พระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทหินโบราณแบบขอมบรรจุพระอังคารธาตุ
https://youtu.be/1cB1x9ZVoXs สวัสดีครับ ภารกิจเที่ยววัดครั้งนี้ผมจะพาท่านเดินทางไปชมความสวยงามของพระธาตุนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีความเก่าแก่ และมีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก ลวดลายทับหลังยังมีให้เห็นชัดเจน เรื่องราวตำนานมีความน่าสนใจเพราะตามตำนานเชื่อว่าเป็นปราสาทหินที่บรรจุพระอังคารธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย จึงถือได้ว่าพระธาตุแห่งนี้มีความสำคัญต่อจังหวัดสกลนครมากที่สุดแห่งหนึ่ง การเดินทางครั้งนี้ ผมได้ใช้โอกาสในช่วงที่มีธุระสำคัญที่จังหวัดสกลนคร จึงได้ลองค้นหาข้อมูลในจังหวัดจึงพบว่า พระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นสถานที่แนะนำสำหรับการท่องเที่ยวทำบุญในครั้งนี้ ประกอบกับการเดินทางแสนสะดวกเพราะพระะาตุแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง สกลนคร ใกล้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครห่างกันราวๆ 300 เมตรเท่านั้น … ด้วยเหตุนี้ผมจึงมีเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นตำแหน่งที่จะเดินทางไปถึง พระธาตุนาราย์เจงเวง จะตั้งอยู่ภายในวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเพียง 300 เมตร เมื่อเข้ามาภายในบริเวณวัดจะเห็นพระธาตุปราสาทหินอยู่ด้านหน้าเลยครับ มีความโดดเด่นสมบูรณ์ค่อนข้างมาก วันที่ผมเดินทางมาถึง มีคณะผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันสวดมนต์บูชาที่พระธาตุปราสาทด้วยครับ พระธาตุปราสาท ยังมีลวดลายให้เห็นอยู่หลายๆจุด โดยเฉพาะทับหลังที่มีความสมบูรณ์อย่างมาก พระอุโบสถที่วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมองเห็นลวดลายสวยงามอย่างมาก ผมได้เดินดูบรรยากาศภายในวัด ได้เห็นผู้คนเดินทางเข้ามาเป็นระยะๆ เพื่อมาทำบุญและถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึกอย่างต่อเนื่อง และตัวผมเองก็ได้ใช้เวลาในวัดราวๆ 1 ชั่วโมงเพื่อซึมซับบรรยากาศให้ได้มากที่สุด เพราะการเดินทางไกลแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยนัก ลูกนิมิตที่ทางวัด ได้เตรียมไว้ฝังในเขตพระอุโบสถหลังการก่อนสร้างแล้วเสร็จ ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นพระธาตุสร้างด้วยหินทราย มีลักษณะปรางค์แบบขอมที่ส่วนใหญ่สร้างกันในสมัยนั้น ส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ องค์เจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มประตูแต่ละด้าน ภายใต้ซุ้มข้างบนสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประดับด้วยกนกด้านขด มุมทั้งสี่ด้านขององค์พระธาตุ เป็นรูปนาคห้าเศียร วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง สร้างขึ้นพร้อมกันกับ “พระธาตุนารายณ์เจงเวง” หรือ “อรดีมายานารายณ์เจงเวง” โดยชื่อนี้ตั้งชื่อตามผู้สร้างโดยกลุ่มสตรีของพระนางนาเวงแห่งเมืองหนองหานหลวงมีการแข่งขันกลุ่มบุรุษชาวเมืองหนองหานน้อย เพื่อรอรับพระพระมหากัสสปะเถระ ซึ่งนำพระอุรังคธาตุไปบรรจุยังดอยภูกำพร้า โดยตกลงกันว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถสร้างพระธาตุเจดีย์ใหญ่เสร็จก่อนดาวเพ็กขึ้นฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งฝ่ายสตรีเป็นฝ่ายชนะ ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงโบราณสถานแห่งนี้ว่า ยังกล่าวว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระและบริวารเดินทางมาถึงเมืองหนองหานหลวง กลุ่มสตรีชาวเมืองหนองหานได้ทูลขอแบ่งอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก)ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระมหาเถระผู้ใหญ่มิได้ทรงอนุญาตด้วยผิดวัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ให้นำอุรังคธาตุไปประดิษฐานบรรจุเจดีย์ที่ภูกำพร้า… Read More »