ตามรอยพระพุทธบาท วัดคีรีนาครัตนาราม ลพบุรี

By | September 1, 2016


https://youtu.be/5c8xFoFkBos

สวัสดีครับ ครั้งนี้เรามาเดินทางตามรอยพระพุทธบาทกันบ้าง โดยผมจะเดินทางไปตามรอยพระพุทธบาทยังจังหวัดลพบุรี ตามข้อมูลในหนังสือตามรอยพระพุทธบาท โดยพระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต ซึ่งเป็นหนังสือข้อมูลรอยพระพุทธบาทที่น่าจะมีบันทึกไว้สมบูรณ์และมากที่สุดในปัจจุบัน เขียนไว้ถึง 4 เล่มด้วยกัน

วัดคีรีนาครัตนาราม ตั้งอยู่ที่ ต.ชอนสารเดช อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี ตามเรื่องราวในหนังสือตามรอยพระพุทธบาท ได้บันทึกว่า รอยพระพุทธบาทแห่งนี้ค้นพบโดยหลวงพ่อทองดำ อดีตเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. 2500  มีการสร้างรูปหล่อพระสังกัจจายน์และพระพุทธรูปปางปาเลไลย์ บริเวณทางขึ้นสู่พระพุทธบาท

นอกจากนี้ บริเวณแห่งนี้ได้รับการสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่ามีฟอสซิลตามแหล่งโขดหินปูน อายุราว 250 ล้านปีด้วยครับ ซากโบราณที่พบ เช่น ฟูซูลินิดซึ่งเป็นสัตว์ทะเล…

เมื่อผมเดินทางมาถึง บรรยากาศภายในค่อนข้างเงียบสงบ เนื่องจากเป็นวัดที่ค่อนข้างอยู่ห่างไกล จึงมักจะมีพิธีการในช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ก็สามารถเดินทางไปเที่ยวและทำบุญกันได้ทุกวันนะครับ

การเดินทางมาที่วัดสะดวกมากครับ วัดติดริมถนน จึงใช้เวลาเดินทางไม่มากนัก เมื่อเข้ามาถึงบริเวณวัด ก็หาที่จอดรถได้ตามสะดวกเลยครับ แต่อย่าจอดขวางทางสัญจรก็เพียงพอแล้ว หลังจากผมหาที่จอดรถเป็นที่เรียบร้อย ก็อยู่ในภาวะ งงๆ เล็กน้อย เพราะไม่รู้ว่ารอยพระพุทธบาทอยู่ส่วนไหนในพื้นที่วัด… พอดีว่ามีพี่ที่ทำงานในวัดช่วยบอกทาง แต่ก็ไม่วาย ผมก็ยังพากันเดินผิดทางไปทางโกดังเก็บศพจนได้ จนพี่ที่วัดเดินพาไปถึงทางขึ้นบูชารอยพระพุทธบาท…

บรรยากาศและสิ่งปลูกสร้างในวัด

บรรยากาศและสิ่งปลูกสร้างในวัด

เราจะยังได้เห็นสิ่งปลูกสร้างไม้เก่าๆภายในวัด ซึ่งยังมีอยู่มากครับ ซึ่งเส้นทางนี้ผมเดินไปกันผิด เพราะไปสู่โกดังเก็บศพ จึงต้องเดินย้อนกลับมาอีกทางหนึ่ง

บริเวณทางขึ้นสู่รอยพระพุทธบาท

บริเวณทางขึ้นสู่รอยพระพุทธบาท

ขึ้นสู่รอยพระพุทธบาท

ขึ้นสู่รอยพระพุทธบาท

บรรยากาศการเดินทาง อยู่ในช่วงฤดูฝน จึงมีบรรยากาศที่เขียวชอุ่มของพันธ์ุไม้ต่างๆ

จากข้อมูล ถ้าท่านสนใจในเรื่องซากดึกดำบรรพ์ ที่วัดแห่งนี้จะมีร่องรอยฟอสซิลให้ได้ชมตามโขดหิน แต่ผมไม่ได้ถ่ายรูปมานะครับ เนื่องจากมาทราบข้อมูลภายหลังว่าที่วัดนี้มีซากฟอสซิลให้ได้ชมอยู่ด้วย

พระสังกัจจายน์

พระสังกัจจายน์

เดินขึ้นมาสักระยะก็จะพบกับรูปหล่อพระสังกัจจายน์

เส้นทางค่อนข้างรกครับ เพราะไม่ค่อยจะมีผู้คนเดินทางกันขึ้นมา สามารถชมบรรยากาศผ่านยูทูปกันได้

เส้นทางที่เดินกันขึ้นไปต่อ

เส้นทางที่เดินกันขึ้นไปต่อ

แม้ทางจะรก แต่ก็ยังพอมีเส้นทางเก่าที่ปรากฏให้เห็นอยู่ครับ

พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์

พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์

เดินผ่านรูปหล่อพระสังกัจจายน์ไป ก็จะพบกับพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์

ศาลาครอบรอยพระพุทธบาท

ศาลาครอบรอยพระพุทธบาท

จากนั้นก็มาถึง ศาลารอยพระพุทธบาทกันแล้วหล่ะครับ กลุ่มของผมได้เตรียมอุปกรณ์เล็กๆน้อยๆ มาปัดกวาด เก็บขยะบริเวณนี้ไปทิ้งเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และทำการกราบไหว้บูชาและปิดทองที่พระพุทธบาท

ทำความสะอาดรอยพระพุทธบาท

ทำความสะอาดรอยพระพุทธบาท

ลักษณะรอยพระพุทธบาท

ลักษณะรอยพระพุทธบาท

ลักษณะรอยพระพุทธบาท จะเป็นพระพุทธบาทเบื้องซ้าย

รอยพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาท

รอยนูนที่พระพุทธบาท

รอยนูนที่พระพุทธบาท

ผมได้นำแผ่นทองคำเปลวมาติดที่รอยนูนของพระพุทธบาทนี้

หลังจากทำความสะอาดและกราบไหว้สักการะรอยพระพุทธบาทเรียบร้อยแล้ว กลุ่มนักเดินทางก็นั่งพักผ่อนชมบรรยากาศ ก็ถือว่าบรรยากาศดีครับ อยู่เงียบๆ สงบๆแบบนี้ก็มีความสุขดีเหมือนกัน

แบกถุงดำเก็บขยะไปทิ้งด้านล่าง

แบกถุงดำเก็บขยะไปทิ้งด้านล่าง

เมื่อถึงเวลาที่ต้องกลับ จึงได้พากันเก็บขยะบริเวณรอยพระพุทธบาท นำไปทิ้งข้างล่าง และเราก็พากันเดินทางไปชมบรรยากาศโดยทั่วไปของวัดก่อนเดินทางไปยังวัดอื่นๆ

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ

ก่อนเดินทางกลับ ผมก็พากันขึ้นไปชมบรรยากาศบนพระอุโบสถก่อน

บรรยากาศจากด้านบนพระอุโบสถ

บรรยากาศจากด้านบนพระอุโบสถ

เมื่อเราเดินชมบรรยากาศได้เวลาที่พอสมควร เราก็เดินทางไปยังวัดอื่นๆ ตามโปรแกรมต่อไป

บทสรุปที่วัดคีรีนาครัตนาราม

ในช่วงวันเดินทางตรงกับฤดูฝน การเดินทางจึงถือว่าได้บรรยากาศที่ดีครับ เพราะต้นไม้เขียวชอุ่ม บรรยากาศไม่ร้อน แต่ถ้าเดินทางมาในช่วงฤดูแล้ง ก็คงจะมีบรรยากาศที่ร้อนพอควร โดยรวมสำหรับผู้ที่นิยมเดินทางกราบไหว้รอยพระพุทธบาทก็ถือว่าคุ้มค่าการเดินทาง อีกทั้งได้ชมบรรยากาศดีๆ สงบๆ อยู่กับตัวเองบ้าง ผมคิดว่าน่าจะเป็นการดี … แต่ที่สำคัญ ควรหาเพื่อนมาด้วยเพราะจะได้ไม่เหงาจนเกินไปครับ…

ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด

ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108

หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory

เว็บไซต์หลัก www.faiththaistory.com