Tag Archives: อยุธยา

วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา อลังการงานสถาปัตยกรรม

https://youtu.be/FMSinG3E_oI วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา อลังการงานสถาปัตยกรรม… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดไชยวัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีความโดดเด่นยิ่งใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดดเด่นทางสถาปัตยกรรม มีเรื่องราวให้ศึกษาโดยเฉพาะประติมากรรมปูนปั้นพุทธประวัติที่น้อยคนจะสนใจ เป็นวัดท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนิยมสูงวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ช่วงต้นปี พ.ศ.2561 กระแสการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความคึกคักเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะที่วัดไชยวัฒนาราม จากกระแสการตามรอยละครดัง “บุพเพสันนิวาส” ผมจึงจะพาทุกท่านมาชมภาพบรรยากาศที่วัดแห่งนี้ และเรียนรู้ประวัติศาสตร์กันสักเล็กน้อย เพราะแต่ละสถานที่นอกจากมีความสวยงาม แต่เรื่องราวก็น่าค้นหามากเช่นกัน ประวัติวัดไชยวัฒนาราม พอสังเขป วัดไชยวัฒนารามตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาการเดินทางไปวัดไชยวัฒนารามจะลงเรือจ้างออกที่ “ท่าบ้านชี” และคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวว่า ท้องน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตกนั้นคึกคักด้วยบ้านเรือนแพ วัดไชยวัฒนารามเป็นโบราณสถานที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศใยราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๕ วัดไชยวัฒนาราม เป็นพระอารามหลวงสมัยอยุธยา สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์องค์ที่ ๒๔ ครองราชย์ระหว่างปีพ.ศ.๒๑๗๓ – ๒๑๙๘ ทรงสถาปนาเป็นวัดอรัญวาสี ณ บริเวณที่ดินซึ่งเป็นนิวาสสถานของพระราชชนนี ในปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เพื่ออุทิศถวายพระราชชนนีและเฉลิมฉลองพระเกียรติพระองค์ที่มีชัยต่อการรบกับเขมร ภาพบรรยากาศความคึกคักที่วัดไชยวัฒนาราม เดือนเมษายน พ.ศ.2561 กับความคึกคักจากกระแสละครบุพเพสันนิวาส ภาพบรรยากาศวัดไชยวัฒนาราม ยามค่ำคืน เมษายน พ.ศ.2561… กรมศิลปากรได้ขยายการเข้าชมโบราณสถานที่วัดไชวัฒนาราม จนถึง 22:00 น. ปฏิมากรรมปูนปั้นพุทธประวัติ ณ วัดไชยวัฒนาราม ปฏิมากรรมที่โดดเด่นของวัดไชยวัฒนารามคือ ปูนปั้นเรื่องราวในพุทธประวัติ… Read More »

วัดพระราม สมัยอยุธยาตอนต้น พระปรางค์มหาธาตุเป็นหลักเป็นศรีแห่งพระนคร

https://youtu.be/lQsONSjJgIA วัดพระราม สมัยอยุธยาตอนต้น พระปรางค์มหาธาตุเป็นหลักเป็นศรีแห่งพระนคร… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น มีความสวยงามและยิ่งใหญ่ของปรางค์ประธานที่สูงเด่น และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณในองค์ปรางค์ให้ได้เรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีบันทึกไว้ว่า มหาธาตุเจดีย์ (ปรางค์ประธาน)แห่งนี้ เป็นหลักเป็นศรีแห่งพระนครอีกด้วย จากบันทึกคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง ได้บันทึกในเรื่อง “ว่าด้วยสิ่งที่เป็นหลักเป็นประธานเป็นศรีพระนคร“ ความว่า มหาธาตุที่เปนหลักกรุงศรีอยุธยา ๕ องค์ คือ พระมหาธาตุ วัดพระราม ๑ (วัดพระราม) พระมหาธาตุ วัดมหาธาตุ ๑ (วัดมหาธาตุ) พระมหาธาตุ วัดราชบูรณ ๑ (วัดราชบูรณะ) พระมหาธาตุ วัดสมรโกฏ ๑ (วัดสมณโกฏฐาราม) พระมหาธาตุ วัดพุทไธสวริย ๑ (วัดพุทไธศวรรย์) คำว่า มหาธาตุเจดีย์ คือเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นที่เคารพศรัทธาสูงสุด มุมทั้งสี่ของปรางค์ประธานจะมีเจดีย์ทรงปราสาทยอด ซึ่งยังมีศิลปะปูนปั้นหลงเหลืออยู่บ้าง ประวัติวัดพระราม พอสังเขป วัดพระรามสถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระราเมศวร ราวปีพ.ศ.1912 บนสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอู่ทองพระราชบิดา วัดพระรามได้รับการบูรณะและสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมอีกหลายครั้งเพราะเป็นวัดที่อยู่ใกล้พระราชวัง โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ราวปี พ.ศ.2248 ได้มีการซ่อมแซมวัดวาอารามครั้งใหญ่ทั่วกรุงศรีอยุธยา และวัดพระรามได้รับการซ่อมแซมด้วย ภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระราม อยู่ภานในผนังคูหาทางเดินเข้าสู่กรุ ตลอดไปจนถึงฝาผนังกรุภายในเรือนธาตุของปรางค์ประธานทั้ง 4 ด้าน ภายในเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิบนฐานดอกบัวเรียงกันเป็นแถวในแนวนอน และซ้อนกันขึ้นไปในแนวตั้งหลายชั้น… Read More »

มหาธาตุเจดีย์ทั้ง 5 แห่ง ที่เป็นหลักเป็นศรีแห่งพระนครในสมัยอยุธยา

https://youtu.be/1aOEFij_hpY มหาธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 5 แห่ง ที่เป็นหลักเป็นศรีแห่งพระนคร สมัยอยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยความยิ่งใหญ่ของมหาธาตุเจดีย์สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ตามบันทึกคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง ที่ได้บันทึกมหาธาตุเจดีย์ที่เป็นหลักเป็นศรีแห่งกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสิ้น 5 องค์ หลายท่านมาอยุธยาเพราะจะไหว้พระ 9 วัด… แอดมินขอเปลี่ยนแนวจะพาทุกท่านไปนมัสการสักการะพระมหาธาตุเจดีย์ 5 แห่งที่เป็นหลักเป็นศรีแห่งพระนครในสมัยอยุธยา. จึงเป็นอีกโอกาสอันดีที่เราจะได้เดินทางไปนมัสการพระมหาธาตุที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนในอดีตเพื่อเป็นสิริมงคล และให้ได้จินตนาการถึงความรุ่งเรืองนี้ คำว่า มหาธาตุเจดีย์ เป็นนิยามของเจดีย์ประธานที่ใช้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง ผมขอยกบันทึกในเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม มากล่าวไว้ดังนี้ ว่าด้วยสิ่งซึ่งเป็นหลักเป็นประธานเป็นศรีพระนคร พระมหาธาตุที่เปนหลักกรุงศรีอยุธยา ๕ องค์ คือ พระมหาธาตุวัดพระราม ๑ พระมหาธาตุวัดมหาธาตุ ๑ พระมหาธาตุวัดราชบูรณ ๑ พระมหาธาตุสมรโกฏ ๑ พระมหาธาตุวัดพุทไธสวริย ๑ จากบันทึกนี้ ทำให้ผมเกิดความสนใจที่จะเดินทางตามรอยพระมหาธาตุเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 5 แห่ง ว่าปัจจุบันนี้สภาพแปรเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง และถือเป็นโอกาสได้นมัสการพระมหาธาตุแห่งกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย 1. พระมหาธาตุวัดพระราม วัดพระรามตามบันทึกทั่วไปกล่าวว่า วัดพระรามสร้างขึ้นโดยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อปีพ.ศ. 1912 ณ บริเวณถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอู่ทอง เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายแด่พระราชบิดา วัดพระรามตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระราชวังหลวง 2. พระมหาธาตุวัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุเป็นวัดเก่าแก่ และมีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เมื่อปี พ.ศ.… Read More »

วิหารหลวงพ่อคอหัก(หลวงพ่อสุริยมุนี) วัดโคกกระบือ(ร้าง) สถานีรถไฟอยุธยา

https://youtu.be/FU-1-oeChYw วิหารหลวงพ่อคอหัก(หลวงพ่อสุริยมุนี) วัดโคกกระบือ(ร้าง) สถานีรถไฟอยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและรักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาทุกท่าน วันนี้แอดมินตั้มจะพาทุกท่านเดินทางไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เราจะไปเที่ยวชมวัดร้างเดิม ที่มีชื่อว่าวัดโคกกระบือ คนในพื้นที่ไม่คุ้นชื่อนี้นัก แต่จะไปคุ้นเคยในชื่อวิหารหลวงพ่อคอหัก ด้วยชื่อที่แปลก ทำให้ผมเกิดความสนใจที่จะเดินทางไปชมสถานที่ และหาที่มาของชื่อนี้ วิหารหลวงพ่อคอหักถูกสร้างภายหลังบนพื้นที่วัดร้างที่ชื่อวัดโคกกระบือ ติดสถานีรถไฟ อยุธยา ซึ่งทราบชื่อนี้ได้จากแผนที่โบราณจากกรมศิลปากร จากตำแหน่งวัดโคกกระบือ จะอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟอยุธยา ซึ่งการเดินทางสะดวกมากครับ หลังจากเดินทางมาถึงสถานีรถไฟและหาที่จอดรถได้เป็นที่เรียบร้อย เราต้องเดินเข้าไปยังสถานีรถไฟและข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อข้ามทางรถไฟมาอีกฝั่ง จะมีสะพานเล็กๆเชื่อมกับหมู่บ้าน และมีป้ายบอกวิหารหลวงพ่อสุริยมุนี หลวงพ่อคอหัก อย่างชัดเจน เมื่อข้ามฝั่งมาจะเห็นที่ทำการชุมชน และวิหารจะอยู่ถัดเข้าไปเล็กน้อย หลวงพ่อสุริยมุนี (หลวงพ่อคอหัก) เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สันนิษฐานอายุในสมัยทวารวดีสลักจากศิลาเนื้อละเอียดสีเขียวเข้มเจือดำ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 ซม. สูง 89 ซม.  เดิมพระพักตร์กระเทาะหลุดหายไปและได้รับการบูรณะราวปี พ.ศ.2507 เรื่องราวตำนานหลวงพ่อสุริยมุนี (หลวงพ่อคอหัก) จากหนังสือประวัติพระสุริยมุนี ศรียะลา ได้กล่าวถึงประวัติหลวงพ่อคอหักไว้ว่า คุณพวง อุณจักร ได้เล่าไว้เมื่อปี พ.ศ.2475 ได้ย้ายมาจากอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งนายสถานีรถไฟอยุธยาในสมัยนั้น และได้เห็นโคกแห่งหนึ่งเป็นที่เลี้ยงกระบือของชาวบ้าน (สันนิษฐานน่าจะเป็นที่มาของชื่อวัดโคกกระบือ) ที่โคกแห่งนี้มีซากพระพุทธรูปถูกทิ้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จึงได้เก็บรวบรวมมาไว้เป็นที่เป็นทาง รวมถึงการแผ้วถางทำความสะอาดพื้นที่ และนำพระพุทธรูปมาประกอบร่วมกับชาวบ้าน และขนานนามว่า “หลวงพ่อคอหัก” และมีพิธีพุทธาภิเษกโดยหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2507 ครั้งนั้น คุณพวงได้ชักชวนเสมียนและพนักงานสถานีรวมเงินกันเพื่อซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล… Read More »

วัดสามกอ อยุธยา ตามรอยวัดเสด็จพระราชดำเนิน ในหลวงรัชกาลที่ ๙

https://youtu.be/ICMzw6fer4Y วัดสามกอ อยุธยา ตามรอยวัดเสด็จพระราชดำเนิน ในหลวงรัชกาลที่ ๙ สักการะหลวงพ่อโต วัดสามกอ … สวัสดีท่านผู้ติดตามครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยวัดเสด็จพระราชดำเนินของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่วัดสามกอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา … ผมต้องขอบอกก่อนว่า การเดินทางครั้งนี้ เป็นไปด้วยความบังเอิญ เพราะผมไม่ทราบมาก่อนว่า ที่วัดสามกอแห่งนี้ ในหลวง ร.๙ พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินมาแล้ว … เมื่อผมเดินทางมาถึงวัดสามกอ และเดินเข้าไปสักการะหลวงพ่อโตในพระวิหาร ซึ่งกำลังทำการบูรณะ ก็ได้พบการบันทึกเรื่องราวภายในพระวิหารไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2506 เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและสักการะหลวงพ่อโต จึงถือได้ว่า นอกจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป (หลวงพ่อโต) ก็ยังถือว่าเป็นการจารึกประวัติศาสตร์ว่าครั้งหนึ่ง ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระองค์ได้เสด็จมา นำความปลาบปลื้มแก่พสกนิกร ดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจ แด่ชาว อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นล้นพ้น… จุดแรกที่ผมเดินทางไปชมคือริมแม่น้ำน้อย เพื่อดูบรรยากาศบ้านเรือนริมน้ำ และวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ ดูแล้วก็สงบดีจริงๆครับ ณ บริเวณริมแม่น้ำน้อย ก็ยังมีวิหารพระโพธิสัตว์กวนอิม และรูปปั้นพระถังซัมจั๋ง ถ้าสังเกตุให้ดี ที่หน้าบันพระอุโบสถ จะมีสัญลักษณ์พระปรมาพิไธย ภ.ป.ร. ใกล้เคียงกับพระอุโบสถ จะเป็นวิหารหลวงพ่อโต ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ ขนานนามกันว่า “หลวงพ่อโต” และมีพระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙… Read More »

เที่ยวสำรวจวัดช่องลม วัดร้างแถบคลองมหานาค ที่อยุธยา

https://youtu.be/fHVZvRlGEWs สวัสดีครับจากบทความเดิม ภารกิจเที่ยววัดร้าง Episode 1 เราจะพาไปชมวัดร้างกันต่อที่วัดช่องลม แถบคลองมหานาค … ที่วัดแห่งนี้ทีมนักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาเดินทางค้นหาสักระยะหนึ่ง โดยใช้วิธีการสอบถามชาวบ้านแถบนี้ ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดี วัดช่องลม เป็นวัดร้างแถบคลองมหานาคที่ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เคยเข้ามาทำการสำรวจพื้นที่แล้ว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 โดยมีบันทึกในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นอมตะ พิมพ์มาหลายครั้งเนื่องจากได้รับการเรียกร้องจากผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวโบราณสถาน รวมถึงนักศึกษารุ่นหลังๆ ด้วย หนังสือเล่มนี้ เป็นการพิมพ์ครั้งล่าสุดของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ ซึ่งผมก็ได้หาซื้อมาไว้เป็นจ้าของเช่นกัน ตามบันทึกในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ได้เขียนบันทึกไว้ว่า “เรือแล่นได้ มุ่งตรงไปยังตำบลภูเขาทอง แวะลอกลายที่หน้าบันวัดช่องลม เข้าไปเขียนในเล้าเป็ด และไปทำแผนผังฐานชุกชีอุโบสถเก่าซึ่งอยู่ในป่ารก ลวดลายปูนปั้นที่นี่สวยงามแปลกตา การวางลายเป็นแบบอิสระ ไม่เคยเห็นที่ไหน” ทีมนักท่องเที่ยวกลุ่มของเราเดินทางมายังวัดช่องลม ในเวลาราวๆเที่ยงวัน แม้จะมีแสงแดดอยู่บ้างแต่ก็สนุกสนานในการเดินทาง เส้นทางจะเข้ามายังในซอย และก็ได้สอบถามชาวบ้านที่บ้านหลังในรูปด้านบน ซึ่งก็ได้คำตอบว่าเดินเข้าไปด้านในซอยนี้ เมื่อเดินเข้าไปถึง ก็พบกับส่วนผนังหรือกำแพงด้านเดียว ที่มีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รอวันที่จะพังทลายลงไป มีช่องโหว่ขนาดใหญ่ 2 ช่อง และช่องหนึ่งรอยแตกราวไปจนถึงสุดด้านบน… ซุ่งรอยแตกร้าวนี้ดูแล้วน่าจะมีโอกาสทลายลงมาในอนาคต สภาพอีกด้านหนึ่ง จะเห็นศิลปะปูนปั้นที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ได้หลุดร่นไปตามกาลเวลา หายไปมากกว่าครั้งที่ อาจารย น. ณ ปากน้ำ เคยเข้ามาสำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2509 …… Read More »