Category Archives: พระนครศรีอยุธยา

วัดบรมพุทธาราม วัดสิงหาราม ย่านตลาดบ้านดินสอ ริมคลองฉะไกรน้อยในราชภัฏอยุธยา

https://youtu.be/8V_xM7k8X0s วัดบรมพุทธาราม วัดสิงหาราม ย่านตลาดบ้านดินสอ ริมคลองฉะไกรน้อยในราชภัฏพระนครศรีอยุธยา… ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส ณ ตลาดบ้านดินสอ… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยวัดวาอาราม วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางเข้าไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อเที่ยวชมวัดโบราณซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง คือ วัดบรมพุทธารามและวัดสิงหาราม ตั้งอยู่ริมคลองฉะไกรน้อยซึ่งเป็นคลองโบราณใช้สัญจรในสมัยอยุธยา ปัจจุบันลำคลองถูกตัดขาดเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ยังคงให้ได้เห็นสภาพลำคลองภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ภายในบริเวณริมคลองฉะไกรน้อยนี้ ได้ปรากฏชื่อในละครบุพเพสันนิวาส ที่กำลังโด่งดังช่วงต้นปี พ.ศ.2561 อีกด้วย โดยระบุว่าเป็นตำแหน่งของตลาดบ้านดินสอ เป็นย่านที่ขายสมุดและดินสอในสมัยอยุธยา โดยมีโบราณสถานยืนยันอีกจุดคือ สะพานบ้านดินสอที่ข้ามผ่านคลองฉะไกรน้อย ที่ได้รับการบูรณะแล้วให้ได้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ วัดแรก วัดบรมพุทธราราม การเดินทาง สะดวกมากครับ จะขับรถเข้ามาในมหาวิทยาลัยเลยก็ได้ มีที่จอดมากมายเมื่อ เข้ามายังพื้นที่วัดบรมพุทธารามสภาพปัจจุบันมีต้นไม้ใหญ่ให้ได้ร่มเงาอยู่ครับ ทำให้ลบร้อนกันได้ จึงมีนักศึกษามานั่งอ่านหนังสือและทำกิจกรรมกันพอสมควรในบริเวณนี้ เจดีย์ทรงปรางค์หน้าพระอุโบสถจะมีอยู่ 2 องค์คู่กัน อีกองค์หนึ่งชำรุดทรุดโทรมเหลือเพียงส่วนฐาน พระวิหาร วัดบรมพุทธารามจะตั้งอยู่ข้างพระเจดีย์หน้าอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่พระเพทราชา (ช่วงเวลาครองราชย์ พ.ศ. 2231 – 2245)โปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ณ บ้านป่าตองสถานที่พระองค์เคยตั้งบ้าเรือนเมื่อครั้งรับราชการอยู่ในกรมช้าง วัดนี้พระเพทราชาโปรดเกล้าให้ช่างทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองมุงหลังคาอาคารภายในวัด  จึงมีชื่อสามัยที่เรียกกันอีกชื่อว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ”  กล่าวกันว่าสมเด็จพระเพทราชาทรงได้รับแรงบันดาลใจจากกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคาพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรี จึงได้รับสั่งทำกระเบื้องเคลือบสีเดียวกันใช้มุงหลังคาวัดแห่งนี้ วัดที่สอง วัดสิงหาราม เมื่อเดินข้ามคลองฉะไกรน้อยไปอีกฟากหนึ่ง เราจะเห็นโบราณสถานอีกแห่ง นั่นก็คือวัดสิงหาราม ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานการสร้างมาก่อนวัดบรมพุทธาราม อย่างน้อยในช่วงอยุธยาตอนกลาง เจดีย์ทรงระฆังมีปรากฏในศิลปะอยุธยาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่  20 ที่วัดมเหยงคณ์และได้รับความนิยมสืบต่อมาถึงสมัยอยุธยาตอนกลางที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ส่วนวิหารส่วนหน้าต่างทำช่องแสงเป็นช่องลูกกรงเลียนแบบลูกกรงลูกมะหวดในศิลปะเขมร ซึ่งปรากฏมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นที่วิหารหลวงวัดมหาธาตุ … Read More »

ตามรอยเสด็จประพาส ร.๕ วัดศาสดา วัดร้างอยุธยาที่ไม่เคยรู้

https://youtu.be/Byo7fLYRFVo ตามรอยเสด็จประพาส ร.๕ วัดศาสดา วัดร้างอยุธยาที่ไม่เคยรู้… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๕ โดยเราจะเดินทางไปที่วัดศาสดา ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างไปเสียแล้ว มีซากเจดีย์โบราณที่ถูกปกคลุมด้วยต้นโพธิ์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ วัดศาสดาตั้งอยู่ในเขตบ้านเรือน แต่เราสามารถเข้ามาถ่ายรูป ท่องเที่ยวกันได้ แต่อาจจะมีเหล่าสุนัขคอยเห่ารบกวนสมาธิบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ต้องกังวลครับ (ไม่กัด) เมื่อผมเดินทางมาถึง จะเห็นต้นโพธิ์สูงใหญ่ชัดเจน แลดูช่างคลาสสิคเป็นอย่างยิ่ง ผมได้สอบถามป้าที่บ้านทางเข้าเขตวัดศาสดา ป้าบอกว่ากรมศิลปากรจะส่งเจ้าหน้าที่คอยมาทำความสะอาดและตัดต้นไม้ไม่ให้รกตามเวลาที่กำหนดไว้ ในเขตพื้นที่บ้านแต่เดิมจะมีแนวกำแพงและผนังโบสถ์ แต่ปัจจุบันได้ทลายหายไปหมดสิ้นแล้ว แนวผนังอาคาร ยังพอให้เห็นเศษอิฐโบราณที่กระจัดกระจายอยู่ครับ จากนั้นผมได้ขึ้นไปสำรวจเจดีย์ด้านบน ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเพราะมีความสูงชัน ตามรอยเส้นทางเสด็จประพาส รัชกาลที่ ๕ วัดศาสดา เป็นจุดหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาถึง ปรากฏในพระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่าและพระราชกระแสเรื่องจัดการทหารมณฑล กรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๕ มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัดศาสดาบางตอนดังนี้ ๒๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๗ (พ.ศ ๒๔๕๑) ลงเรือล่องลงมาเข้าคลองบางนางร้า หาที่พักทำกับข้าวไม่เหมาะจนมาออกปากคลอง เลยขึ้นไปดูข้างเหนือเห็นว่าจะช้าเสียเวลาไปจึงได้แล่นกลับลงมา ไม่ช้าเท่าใดก็ถึงวัดวรนายกรังสรรค์วัดเขาดิน ที่จริงภูมิฐานดี แลเห็นเด่นแต่ไกล เป็นที่ประชุมไหว้พระใหญ่ไม่มีที่ไหนเท่าสุพรรณ อ่างทอง ลพบุรีก็ลงมาพร้อมกันหมด เสียแต่การก่อสร้างไม่แข็งแรงเลยพูนดินขึ้นไปที่โคกโบสถ์สูงครากแบะจะพัง มาไลยเจดีย์ปูนยังไม่ทันจะดำมีต้นไม้ขึ้นมาก ทำกำมะลอเสียแต่แรกแล้ว ไม่ได้แวะเลยลงมาตามลำน้ำโพธิ์สามต้นไปทางบางขวดถึงปากช่องที่จะเข้าไปวัดตูม วัดศาสดา จอดเรือโมเตอร์ที่นั้นลงเรือสามสิบหกศอกแจวเข้าไป หยุดทำกับข้าวที่วัดศาสดา ซึ่งมีการเปรียญน้ำพอปริ่ม ๆ ที่จริงไม่เห็นท่าทางที่น่าจะอด หน้าวัดก็มีบ้าน การเปรียญก็ดูเป็นที่เทศนาวาการกันอยู่ แต่มีพระองค์เดียวเท่านั้น พระองค์เดียวก็มิใช่อยู่อย่างจนๆ อยู่กุฏิฝากระดานยังใหม่… Read More »

วิหารหลวงพ่อคอหัก(หลวงพ่อสุริยมุนี) วัดโคกกระบือ(ร้าง) สถานีรถไฟอยุธยา

https://youtu.be/FU-1-oeChYw วิหารหลวงพ่อคอหัก(หลวงพ่อสุริยมุนี) วัดโคกกระบือ(ร้าง) สถานีรถไฟอยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและรักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาทุกท่าน วันนี้แอดมินตั้มจะพาทุกท่านเดินทางไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เราจะไปเที่ยวชมวัดร้างเดิม ที่มีชื่อว่าวัดโคกกระบือ คนในพื้นที่ไม่คุ้นชื่อนี้นัก แต่จะไปคุ้นเคยในชื่อวิหารหลวงพ่อคอหัก ด้วยชื่อที่แปลก ทำให้ผมเกิดความสนใจที่จะเดินทางไปชมสถานที่ และหาที่มาของชื่อนี้ วิหารหลวงพ่อคอหักถูกสร้างภายหลังบนพื้นที่วัดร้างที่ชื่อวัดโคกกระบือ ติดสถานีรถไฟ อยุธยา ซึ่งทราบชื่อนี้ได้จากแผนที่โบราณจากกรมศิลปากร จากตำแหน่งวัดโคกกระบือ จะอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟอยุธยา ซึ่งการเดินทางสะดวกมากครับ หลังจากเดินทางมาถึงสถานีรถไฟและหาที่จอดรถได้เป็นที่เรียบร้อย เราต้องเดินเข้าไปยังสถานีรถไฟและข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อข้ามทางรถไฟมาอีกฝั่ง จะมีสะพานเล็กๆเชื่อมกับหมู่บ้าน และมีป้ายบอกวิหารหลวงพ่อสุริยมุนี หลวงพ่อคอหัก อย่างชัดเจน เมื่อข้ามฝั่งมาจะเห็นที่ทำการชุมชน และวิหารจะอยู่ถัดเข้าไปเล็กน้อย หลวงพ่อสุริยมุนี (หลวงพ่อคอหัก) เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สันนิษฐานอายุในสมัยทวารวดีสลักจากศิลาเนื้อละเอียดสีเขียวเข้มเจือดำ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 ซม. สูง 89 ซม.  เดิมพระพักตร์กระเทาะหลุดหายไปและได้รับการบูรณะราวปี พ.ศ.2507 เรื่องราวตำนานหลวงพ่อสุริยมุนี (หลวงพ่อคอหัก) จากหนังสือประวัติพระสุริยมุนี ศรียะลา ได้กล่าวถึงประวัติหลวงพ่อคอหักไว้ว่า คุณพวง อุณจักร ได้เล่าไว้เมื่อปี พ.ศ.2475 ได้ย้ายมาจากอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งนายสถานีรถไฟอยุธยาในสมัยนั้น และได้เห็นโคกแห่งหนึ่งเป็นที่เลี้ยงกระบือของชาวบ้าน (สันนิษฐานน่าจะเป็นที่มาของชื่อวัดโคกกระบือ) ที่โคกแห่งนี้มีซากพระพุทธรูปถูกทิ้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จึงได้เก็บรวบรวมมาไว้เป็นที่เป็นทาง รวมถึงการแผ้วถางทำความสะอาดพื้นที่ และนำพระพุทธรูปมาประกอบร่วมกับชาวบ้าน และขนานนามว่า “หลวงพ่อคอหัก” และมีพิธีพุทธาภิเษกโดยหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2507 ครั้งนั้น คุณพวงได้ชักชวนเสมียนและพนักงานสถานีรวมเงินกันเพื่อซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล… Read More »

ตามรอยหลวงปู่มี วัดมารวิชัย อยุธยา ทายาทธรรม 3 คณาจารย์

https://youtu.be/NvLvlzKNKG4 สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดมารวิชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่มี เขมธัมโม เคยจำพรรษามาก่อน  หลวงปู่มี เป็นพระสงฆ์ทายาทธรรมถึง 3 คณาจารย์ ได้แก่ หลวงพ่อปาน โสนันโท แห่งวัดบางนมโค อยุธยา, หลวงพ่อเขียน โชติสโร วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานี, และหลวงพ่อจง แห่งวัดหน้าต่างนอก อยุธยา

ตามรอยหลวงพ่อทองห่อ วัดโคกโพธิ์ อยุธยา พระเกจิสายหลวงพ่อทา (มีคลิป)

https://youtu.be/abboZ2jOmTM สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยพระเกจิแห่งทุ่งอุทัย วัดโคกโพธิ์ พระนครศรีอยุธยา นั่นคือหลวงพ่อทองห่อ ถิรญาโณ พระเกจิสายหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม สถานที่แห่งนี้มีตำนานเล่าขานมายาวนาน กล่าวกันว่าหลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตกได้ธุดงค์กลับมาจากกัมพูชาพร้อมด้วยหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ แล้วมาแยกย้ายกันที่วัดโคกโพธิ์แห่งนี้  ระหว่างนั้นหลวงพ่อทา ท่านเห็นว่าวัดโคกโพธิ์ เสื่อมโทรมอย่างหนัก จึงได้ดำริที่จะช่วยบูรณะวัดก่อนกับนครปฐม จึงทำให้หลวงพ่อทองห่อ ได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากหลวงพ่อทานั่นเอง ผมเดินทางผ่านบรรยากาศท้องทุ่งนา สวยงาม ได้ชมบรรยากาศรอบข้างก็มีเสน่ห์ไปอีกแบบ เพราะมีความเงียบสงบที่ผมก็ชอบเป็นทุนเดิม (เดินทางช่วงต้นปี พ.ศ.2560) เมื่อมาถึงวัด ก็ได้พบกับความเงียบพอสมควร แต่ก็ยังเห็นผู้คนในท้องที่ เดินทางมาวัดกันอยู่บ้าง พระอุโบสถอยู่ในระหว่างการบูรณะ และก็เป็นจังหวะพอดีที่ได้พบพระในวัดกำลังเตรียมของประกอบพิธีทางศาสนา ท่านจึงได้เมตตาพาขึ้นไปบนศาลา เพื่อไปกราบสักการะรูปหล่อหลวงพ่อทองห่อ   บรรยากาศการเดินทางผ่านทุ่งนา และบรรยากาศท้องถิ่น ทุ่งอุทัย ผมได้จอดรถไว้บรเวณหน้าวัด ติดกับพระอุโบสถ ซึ่งกำลังบูรณะอยู่ จากนั้นผมก็เดินไปยังหลังวัด เพื่อดูบรรยากาศและหาโอกาสสอบถามเรื่องราวจากพระ  และก็มีพระกำลังเตรียมอุปกรณ์ประกอบพิธีทางศาสนา ผมจึงได้ถือโอกาสเข้าไปสอบถาม และท่านก็พาเดินขึ้นบนศาลาและพระอุโบสถ บนศาลาการเปรียญ จะประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อทองห่อให้ได้สักการะบูชา ผมได้เข้าไปกราบรูปหล่อหลวงพ่อทองห่อ และขอพร จากนั้นก็เก็บภาพบางส่วนไว้ด้วย ระหว่างนั้นพระสงฆ์ที่วัดได้พาไปชมธรรมมาสที่มีความเก่าแก่พอสมควร (สร้างปี พ.ศ.2472) ซึ่งเก็บรักษาไว้ด้านบนศาลา จึงสันนิษฐานกันว่าศาลานี้จะสร้างมาก่อน พ.ศ.2472 จากนั้นพระที่วัดได้พาผมไปที่พระอุโบสถที่กำลับูรณะ เพื่อไปชมพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ประดิษฐานด้านใน มีพระพุทธรูปเก่าแก่องค์หนึ่ง มีจารึกการสร้างที่ฐานพระไว้ว่า หลวงพินิตย์นิตินัยสร้างอุทิศให้แก่บิดา มารดา พ.ศ.๒๔๕๗ จากนั้นผมจึงเดินออกมาหน้าพระอุโบสถ เพื่อไปกราบสถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทองห่อ จากนั้นผมก็เดินไปชมบรรยากาศโดยรอบวัด ก็ได้เห็นสิ่งปลูกสร้างที่ยังมีความเก่าแก่ สร้างจากไม้โดยทั่วบริเวณ เช่น… Read More »

วัดบางปลาหมอ หลวงพ่อสุ่นพระอาจารย์ของหลวงพ่อจงและหลวงพ่อปาน

https://youtu.be/4eVh5PBN2EQ สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดบางปลาหมอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นสถานที่จำพรรษาของหลวงพ่อสุ่น ซึ่งเป็นพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของพระที่มีชื่อเสียงสองรูปคือหลวงพ่อจง แห่งวัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ประวัติวัดบางปลาหมอ ไม่พบหลักฐานการบันทึก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือไม่ก็รัตนโกสินทร์ตอนต้น แม้แต่ประวัติของหลวงพ่อสุ่น ก็หาได้ยากไม่ค่อยพบการบันทึก มีเพียงแต่การเล่าปากต่อปาก ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ ก็ได้ตายจากไปจนหมด จึงมีเรื่องราวของหลวงพ่อสุ่นน้อยเหลือเกิน ตามบันทึกของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้กล่าวว่า หลวงพ่อสุ่น เป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโคและหลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อสุ่นเป็นพระที่เรืองวิทยาคมและมีวิชารักษาโรค จึงได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่หลวงพ่อปานอีกด้วย หลวงพ่อสุ่นละสังขารเมื่อไหร่ ไม่มีบันทึก แต่หลังจากที่หลวงพ่อสุ่นละสังขารไป วัดบางปลาหมอก็เงียบลงไปอย่างมาก จนบางครั้งแทบเป็นวัดร้าง ผมได้เดินทางไปยังวัดบางปลาหมอ เมื่อปลายปี พ.ศ.2559 ซึ่งอยู่ห่างจากวัดบางนมโคไม่มากนัก ต้องบอกว่าวัดมีบรรยากาศเงียบเหงาอย่างมาก แตกต่างจากวัดบางนมโคอย่างยิ่ง ในใจผมก็อยากจะให้วัดกลับมามีบรรยากาศเหมือนดั่งในอดีต ให้สมกับเป็นวัดพระอาจารย์ของหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจง เช่นเดิม แต่ผมก็เข้าใจว่าเป็นไปตามหลักสัจธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดา ถ้าท่านผู้ฟังได้รับฟังกันในวันนี้ ก็อยากให้ลองไปเที่ยวชมบรรยากาศกันบ้างจะเป็นการดี อาจจะทำให้บรรยากาศกลับมาเหมือนเดิม สุดท้าย ผมจึงขอนำบรรยากาศในวัดบางปลาหมอ มาให้ชมด้วย ซึ่งมีเพียงกลุ่มผมเท่านั้น บรรยากาศเงียบ เห็นเพียงสุนัข ที่คอยวิ่งมาต้อนรับ วิหารรูปหล่อหลวงพ่อสุ่นถูกล็อคเข้าไม่ได้ รวมถึงพระอุโบสถที่สวยงามด้วยประตูลายรดน้ำ ส่วนวิหารพระนอนสามารถเข้าไปกราบได้ครับ เรียนเชิญรับชมบรรยากาศกันเลยครับ       พุทธวิหารมงคลอุปถัมภ์ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ 2 องค์ ตามบันทึก หลวงพ่อสุ่น เป็นผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์มงคลชินวัฒน์ มีความยาว 5.19 เมตร และพระพุทธไสยาสน์มงคลสรรเพชญ มีความยาว… Read More »