วัดสีกุก ค่ายใหญ่พม่าของแม่ทัพมังมหานรธา เมื่อครั้งตีกรุงศรีอยุธยาแตก
https://youtu.be/JfT-voRvRYQ วัดสีกุก ส่วนหนึ่งของค่ายสีกุก ค่ายใหญ่พม่าของแม่ทัพมังมหานรธา เมื่อครั้งตีกรุงศรีอยุธยาแตก… สวัสดีครับ ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยววัดตามรอยประวัติศาสตร์เมื่อครั้งที่เราได้เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยจุดที่จะพาทุกท่านเดินทางไปชมคือ วัดสีกุก พระนครศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งของค่ายสีกุก ที่มีแม่ทัพใหญ่พม่าคือ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพควบคุมการรบ เส้นสีแดงในแผนผังสันนิษฐานค่ายพม่า คือแนวกำแพงที่พม่าได้สร้างเมื่อครั้งเข้ารุกรานตีกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขนาบไปกับกำแพงโรงเบียร์บนถนนเส้นเสนา-อยุธยา ซึ่งรวมเอาวัดสีกุกเป็นส่วนหนึ่งค่ายใหญ่นี้ (เส้นสีแดงที่ผมขีดไว้ เป็นตำแหน่งที่ผมประมาณการสันนิษฐาน ซึ่งอาจไม่ตรงจุดจริง เพราะผมไม่สามารถลงไปสำรวจได้ครับ) อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ นักโบราณคดีและศิลปินแห่งชาติ เคยมาสำรวจวัดสีกุก เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2509 และได้บันทึกไว้ในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” มีความว่า “ตั้งอยู่ตรงข้ามกันกับวัดปากคลองบางบาล ซึ่งพื้นที่ตรงนั้นเป็นหัวเลี้ยวของแม่น้ำใหญ่ ตัวอุโบสถแม้จะถูกตกแต่งเป็นของใหม่ แต่ก็ยังเห็นเค้าของเก่าได้อย่างชัดเจน คือเสาแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นโครงเสาเดิม ภายในอุโบสถบูรณะใหม่หมด ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถมีเจดีย์ย่อมุมยี่สิบแบบสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมแบบอยุธยาตอนปลายอีกหลายองค์ หลังวัดไม่ไกลมากนักเป็นซากค่ายพม่า เนื่องจากบริเวณแถบนี้ทางแม้น้ำโค้งเป็นรูปเกือกม้า พม่าจึงเลือกตั้งค่ายตรงวัดสีกุก แล้วทำกำแพงตัดปลายเกือกม้าจรดสองข้างแม่น้ำ กำแพงก่อด้วยอิฐอย่างแข็งแรง แต่ถูกชาวบ้านรื้อเอาอิฐไปขายจนเกือบหมดแล้ว ค่ายสีกุกนี้เป็นค่ายที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ภายในค่ายกว้างขวาง มีอาณาบริเวณหลายสิบไร่ มีโคกช้าง โคกม้าพร้อม ดูแล้วไม่ผิดอะไรกับเมืองๆหนึ่งทีเดียว” จากข้อมูลในหนังสือ “อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย” ได้ระบุตำแหน่งโคกกำแพงค่ายพม่าขนาดไปกับกำแพงโรงงานเบียร์ ซึ่งโรงงานเบียร์ได้ซื้อที่ดินจรดเขตแนวกำแพงค่ายพม่าพอดี ค่ายวัดสีกุก เป็นค่ายของแม่ทัพมังมหานรธาที่การควบคุมการรบ แต่ก่อนที่กรุงศรีอยุธญาจะแตก มังมหานรธาได้ป่วยหนักและเสียชีวิตลง และบันทึกว่ามีการสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ในค่ายแห่งนี้อีกด้วย หลังการเสียชีวิตของมังมหานรธา ทำให้เนเมียวสีหบดีแห่งค่ายโพธิ์สามต้นขึ้นบัญชาการรบทั้งหมดและปิดฉากความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 อุโบสถวัดสีกุก ได้รับการบูรณะเรื่อยมา… Read More »