วัดบรมพุทธาราม วัดสิงหาราม ย่านตลาดบ้านดินสอ ริมคลองฉะไกรน้อยในราชภัฏอยุธยา
https://youtu.be/8V_xM7k8X0s วัดบรมพุทธาราม วัดสิงหาราม ย่านตลาดบ้านดินสอ ริมคลองฉะไกรน้อยในราชภัฏพระนครศรีอยุธยา… ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส ณ ตลาดบ้านดินสอ… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยวัดวาอาราม วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางเข้าไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อเที่ยวชมวัดโบราณซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง คือ วัดบรมพุทธารามและวัดสิงหาราม ตั้งอยู่ริมคลองฉะไกรน้อยซึ่งเป็นคลองโบราณใช้สัญจรในสมัยอยุธยา ปัจจุบันลำคลองถูกตัดขาดเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ยังคงให้ได้เห็นสภาพลำคลองภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ภายในบริเวณริมคลองฉะไกรน้อยนี้ ได้ปรากฏชื่อในละครบุพเพสันนิวาส ที่กำลังโด่งดังช่วงต้นปี พ.ศ.2561 อีกด้วย โดยระบุว่าเป็นตำแหน่งของตลาดบ้านดินสอ เป็นย่านที่ขายสมุดและดินสอในสมัยอยุธยา โดยมีโบราณสถานยืนยันอีกจุดคือ สะพานบ้านดินสอที่ข้ามผ่านคลองฉะไกรน้อย ที่ได้รับการบูรณะแล้วให้ได้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ วัดแรก วัดบรมพุทธราราม การเดินทาง สะดวกมากครับ จะขับรถเข้ามาในมหาวิทยาลัยเลยก็ได้ มีที่จอดมากมายเมื่อ เข้ามายังพื้นที่วัดบรมพุทธารามสภาพปัจจุบันมีต้นไม้ใหญ่ให้ได้ร่มเงาอยู่ครับ ทำให้ลบร้อนกันได้ จึงมีนักศึกษามานั่งอ่านหนังสือและทำกิจกรรมกันพอสมควรในบริเวณนี้ เจดีย์ทรงปรางค์หน้าพระอุโบสถจะมีอยู่ 2 องค์คู่กัน อีกองค์หนึ่งชำรุดทรุดโทรมเหลือเพียงส่วนฐาน พระวิหาร วัดบรมพุทธารามจะตั้งอยู่ข้างพระเจดีย์หน้าอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่พระเพทราชา (ช่วงเวลาครองราชย์ พ.ศ. 2231 – 2245)โปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ณ บ้านป่าตองสถานที่พระองค์เคยตั้งบ้าเรือนเมื่อครั้งรับราชการอยู่ในกรมช้าง วัดนี้พระเพทราชาโปรดเกล้าให้ช่างทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองมุงหลังคาอาคารภายในวัด จึงมีชื่อสามัยที่เรียกกันอีกชื่อว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” กล่าวกันว่าสมเด็จพระเพทราชาทรงได้รับแรงบันดาลใจจากกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคาพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรี จึงได้รับสั่งทำกระเบื้องเคลือบสีเดียวกันใช้มุงหลังคาวัดแห่งนี้ วัดที่สอง วัดสิงหาราม เมื่อเดินข้ามคลองฉะไกรน้อยไปอีกฟากหนึ่ง เราจะเห็นโบราณสถานอีกแห่ง นั่นก็คือวัดสิงหาราม ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานการสร้างมาก่อนวัดบรมพุทธาราม อย่างน้อยในช่วงอยุธยาตอนกลาง เจดีย์ทรงระฆังมีปรากฏในศิลปะอยุธยาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 20 ที่วัดมเหยงคณ์และได้รับความนิยมสืบต่อมาถึงสมัยอยุธยาตอนกลางที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ส่วนวิหารส่วนหน้าต่างทำช่องแสงเป็นช่องลูกกรงเลียนแบบลูกกรงลูกมะหวดในศิลปะเขมร ซึ่งปรากฏมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นที่วิหารหลวงวัดมหาธาตุ … Read More »