วัดพราหมณี หลวงพ่อปากแดง นครนายก ที่พึ่งของนักแสวงโชค
https://youtu.be/eP9Bn11uuls วัดพราหมณี หลวงพ่อปากแดง นครนายก ที่พึ่งของนักแสวงโชค สวัสดีกับบทความท่องเที่ยววัดทั่วไทยของผมอีกครั้ง และครั้งนี้ผมได้เดินทางมาถึงจังหวัดนครนายก นอกจากจะเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น น้ำตกสาริกา, น้ำตกนางรอง ก็ยังเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังเกี่ยวกับพุทธสถานหรือวัดนี่แหละครับ เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อ โชคลาภและมีผู้เดินทางมายังวัดแห่งนี้มากเป็นพิเศษในช่วงก่อนจะออกสลากกินแบ่งรัฐบาล นั่นก็คือ “วัดพราหมณี” หรือเราจะคุ้นเคยกันในนาม “วัดหลวงพ่อปากแดง” นั่นเอง สำหรับเรื่องการเดินทางนั้น สุดแสนจะง่ายและสะดวกสบาย โดยให้ขับรถตรงเข้าเมืองนครนายกเลยนะครับ ตามเส้นทางน้ำตกสาริกา วัดจะตั้งใจใกล้ๆกับตลาดโรงเกลือนครนายก ขอรับรองว่าไม่ได้เดินทางไปยากจริงๆครับ เหตุผลที่ผมเดินทางมาครั้งนี้เพื่อมาดูบรรยากาศแห่งความศรัทธา ที่ผู้คนต่างเลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อปากแดง และเป็นการเดินทางพักผ่อนท่องเที่ยวของผมไปในตัว โดยวัดพราหมณีแห่งนี้ มีอายุก็เกิน 100 ปีแล้วนะครับ สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แม้ว่าช่วงหนึ่งจะเคยถูกทิ้งร้าง และก็ได้รับการบูรณะอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 เมื่อผมขับรถถึงตลาดโรงเกลือ นครนายก จะมองเห็นป้ายวัดขนาดใหญ่ข้างๆกัน ก็เลี้ยวเข้ามาเลย บริเวณลานจอดรถกว้างขวางใหญ่โต รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถบัส จึงสบายใจเรื่องที่จอดรถครับ หลังจากหาที่จอดรถได้เรียบร้อยแล้ว ผมก็เดินเข้ามาตามเส้นทาง จะผ่านร้านค้ามากมายที่ชาวบ้านมาตั้งจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของที่ระลึกและอาหารต่างๆในท้องถิ่น ก่อนที่จะถึงวิหารหลวงพ่อปากแดง เราจะผ่านวิหารหลวงพ่อโพธิ์ก่อน ยังไงอย่าลืมแวะนมัสการขอพรกันก่อนด้วยนะครับ ต้องบอกเลยว่าร้านค้าภายในวัดเยอะมากจริงๆ กว่าจะเดินเข้าไปถึงวิหารหลวงพ่อปากแดงก็มีนับหลายสิบร้าน และตอนนี้ผมก็เดินยังไม่ถึงเลยครับ ส่วนเรื่องอาหารการกินไม่ต้องกังวลใจเลยครับ ร้านอาหารเพียบ ถ้ารู้สึกหิวก็แวะกันเลย มีทั้งก๋วยเตี๋ยว ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ และอื่นๆอีกมากมาย ถ้าคนที่ชอบซื้อของคงต้องใช้เวลานานเลยครับกว่าจะเดินไปถึงวิหารหลวงพ่อปากแดง ก่อนถึงวิหารหลวงพ่อปากแดง จะผ่านจุดเช่าบูชาวัตถุมงคลของทางวัด ถ้าใครมีจิตศรัทธาก็สามารถบูชาไว้เป็นที่ระลึกกันได้ และอีกจุดหนึ่งที่เราจะต้องเดินผ่านกันแน่นอนก็คือศาลเจ้าแม่ตะเคียน และศาลกุมารทอง สำหรับเรื่องความเชื่อนี้ก็ปลูกฝังอยู่ในสังคมไทบมาช้านาน… Read More »