หนังสือนิทานชาดกฉบับการ์ตูน นิทานสำหรับเด็ก เพื่อปลูกฝังคุณธรรม
หนังสือนิทานชาดกฉบับการ์ตูน นิทานสำหรับเด็ก เพื่อปลูกฝังคุณธรรม ถ้ากล่าวถึงหนังสือ แทบทุกคนจะต้องกล่าวว่าเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนๆ ก็จะต้องมีการเรียนรู้จากสื่อที่เป็นหนังสือเป็นสื่อหลัก และสามารถเข้าถึงสื่อนี้ได้ง่ายที่สุด สำหรับเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต ประมาณ 2-6 ขวบ ถ้าได้รับการปลูกฝังในเรื่องการเรียนรู้ในสิ่งที่ควรเรียนรู้ จะทำให้เด็กคุ้นเคยและมีผลต่อสิ่งที่เรียนรู้นั้นในวัยผู้ใหญ่ ทำให้ผู้ปกครองมักจะใช้สื่อหนังสือนิทานสำหรับเด็ก มาเล่าให้เด็กได้ฟัง อาจจะเป็นหนังสือนิทานก่อนนอน ที่ผู้ปกครองจะได้เล่าเรื่องกล่อมลูกๆ จนนอนหลับไป สื่อนิทานสำหรับเด็กนั้นมีมากมาย เช่น นิทานอีสป ที่จะสอดแทรก ในเรื่องคติสอนใจไว้เสมอ และเป็นจุดสำคัญที่ผู้ปกครองจะคอยให้คติสอนใจท้ายเรื่องกับลูกๆ ในฐานะที่เราเป็นคนไทย ส่วนมากก็จะนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งมีหลักคำสอนที่ใช้ในการดำเนินชีวิตมากมาย แต่ถ้าจะสอนเรื่องธรรมะกับลูกๆ ก็คงจะลำบากไม่น้อย เนื่องจากอาจจะยังไม่ถึงวัยที่เหมาะสม และอาจจะทำให้เด็กเบื่อหน่ายได้ เพราะฉะนั้นแล้วจึงได้มีหนังสือนิทานที่สอดแทรกธรรมะและการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับเด็กๆ นั่นก็คือ นิทานชาดกฉบับการ์ตูน สำหรับเด็ก ชาดก คืออะไร? คำว่า “ชาดก” หมายถึง เรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าได้นำเรื่องของชาดกมาเล่าสั่งสอนธรรมให้แก่สาวกในสมัยพุทธกาล และเรื่องเล่าของชาดก เมื่อฟังแล้วจะเหมือนนิทาน จึงมักถูกเรียกว่า “นิทานชาดก” จึงเป็นอีก หนึ่งแนวทางเลือก ที่จะหาสื่อการสอนดีๆ สอดแทรกธรรมะข้อคิด ด้วยหนังสือนิทานชาดก ฉบับการ์ตูน สำหรับเด็ก เพื่อปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ผู้ปกครองนอกจากจะใช้ช่วงเวลว่างหลังเลิกงานหรือวันหยุดเล่านิทานให้ลูกฟัง หรือสามารถใช้เป็นหนังสือนิทานก่อนนอนได้อีกด้วย นอกจากเป็นหนังสือนิทานชาดก สำหรับเด็กแล้ว ในชุดนิทานชาดก ยังประกอบไปด้วยวีซีดีการ์ตูนนิทานชาดกมาด้วย ทำให้เป็นสื่อที่ได้ทั้งการเรียนรู้และความเพลิดเพลินไปในตัว ทำให้เด็กไม่เบื่อหน่าย สามารถที่จะดูกันได้ทั้งครอบครัวและเป็นการสร้างเสริมความอบอุ่นให้ครอบครัวได้เป็นอย่างดี และมีร้านค้าออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ ได้จัดจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ มีหนังสือนิทานชาดก สำหรับเด็กพรอ้มวีซีดี ราคาไม่แพง สามารถสั่งซื้อได้ทันทีพร้อมส่งถึงบ้าน… Read More »