วัดส้ม วิจิตรศิลป์ปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น
https://youtu.be/OHA2QvrEFaw โบราณสถาน วัดส้ม ลวดลายปูนปั้นวิจิตรศิลป์ปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น… วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปชมความงามลวดลายปูนปั้นที่โบราณสถาน วัดส้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ยังหลงเหลือความงาม วิจิตรให้ได้ชมแม้กาลเวลาจะผ่านมาแล้วหลายร้อยปี ข้อมูลจากกรมศิลปากร กล่าวว่า วัดส้มเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ติดกับคลองท่อ (คลองฉะไกรใหญ่) ทางด้านทิศตะวันตก ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัด สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ ปรางค์ประธาน วิหาร และเจดีย์ราย จากการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นปรางค์ก่ออิฐและมีการทำทับหลัง รวมทั้งลวดลายปูนปั้นประดับองค์ปรางค์วัดส้ม พบว่ามีวิวัฒนาการมาจากโครงสร้างและลวดลายในสถาปัตยกรรมเขมรซึ่งมีอายุการสร้างอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 แสดงให้เห็นว่าปรางค์ประธานวัดส้มนั้นน่าจะได้รับการสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาโดยมีอายุเก่ากว่าปรางค์องค์อื่นๆ ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น พระปรางค์องค์เล็กที่วัดมหาธาตุ (พ.ศ. 1917) และวัดราชบูรณะ (พ.ศ. 1967) เล็กน้อย การสำรวจของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เดินทางสำรวจวัดส้ม เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2510 และบันทึกไว้ในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ไว้ว่า วัดส้มเป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่หลังศาลากลางจังหวัด(ปัจจุบันเป็นศูนย์การท่องเที่ยวอยุธยา) ติดกับคลองท่อ โบราณสถานอื่นๆพังทลายหมด เหลือเพียงปรางค์ขนาดย่อม รูปทรงกระทัดรัดน่าดู เป็นปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น ลวดลายประดับองค์ปรางค์งามมาก จัดว่าเป็นสองรองจากวัดภูเขาทอง อย่างไรก็ดี ลายปูนปั้นที่นี่เหลือมากกว่าแห่งอื่นทั้งหมดในอยุธยา ลายซุ้มประตู ลายทับหลัง กลีบขนุน ตลอดจนลายเฟื่องเชิงชายต่างๆ เหลือบริบูรณ์น่าอัศจรรย์ เมื่อส่องกล้องดูลายในที่สูงก็ยิ่งตื่นเต้นด้วยลายละเอียดประณีตอย่างคาดไม่ถึง หน้าบันเป็นภาพเทพพนมนั่งชันเข่าข้างซ้ายเรียงกันเป็นแถว ตรงกลางมีลายคั่น ก่อนที่ผมจะเดินทางไปชมพื้นที่วัดส้ม ได้ทำการเปิดอ่านเรื่องราวของวัดส้ม พบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ… Read More »