อนอิฐ ซากพระพุทธรูป ให้ได้รู้ว่าสถานที่แห่งนี้เคยมีความรุ่งเรืองมาก่อน หมายเลข ๑๐ : วัดเต่า, หมายเลข ๑๑ : วัดสุเรนทร์ สำหรับหนังสืออ้างอิงในการเดินทาง ผมจะใช้หนังสือ 2 เล่มคือ “Shutdown กรุงศรี” และ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” เพราะมีเนื้อหาสรุปความจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือพอสมควร และขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องราวการบันทึกการเดินทางทุกครั้ง ไม่ใช่เนื้อหาทางวิชาการ ขอให้ท่านผู้ติดตามอ่านแล้วนำไปค้นคว้าเพิ่มเติม ถ้าผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับเพื่อนำไปปรับปรุงครับ… บันทึกการเดินทางครั้งนี้ เดือนมิถุนายน พ.ศ.2561 สั่งซื้อออนไลน์ >> หนังสือ “Shutdown กรุงศรี” จากบันทึกในพงศาวดารไทย ได้กล่าวถึงที่ตั้งมั่นค่ายพม่าไว้มากมาย เช่น วัดกระซ้าย… Read More »

วัดพระยาแมน พระเพทราชาบูรณะถวายพระอาจารย์ที่ทำนายว่าจะได้ครองราชสมบัติ

https://youtu.be/luTWqs46dgM วัดพระยาแมน พระเพทราชาบูรณะถวายพระอาจารย์ที่ทำนายว่าจะได้ครองราชสมบัติ… วัดพระยาแมนเป็นวัดร้าง แถบคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ แลให้จินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตเพราะวัดแห่งนี้มีกษัตริย์คือพระเพทราชาบูรณะขึ้น… ผมได้โอกาสไปเที่ยวสถานที่แห่งนี้ จึงขอนำเรื่องราวมาแบ่งปันไว้ครับ วัดพระยาแมนตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศเหนือ วัดมีกำแพงล้อมรอบ มีพระอุโบสถเป็นประธานของวัด ด้านทิศตะวันออกมีพระปรางค์ 2 องค์ตั้งคู่กัน ลักษณะแผนผังนี้นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดพระยาแมนไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน พบบันทึกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวไว้เพียงว่า สมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ.2231 – 2246) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2233 ด้วยเพราะเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้เคยพยากรณ์ว่าพระองค์จะได้ครองพระราชสมบัติ วัดพระยาแมนถูกทิ้งร้างลงหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ********************* สำหรับในบันทึกประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ ได้กล่าวว่า วัดพระยาแมน พระเพทราชาทรงปฏิสังขรณ์ถวายพระอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ทำนายพระลักษณะมาแต่เดิม อยู่ในคลองสระบัว พระศรีสัจญาณมุนีเป็นเจ้าอาวาส ก่อนเข้าสู่เขตพระอุโบสถ เราจะเดินผ่านถังน้ำประปาโบราณ เป็นอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแนวท่อน้ำส่งไปสู่เขตพุทธาวาส (พระอุโบสถ) ภายในพระอุโบสถมีการเจาะช่องเล็กๆรูปกลีบบัว สันนิษฐานว่าเป็นช่องใส่ดวงประทีปเพื่อให้แสงสว่างหรือช่องประดิษฐานพระพุทธรูป เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันด้านหลังพระอุโบสถ ฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานเขียง ถัดขึ้นมาเป็นฐานสิงห์ซ้อนกัน 3 ชั้น ต่อด้วยองค์ระฆังและบัลลังก์ตามลำดับ ลักษณะเจดีย์แบบนี้นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อเดินชมพระอุโบสถโดยรอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมได้เดินไปต่อเพราะเห็นอาคารร้างถัดไปอีกราวๆ 100 เมตร อาคารร้างเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 3.5 เมตร ยาง 8 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีบันไดทางขึ้นสู่ตัวอาคารทั้ง… Read More »

วัดร้างในโรงพยาบาลอยุธยา – วัดปราสาท วัดโคกเดหมี

https://youtu.be/vCvOzwKjeow วัดร้างในโรงพยาบาลอยุธยา – วัดปราสาท วัดโคกเดหมี (วัดโคกยายมี)… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปเที่ยวโรงพยาบาลครับ… ใช่แล้วครับผมกล่าวไม่ผิด เพราะในโรงพยาบาลมีวัดร้างแอบซ่อนอยู่  โรงพยาบาลที่ผมกล่าวถึงคือ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จากแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ ปรากฏชื่อวัดร้างในเขตโรงพยาบาลอยู่ทั้งสิ้น 3 วัด ได้แก่ วัดปราสาท, วัดโคกเดหมี(ในอดีตชาวบ้านเรียกวัดโคกยายมี), และวัดโคกเดหมา ถ้าเราเดินทางผ่านโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เราจะสังเกตุเห็นเจดีย์โบราณในโรงพยาบาล เพราะเจดีย์องค์นี้อยู่ใกล้กับถนนสัญจร แต่หลายคนก็ไม่ได้สนใจเพราะเจดีย์โบราณเช่นนี้ มีให้เห็นทั่วไปในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้อยคนจึงจะรู้จักชื่อวัดนี้… เจดีย์ที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง คือเจดีย์ของวัดปราสาท ซึ่งเป็นวัดร้างในโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง เมื่อดูแผนที่และทราบว่าภายในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา มีวัดร้างที่แอบซ่อนอยู่…ผมจึงได้นัดแนะสมาชิกเพื่อเดินทางไปชมพื้นที่กันสักเล็กน้อย… โดยนัดแนะที่ร้านกาแฟอเมซอนตรงข้ามโรงพยาบาล วัดแรกที่เราจะเข้าไปชมกันก็คือวัดปราสาท เพราะมีจุดสังเกตุที่ชัดเจนที่สุด เพราะมีจุดีย์ที่ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้วอยู่ 2 องค์ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ของวัดปราสาทคือ เจดีย์ 2 องค์ ลักษณะองค์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ประธานของวัด ส่วนอีกองค์หนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ราย… จากการเข้าชมพื้นที่ ไม่เห็นซากอาคารใดๆ ซึ่งอาจจะทรุดโทรมพังทลายไปจนไม่เหลือซาก และจมใต้พื้นดินจากอาคารก่อสร้างของโรงพยาบาล เมื่อผมถ่ายรูปเก็บภาพเป็นที่ระลึกที่วัดปราสาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้เดินไปชมวัดร้างในจุดอื่นต่อไป จุดหมายคือวัดโคกเดหมี (วัดโคกยายมี)และวัดโคกเดหมา ซึ่งต้องเดินข้ามไปอีกฟากหนึ่งของโรงพยาบาล เมื่อเดินข้ามมาอีกฟากหนึ่ง จะมีมณฑปพระพุทธรูปองค์ใหม่ที่สร้างขึ้น พระนามว่า “พระศรีอยุธยาพิชิตโรคา” พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปใหม่ ปางประทานพรศิลปะสุโขทัยเนื้อทองเหลืองพ่นทอง ขนาดความกว้างหน้าตัก 109 นิ้ว สูง 3.70 เมตร โดยหลวงพ่อหวล เจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เมตตาประทานรูปแบบและพระนาม เนื่องในโอกาสครบรอบ 72… Read More »

ตามรอยเสด็จประพาส ร.๕ วัดศาสดา วัดร้างอยุธยาที่ไม่เคยรู้

https://youtu.be/Byo7fLYRFVo ตามรอยเสด็จประพาส ร.๕ วัดศาสดา วัดร้างอยุธยาที่ไม่เคยรู้… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๕ โดยเราจะเดินทางไปที่วัดศาสดา ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างไปเสียแล้ว มีซากเจดีย์โบราณที่ถูกปกคลุมด้วยต้นโพธิ์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ วัดศาสดาตั้งอยู่ในเขตบ้านเรือน แต่เราสามารถเข้ามาถ่ายรูป ท่องเที่ยวกันได้ แต่อาจจะมีเหล่าสุนัขคอยเห่ารบกวนสมาธิบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ต้องกังวลครับ (ไม่กัด) เมื่อผมเดินทางมาถึง จะเห็นต้นโพธิ์สูงใหญ่ชัดเจน แลดูช่างคลาสสิคเป็นอย่างยิ่ง ผมได้สอบถามป้าที่บ้านทางเข้าเขตวัดศาสดา ป้าบอกว่ากรมศิลปากรจะส่งเจ้าหน้าที่คอยมาทำความสะอาดและตัดต้นไม้ไม่ให้รกตามเวลาที่กำหนดไว้ ในเขตพื้นที่บ้านแต่เดิมจะมีแนวกำแพงและผนังโบสถ์ แต่ปัจจุบันได้ทลายหายไปหมดสิ้นแล้ว แนวผนังอาคาร ยังพอให้เห็นเศษอิฐโบราณที่กระจัดกระจายอยู่ครับ จากนั้นผมได้ขึ้นไปสำรวจเจดีย์ด้านบน ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเพราะมีความสูงชัน ตามรอยเส้นทางเสด็จประพาส รัชกาลที่ ๕ วัดศาสดา เป็นจุดหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาถึง ปรากฏในพระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่าและพระราชกระแสเรื่องจัดการทหารมณฑล กรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๕ มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัดศาสดาบางตอนดังนี้ ๒๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๗ (พ.ศ ๒๔๕๑) ลงเรือล่องลงมาเข้าคลองบางนางร้า หาที่พักทำกับข้าวไม่เหมาะจนมาออกปากคลอง เลยขึ้นไปดูข้างเหนือเห็นว่าจะช้าเสียเวลาไปจึงได้แล่นกลับลงมา ไม่ช้าเท่าใดก็ถึงวัดวรนายกรังสรรค์วัดเขาดิน ที่จริงภูมิฐานดี แลเห็นเด่นแต่ไกล เป็นที่ประชุมไหว้พระใหญ่ไม่มีที่ไหนเท่าสุพรรณ อ่างทอง ลพบุรีก็ลงมาพร้อมกันหมด เสียแต่การก่อสร้างไม่แข็งแรงเลยพูนดินขึ้นไปที่โคกโบสถ์สูงครากแบะจะพัง มาไลยเจดีย์ปูนยังไม่ทันจะดำมีต้นไม้ขึ้นมาก ทำกำมะลอเสียแต่แรกแล้ว ไม่ได้แวะเลยลงมาตามลำน้ำโพธิ์สามต้นไปทางบางขวดถึงปากช่องที่จะเข้าไปวัดตูม วัดศาสดา จอดเรือโมเตอร์ที่นั้นลงเรือสามสิบหกศอกแจวเข้าไป หยุดทำกับข้าวที่วัดศาสดา ซึ่งมีการเปรียญน้ำพอปริ่ม ๆ ที่จริงไม่เห็นท่าทางที่น่าจะอด หน้าวัดก็มีบ้าน การเปรียญก็ดูเป็นที่เทศนาวาการกันอยู่ แต่มีพระองค์เดียวเท่านั้น พระองค์เดียวก็มิใช่อยู่อย่างจนๆ อยู่กุฏิฝากระดานยังใหม่… Read More »