Tag Archives: วัดร้าง

วิหารหลวงพ่อคอหัก(หลวงพ่อสุริยมุนี) วัดโคกกระบือ(ร้าง) สถานีรถไฟอยุธยา

https://youtu.be/FU-1-oeChYw วิหารหลวงพ่อคอหัก(หลวงพ่อสุริยมุนี) วัดโคกกระบือ(ร้าง) สถานีรถไฟอยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและรักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาทุกท่าน วันนี้แอดมินตั้มจะพาทุกท่านเดินทางไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เราจะไปเที่ยวชมวัดร้างเดิม ที่มีชื่อว่าวัดโคกกระบือ คนในพื้นที่ไม่คุ้นชื่อนี้นัก แต่จะไปคุ้นเคยในชื่อวิหารหลวงพ่อคอหัก ด้วยชื่อที่แปลก ทำให้ผมเกิดความสนใจที่จะเดินทางไปชมสถานที่ และหาที่มาของชื่อนี้ วิหารหลวงพ่อคอหักถูกสร้างภายหลังบนพื้นที่วัดร้างที่ชื่อวัดโคกกระบือ ติดสถานีรถไฟ อยุธยา ซึ่งทราบชื่อนี้ได้จากแผนที่โบราณจากกรมศิลปากร จากตำแหน่งวัดโคกกระบือ จะอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟอยุธยา ซึ่งการเดินทางสะดวกมากครับ หลังจากเดินทางมาถึงสถานีรถไฟและหาที่จอดรถได้เป็นที่เรียบร้อย เราต้องเดินเข้าไปยังสถานีรถไฟและข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อข้ามทางรถไฟมาอีกฝั่ง จะมีสะพานเล็กๆเชื่อมกับหมู่บ้าน และมีป้ายบอกวิหารหลวงพ่อสุริยมุนี หลวงพ่อคอหัก อย่างชัดเจน เมื่อข้ามฝั่งมาจะเห็นที่ทำการชุมชน และวิหารจะอยู่ถัดเข้าไปเล็กน้อย หลวงพ่อสุริยมุนี (หลวงพ่อคอหัก) เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สันนิษฐานอายุในสมัยทวารวดีสลักจากศิลาเนื้อละเอียดสีเขียวเข้มเจือดำ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 ซม. สูง 89 ซม.  เดิมพระพักตร์กระเทาะหลุดหายไปและได้รับการบูรณะราวปี พ.ศ.2507 เรื่องราวตำนานหลวงพ่อสุริยมุนี (หลวงพ่อคอหัก) จากหนังสือประวัติพระสุริยมุนี ศรียะลา ได้กล่าวถึงประวัติหลวงพ่อคอหักไว้ว่า คุณพวง อุณจักร ได้เล่าไว้เมื่อปี พ.ศ.2475 ได้ย้ายมาจากอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งนายสถานีรถไฟอยุธยาในสมัยนั้น และได้เห็นโคกแห่งหนึ่งเป็นที่เลี้ยงกระบือของชาวบ้าน (สันนิษฐานน่าจะเป็นที่มาของชื่อวัดโคกกระบือ) ที่โคกแห่งนี้มีซากพระพุทธรูปถูกทิ้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จึงได้เก็บรวบรวมมาไว้เป็นที่เป็นทาง รวมถึงการแผ้วถางทำความสะอาดพื้นที่ และนำพระพุทธรูปมาประกอบร่วมกับชาวบ้าน และขนานนามว่า “หลวงพ่อคอหัก” และมีพิธีพุทธาภิเษกโดยหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2507 ครั้งนั้น คุณพวงได้ชักชวนเสมียนและพนักงานสถานีรวมเงินกันเพื่อซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล… Read More »

ภารกิจเที่ยววัดร้างในเมืองกรุง ภาค 1 – วัดน้อยทองอยู่ วัดภุมรินทร์ราชปักษี วัดสวนสวรรค์

https://youtu.be/4L_n9PUnLrk ภารกิจเที่ยววัดร้างในเมืองกรุง ภาค 1 – วัดน้อยทองอยู่ วัดภุมรินทร์ราชปักษี วัดสวนสวรรค์… ท่องเที่ยววัดร้างในบางกอก… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาทุกท่าน บทความนี้เป็นบทความพิเศษที่ผมจะพาทุกท่านเดินทางเข้าสู่เมืองหลวงตามหาวัดร้างที่แอบซ่อนอยู่ โดยผมได้ใช้หนังสือวัดร้างในบางกอก โดย ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ประกอบการเดินทาง รายละเอียดในหนังสือเล่มนี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับวัดร้างที่น่าสนใจมากมาย ที่น้อยคนนักจะทราบถึงเรื่องราวนี้ ทำให้เกิดกระแสความสนใจขึ้นในกลุ่มนักเดินทางที่ชอบเรื่องราวการตามรอยประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยจำนวนวัดร้างมีมาก แต่ผมมีเวลาเดินทางเพียงแค่ 1 วัน จึงไปได้แค่บางส่วนเท่านั้น จึงให้บทความนี้เป็นภาคที่ 1 และถ้ามีโอกาสเดินทางเพิ่มเติมจะเป็นบทความภาคต่อๆไปครับ ทั้งนี้บทความการเดินทางครั้งนี้ ไม่ใช่บทความทางวิชาการ เพียงแต่จะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวให้รู้ถึงเรื่องราวที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้มาก่อน… ผมวางแผนเดินทางเข้าเมืองกรุงในช่วงปลายเดือนมกราคม พ.ศ.2561 มีเพื่อนเดินทางด้วยกันรวม 3 คน โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ… และแน่นนอน ผมไม่คุ้นเคยเส้นทางในเมืองหลวง จึงต้องอาศัยซ้อนท้ายผู้ชำนาญทางไปตลอดทริปนี้ ซึ่งถือว่าโชคดีมากที่ทีมเดินทางมีความชำนาญเส้นทางในกรุงเทพฯเป็นอย่างดี เพราะมีประสบการณ์การเดินทางตามรอยเส้นทางด้านประวัติศาสตร์มามากพอสมควร สามารถสั่งซื้อหนังสือที่ ซีเอ็ดบุ๊คออนไลน์ ที่ลิ้งก์นี้ >> วัดร้างในบางกอก จุดนัดพบที่สะดวกสำหรับผมก็คือสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งเรานัดกันที่สถานีลาดพร้าวเวลาเที่ยงตรง… เป็นเวลาทีสายเกินไปหน่อยเพราะทีมเดินทางติดภารกิจในช่วงเช้า แต่ทุกอย่างก็เป็นไปตามนัด เมื่อถึงเวลาเที่ยง จึงได้ออกแว๊นตามที่วางแผนการเดินทางไว้ โดยมีแผนวัดร้าง 3 วัด และวัดทั่วไปอีก 3 วัด โดยเรียงลำดับการเดินทางดังนี้ วัดสระเกศ (ภูเขาทอง), วัดน้อยทองอยู่(ร้าง), วัดภุมรินทร์ราชปักษี(ร้าง), วัดสวนสวรรค์(ร้าง), วัดช่องนนทรี, วัดมหาบุศย์(แม่นาคพระโขนง) และวางแผนจะไปที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กองทัพต้องเดินด้วยท้อง จุดแรกต้องเติมพลัง… Read More »

วัดสนามชัย เจดีย์สุพรรณภูมิขนาดใหญ่ ภายในบรรจุกระดูกคนตายจำนวนมาก

https://youtu.be/G_mIeGmrU8o สวัสดีครับท่านผู้ติดตาม ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยววัดร้างในเมืองสุพรรณบุรี ที่เขาเล่าว่าในเจดีย์มีการบรรจุกระดูกคนตายจำนวนมาก นั่นคือ วัดสนามชัย (ร้าง) สุพรรณบุรี ในจังหวัดสุพรรณบุรี ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ โดยเฉพาะท่านที่มีความสนใจในเรื่องวัดเก่าโบราณ เพราะเมืองแห่งนี้มีโบราณสถานมากมายพอสมควร ซึ่งในอดีตเรียกว่า สุพรรณภูมิ คำว่าสุพรรณภูมิคือชื่อเมืองโบราณก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาแห่งหนึ่งในลุ่มน้ำสุพรรณบุรี และยังมีพระนามของราชวงศ์สุพรรณภูมิที่ได้ปกครองกรุงศรีอยุธยาถึง 13 พระองค์ โดยมีระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี ความโดดเด่นที่วัดสนามชัยคือเจดีย์สุพรรณภูมิองค์ขนาดใหญ่ แต่ส่วนยอดได้หักพังไปหมดแล้ว การสำรวจระหว่างการบูรณะองค์เจดีย์พบว่าภายในมีการบรรจุกระดูกคนตายจำนวนมาก ทำให้สันนิษฐานกันว่าเป็นเจดีย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างไทย – พม่า จากการสันนิษฐานของกรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเจดีย์ประธานสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 20 เมื่อได้เดินเข้ามายังภายในองค์เจดีย์ประธาน ก็มีความรู้สึกหลอนๆนิดนึงครับ เพราะไปรู้เรื่องราวว่าภายในนี้เคยเก็บกระดูกคนตายจำนวนมาก กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดสนามชัย (ร้าง) เป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และประกาศระวางแนวเขตในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524 เนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ 50.25 ตารางวา และ ประกาศเพิ่มเติมในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนที่ 140 วันที่ 29 สิงหาคม 2532 เนื้อที่ประมาณ… Read More »

เที่ยวสำรวจวัดช่องลม วัดร้างแถบคลองมหานาค ที่อยุธยา

https://youtu.be/fHVZvRlGEWs สวัสดีครับจากบทความเดิม ภารกิจเที่ยววัดร้าง Episode 1 เราจะพาไปชมวัดร้างกันต่อที่วัดช่องลม แถบคลองมหานาค … ที่วัดแห่งนี้ทีมนักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาเดินทางค้นหาสักระยะหนึ่ง โดยใช้วิธีการสอบถามชาวบ้านแถบนี้ ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดี วัดช่องลม เป็นวัดร้างแถบคลองมหานาคที่ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เคยเข้ามาทำการสำรวจพื้นที่แล้ว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 โดยมีบันทึกในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นอมตะ พิมพ์มาหลายครั้งเนื่องจากได้รับการเรียกร้องจากผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวโบราณสถาน รวมถึงนักศึกษารุ่นหลังๆ ด้วย หนังสือเล่มนี้ เป็นการพิมพ์ครั้งล่าสุดของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ ซึ่งผมก็ได้หาซื้อมาไว้เป็นจ้าของเช่นกัน ตามบันทึกในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ได้เขียนบันทึกไว้ว่า “เรือแล่นได้ มุ่งตรงไปยังตำบลภูเขาทอง แวะลอกลายที่หน้าบันวัดช่องลม เข้าไปเขียนในเล้าเป็ด และไปทำแผนผังฐานชุกชีอุโบสถเก่าซึ่งอยู่ในป่ารก ลวดลายปูนปั้นที่นี่สวยงามแปลกตา การวางลายเป็นแบบอิสระ ไม่เคยเห็นที่ไหน” ทีมนักท่องเที่ยวกลุ่มของเราเดินทางมายังวัดช่องลม ในเวลาราวๆเที่ยงวัน แม้จะมีแสงแดดอยู่บ้างแต่ก็สนุกสนานในการเดินทาง เส้นทางจะเข้ามายังในซอย และก็ได้สอบถามชาวบ้านที่บ้านหลังในรูปด้านบน ซึ่งก็ได้คำตอบว่าเดินเข้าไปด้านในซอยนี้ เมื่อเดินเข้าไปถึง ก็พบกับส่วนผนังหรือกำแพงด้านเดียว ที่มีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รอวันที่จะพังทลายลงไป มีช่องโหว่ขนาดใหญ่ 2 ช่อง และช่องหนึ่งรอยแตกราวไปจนถึงสุดด้านบน… ซุ่งรอยแตกร้าวนี้ดูแล้วน่าจะมีโอกาสทลายลงมาในอนาคต สภาพอีกด้านหนึ่ง จะเห็นศิลปะปูนปั้นที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ได้หลุดร่นไปตามกาลเวลา หายไปมากกว่าครั้งที่ อาจารย น. ณ ปากน้ำ เคยเข้ามาสำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2509 …… Read More »

ชมโบราณสถาน วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างที่อยุธยา

https://youtu.be/mgsFu1NpzrE สวัสดีครับ มาต่อกันกับเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยว สำรวจวัดร้าง Episode 1 ที่ผมยังค้างไว้ สำหรับครั้งนี้เราจะเดินทางไปชมพื้นที่วัดสี่เหลี่ยม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของอยุธยาในทุ่งลุมพลี วัดสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ติดถนน เห็นได้ชัดเจน กรมศิลปากรได้ติดป้ายชื่อวัดและแนะนำสถานที่คร่าวๆไว้ให้นักท่องเที่ยวได้อ่านกัน ในส่วนของพื้นที่จะเหลือเพียงพระอุโบสถ มีผนังอยู่ทั้งสี่ด้าน และมีร่องรอยการบูรณะโดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนหลังคาได้พังทลายมาหมดสิ้นแล้วทั้งหมด กลุ่มเราได้ใช้แผนที่ ที่ได้รับการอัพเดทใหม่ล่าสุด ปี พ.ศ. 2558 มาใช้ในการเดินทาง…ต้องยกเครดิตให้กลุ่มนักเดินทางที่พาผมไปในครั้งนี้ครับ ลักษณะพระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายราวๆ พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตกโดยมีผนังรับชั้นหลังคา จึงไม่ปรากฏเสาภายในอาคาร …แต่จะมีเสาพาไลด้านนอกอาคารรองรับชายคาที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร กลุ่มของเราเดินชมพื้นที่ ไม่นานเท่าไรนัก และก็แวะพักคุยกับชาวบ้านใกล้เคียง เฮฮา สนุกดีครับ … แม้ว่าเราจะไม่ทราบเรื่องราวความสำคัญของวัดแห่งนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่การท่องเที่ยวครั้งนี้ก็ทำให้ได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่แปลกตา และไม่เคยเห็นมาก่อน … ได้เพื่อนเพิ่มขึ้น ได้ศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์มากขึ้น และที่สำคัญได้ฝึกการเรียนรู้ ให้มีใจอนุรักษ์สมบัติของชาติได้มากขึ้นด้วย… แล้วพบกันใหม่ในบรรยากาศการท่องเที่ยว สบายๆ ตามสไตล์ ชิลๆ … สวัสดีครับ…   ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory ร่วมแชร์ประสบการณ์การท่องเที่ยววัดด้วยกัน ได้ที่ กลุ่มรวมพลคนชอบเที่ยววัด

เที่ยวสำรวจวัดร้างสมัยอยุธยา วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค

https://youtu.be/oWjTw8j7kPY จากบทความเดิม ภารกินเที่ยววัด สำรวจวัดร้างอยุธยา Episode 1 เราก็มาต่อกันที่วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค … สำหรับการเดินทางมาที่วัดแห่งนี้ เราได้ตามรอยมาจากหนังสือ “อยุธยา ที่ไม่คุ้นเคย” โดย ปวัตร์ นวะมะรัตน ที่ได้ตีพิมพ์ไว้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เป็นหนังสือที่ทำให้กระแสการอนุรักษ์เกิดขึ้นได้มากเลยทีเดียว ถือว่าเป็นหนังสือที่น่าซื้อหามาไว้อ่านเป็นความรู้ที่ดีมากเล่มหนึ่ง ซึ่งยังสามารถหาซื้อเป็นเจ้าของได้ตามร้านหนังสือทั่วไป กลุ่มของเราได้เดินทางมาถึงราวๆเที่ยงวัน ด้วยบรรยากาศที่ไม่ร้อนมากนัก ขับรถลัดเลาะมาทางวัดภูเขาทองและได้สอบถามคนในพื้นที่จนมาพบกับวัดป่าพลูตาม แผนที่ เมื่อเดินทางมาถึง จะเห็นเพียงโคกดินสูงและเศษก้อนอิฐโบราณที่กระจายทั่วไป อีกทั้งได้พบกระเบื้องเชิงชายที่แตกหักจำนวนหนึ่ง รวมถึงเศษซากพระพุทธรูป และลูกนิมิตโบราณอีก 2 ลูก ที่ชาวบ้านได้ทำการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธรูปที่ยังพอหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เราเดินทางเข้ามายังพื้นที่วัดป่าพลู ก็ได้พบกับยาย ที่เป็นชาวบ้านแถบนี้ และก็นั่งคุยเรื่องราวกันอย่างเป็นกันเอง ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีเลยครับ ผมได้เดินดูพื้นที่รอบๆ ก็จะเห็นเพียงเศษอิฐบางส่วน และศาลาพระพุทธรูปที่ชาวบ้านได้สร้างไว้ วัตถุโบราณที่มีให้เห็นคือเศษซากพระพุทธรูป แต่ส่วนเศียรนั้นได้หายไปแล้วครับ ลูกนิมิตโบราณ จะมีอยู่ 2 ลูกในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะที่ไม่กลมเหมือนกับปัจจุบันนี้ เราได้พบเศษกระเบื้องเชิงชายจำนวนหนึ่ง จึงได้เก็บรวบรวมไว้ และทำการโทรปรึกษาอาจารย์กรมศิลปากร และได้ส่งมอบทั้งหมดนี้ให้กับ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ประวัติวัดป่าพลู จากหนังสือ อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย โดยปวัตร์ นวะมะรัตน ได้เขียนไว้ว่า วัดป่าพลูแห่งนี้ไม่พบหลักฐานการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพราะมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ พ.ศ. 2091 มีความพอสังเขปว่า เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ ยกทัพเข้าล้อมพระนครในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091 –… Read More »