เที่ยวสำรวจวัดร้างสมัยอยุธยา วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค
https://youtu.be/oWjTw8j7kPY จากบทความเดิม ภารกินเที่ยววัด สำรวจวัดร้างอยุธยา Episode 1 เราก็มาต่อกันที่วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค … สำหรับการเดินทางมาที่วัดแห่งนี้ เราได้ตามรอยมาจากหนังสือ “อยุธยา ที่ไม่คุ้นเคย” โดย ปวัตร์ นวะมะรัตน ที่ได้ตีพิมพ์ไว้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เป็นหนังสือที่ทำให้กระแสการอนุรักษ์เกิดขึ้นได้มากเลยทีเดียว ถือว่าเป็นหนังสือที่น่าซื้อหามาไว้อ่านเป็นความรู้ที่ดีมากเล่มหนึ่ง ซึ่งยังสามารถหาซื้อเป็นเจ้าของได้ตามร้านหนังสือทั่วไป กลุ่มของเราได้เดินทางมาถึงราวๆเที่ยงวัน ด้วยบรรยากาศที่ไม่ร้อนมากนัก ขับรถลัดเลาะมาทางวัดภูเขาทองและได้สอบถามคนในพื้นที่จนมาพบกับวัดป่าพลูตาม แผนที่ เมื่อเดินทางมาถึง จะเห็นเพียงโคกดินสูงและเศษก้อนอิฐโบราณที่กระจายทั่วไป อีกทั้งได้พบกระเบื้องเชิงชายที่แตกหักจำนวนหนึ่ง รวมถึงเศษซากพระพุทธรูป และลูกนิมิตโบราณอีก 2 ลูก ที่ชาวบ้านได้ทำการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธรูปที่ยังพอหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เราเดินทางเข้ามายังพื้นที่วัดป่าพลู ก็ได้พบกับยาย ที่เป็นชาวบ้านแถบนี้ และก็นั่งคุยเรื่องราวกันอย่างเป็นกันเอง ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีเลยครับ ผมได้เดินดูพื้นที่รอบๆ ก็จะเห็นเพียงเศษอิฐบางส่วน และศาลาพระพุทธรูปที่ชาวบ้านได้สร้างไว้ วัตถุโบราณที่มีให้เห็นคือเศษซากพระพุทธรูป แต่ส่วนเศียรนั้นได้หายไปแล้วครับ ลูกนิมิตโบราณ จะมีอยู่ 2 ลูกในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะที่ไม่กลมเหมือนกับปัจจุบันนี้ เราได้พบเศษกระเบื้องเชิงชายจำนวนหนึ่ง จึงได้เก็บรวบรวมไว้ และทำการโทรปรึกษาอาจารย์กรมศิลปากร และได้ส่งมอบทั้งหมดนี้ให้กับ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ประวัติวัดป่าพลู จากหนังสือ อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย โดยปวัตร์ นวะมะรัตน ได้เขียนไว้ว่า วัดป่าพลูแห่งนี้ไม่พบหลักฐานการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพราะมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ พ.ศ. 2091 มีความพอสังเขปว่า เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ ยกทัพเข้าล้อมพระนครในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091 –… Read More »