Category Archives: พระนครศรีอยุธยา

วัดโค วัดกระบือ วัดเผาข้าว วัดโบราณที่หายสาบสูญไปจากแผนที่พระนครศรีอยุธยา

ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสือที่ดีมากๆ ชื่อ “อยุธยา ที่ไม่คุ้นเคย” ของปวัตร์ นวะมะรัตน ได้กล่าวถึงวัดที่หายสาบสูญไปแล้ว คือ วัดโค วัดกระบือ และวัดเผาข้าว ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน วัดโคและวัดกระบือ จะตั้งอยู่ในเกาะเมืองโดยจะอยู่ตรงข้ามกัน โดยมีถนนโรจนะกั้นกลาง (ในอดีตเรียกว่า ถนนอิฐ) วัดเผาข้าวจะอยู่ถัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งจะตั้งริมคลองมะขามเรียง จากหนังสืออยุธยาที่ไม่คุ้นเคย ได้กล่าวว่า ทั้ง 3 วัดนี้ปรากฏชื่ออยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสงครามเสียกรุงครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 พระมหาเทพตั้งค่ายกันข้าศึกอยู่นอกกรุง ถูกกองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระมหาอุปราชตีแตก จนถอยร่นมาตั้งรับที่หน้าวัดโคและวัดกระบือ แต่เมื่อข้าศึกตามมาก็ตีแตกจนถอยไปตั้งรับที่วัดเผาข้าวแต่ก็ไม่สามารถต้านได้อยู่จนแตกทัพไป จากรูปแผนที่จะมีถนนอิฐคั้นกลางระหว่างวัดโคและวัดกระบือ ปัจจุบันถนนอิฐถูกเรียกชื่อเป็นถนนโรจนะ แผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ พ.ศ. 2469 ได้ระบุตำแหน่งวัดโค วัดกระบือ และวัดเผาข้าวไว้อย่างชัดเจน และ น. ณ ปากน้ำ ก็เคยมาสำรวจที่บริเวณนี้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 บันทึกไว้ว่า “วัดโค วัดกระบือ เหลือแต่โคกอิฐ” และในพงศาวดารภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่าได้เขียนไว้ว่า ถนนย่านป่าทุ่ง วัดโค วัดกระบือต่อกัน แต่ก่อนโบราณมีพวกมอญ แลพม่า แขก ฆ่าเป็ดไก่ขายในตลาดนั้นชุกชุม ปัจจุบันวัดทั้ง 3 ได้หายสาบสูญไปจากแผนที่แล้ว มีสิ่งปลูกสร้างอื่นๆสร้างขึ้นแทนทั้งหมด โดยวัดโคจะเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอพระนครศรีอยุธยา  วัดกระบือเป็นที่ตั้งของตึกพาณิชย์และโรงแรม… Read More »

วัดหอระฆัง วัดร้างโบราณ ริมคลองมะขามเรียง พระนครศรีอยุธยา

https://youtu.be/tMfGbZYR3EA ผมได้หาโอกาสเดินทางมาสำรวจพื้นที่และท่องเที่ยวที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาอีกครั้ง และได้ค้นหาข้อมูลวัดโบราณและวัดร้างมาบางส่วน ก็ได้เจอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดหอระฆัง จากข้อมูลแต่เดิมนั้น จะมองเห็นแต่เพียงสิ่งก่อสร้างก็คือหอระฆังที่โดดเด่นอยู่เท่านั้น ต่อมาทางกรมศิลปากรได้ทำการขุดพื้นที่และสำรวจในปี พ.ศ. 2540 พบว่ามีตัวอาคาร และชิ้นส่วนพระพุทธรูปมากมายด้านหลังของหอระฆังนี้ จากการขุดสำรวจพบว่า วัดหอระฆังจะตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก  โดยหอระฆังจะอยู่ทิศตะวันออก มีคลองมะขามเรียงผ่านหน้าวัด ในอดีตจะเรียกชื่อว่าคลองนายก่าย และเพี้ยนมาเป็นในไก่ และมาเปลี่ยนเป็นคลองมะขามเรียงในปัจจุบันนี้ เดินทางตามรอยกันเลยครับ การเดินทาง ถือว่ามาง่ายและสะดวกครับ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้ข้ามสะพานสะพานปรีดี-ธำรง  เจอกับสี่แยกไฟแดงแรก ให้เลี้ยวขวาได้เลยครับ แล้วตรงไปอีก 50 เมตรก็จะเห็นหอระฆังตั้งตระง่านอยู่ข้างทางด้านซ้าย แล้วก็เข้าชมพื้นที่ได้เลยครับ วันนี้ผมเดินทางด้วยมอเตอร์ไซด์ เลยสะดวกขึ้นเยอะแวะข้างทางถ่ายรูปกันได้ แต่ต้องระวังอุบัติเหตุให้มากๆ เนื่องจากในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยามีจุดที่เป็นวงเวียนหลายจุด เวลาขับรถเหมือนจะวัดใจว่าใครจะไปด้านหน้าหรือเลี้ยว ยิ่งเราขับมอเตอร์ไซด์ก็อาจจะเสียจังหวะได้ง่ายๆ ต้องระวังครับ ส่วนท่านที่ไม่นิยมขับมอเตอร์ไซด์ ก็จะมีเรื่องลำบากก็คือหาที่จอดลำบากในบางพื้นที่ สรุปเลยนะครับ เดี๋ยวจะสับสนกันซะก่อน คลองในไก่ ก็คือคลองเดียวกันกับคลองมะขามเรียงนั่นแหละครับ อีกประมาณ 50 เมตร จากทางแยกไฟแดงก็จะถึงวัดหอระฆังแล้วหล่ะครับ อยู่ริมถนนซ้ายมือ คลองมะขามเรียงจะวางตัวในแนวทิศเหนือและใต้ของเกาะเมืองอยุธยา ในอดีตบริเวณนี้เป็นย่านการค้าสำคัญในสมัยอยุธยา รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของหอระฆังมีการเจาะช่องโค้งรูปกลีบบัว เป็นรูปแบบที่นิยมกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงสันนิษฐานกันว่าวัดหอระฆังแห่งนี้สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซุ้มโค้งรูปกลีบบัวทะลุถึงกันแนวทิศตะวันออกและตะวันตก ผนังชั้นบนเจาะเป็นรูปโค้งกลีบบัวทั้งสี่ด้าน ชั้นบนเป็นที่แขวนระฆัง เหนือขึ้นไปเป็นยอดทรงปราสาทที่ชำรุดทรุดโทรมไปแล้ว วัดหอระฆังนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดใครเป็นผู้สร้าง สำนักโบราณคดี กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60 ตอนที่ 39 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2486 หลังหอระฆังจะเป็นตัวพระวิหาร อาคารก่ออิฐถือปูนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า… Read More »

เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก อยุธยา

เที่ยววัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก อยุธยา … ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมได้มีโอกาสเดินทางมาวัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในเขตของอุทยานประวัติศาสตร์ วัดแห่งนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  วัดมหาธาตุตั้งอยู่ในเขตเกาะเมือง ทำให้การเดินทางสะดวกและเป็นที่คุ้นเคยของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวทั่วไป สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) โปรดเกล้าให้สถาปนาวัดมหาธาตุในปี พ.ศ. 1917 แต่การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร (ปี พ.ศ.1931 – 1938) จากหนังสือโบราณคดีห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา โดย น. ณ ปากน้ำ ได้สันนิษฐานว่า วัดมหาธาตุอาจจะตั้งมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะภายในวัดพบพระพุทธรูปหินในสมัยลพบุรี และพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท (พระคันธารราฐ) ซึ่งเป็นศิลปะในสมัยทวารวดี มีอายุมากกว่า 1,500 ปี (ปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดหน้าพระเมรุ) ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์ประธานเคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำกำลังทหารไปช่วยกันสร้างยอดพระปรางค์ด้วยไม้สักชั้นเยี่ยมและได้สถาปนาให้เป็นพระปรางค์ประจำชาติ และในที่สุด พระปรางค์วัดมหาธาตุก็ยังคงอยู่ที่นั้นตลอดไป การก่อสร้างวัดจะเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้น คือจะมีลักษณะให้ความสำคัญต่อพระวิหารมากกว่าพระอุโบสถ จะสร้างพระวิหารไว้ด้านหน้า ถัดมาจะเป็นพระปรางค์ประธาน และพระอุโบสถจะอยู่หลังสุดและมีขนาดที่เล็กกว่า วัดมหาธาตุจะมีความสำคัญอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีและใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ต่อมาได้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ จึงได้ย้ายไปประกอบพระราชพิธีที่วัดพระศรีสรรเพชญแทน   จุดเด่นสำคัญของวัดมหาธาตุที่นักท่องเที่ยวควรรู้จัก 1. เศียรพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะอยุธยาวางอยู่ในรากโพธิ์ จุดนี้นักท่องเที่ยวจะให้เป็นจุด Landmark ของวัดมหาธาตุเลยครับ… Read More »

เที่ยว ทำบุญ ไหว้พระ วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา

  เที่ยว ทำบุญ ไหว้พระ วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา วันนี้ได้โอกาสมากล่าวถึงวัดในพระนครศรีอยุธยากันต่อนะครับ เมื่อกล่าวถึงวัดใหญ่ชัยมงคล นักท่องเที่ยวทำบุญไหว้พระ ส่วนมากจะรู้จักกันแน่นอน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาเป็นคณะทัวร์ ส่วนมากแล้วจะต้องมีวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ในลิสต์แน่นอน จุดเด่นชัดเจนของวัดก็คือ พระเจดีย์ชัยมงคล ที่เราสามารถจะมองเห็นได้มาตั้งแต่ระยะไกล เวลาเรามองจากระยะไกลหลายๆคนก็ต้องแปลกใจ เมื่อเห็นลักษณะของพระเจดีย์เอียงไปอีกด้านหนึ่ง ทำไมพระเจดีย์ชัยมงคลจึงเอียง ผมได้ไปค้นหาข้อมูล ก็ได้ทราบว่า พื้นเจดีย์มีการทรุด เนื่องจากพระเจดีย์มีน้ำหนักถึง 28,154 ตัน เป็นสาเหตุให้เกิดแรงอัดบนพื้นดินอย่างมหาศาล และเป็นผลให้น้ำใต้ดินถูกดันออกไปจนเกิดเป็นช่องโพรงใต้ดิน พื้นดินจึงเกิดการทรุดทำให้เจดีย์เอียงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน   สถานที่สำคัญในพื้นที่บริเวณของวัดใหญ่ชัยมงคล มีจุดสำคัญดังนี้ครับ 1. พระเจดีย์ชัยมงคล ทรงลังกา มีความสูงโดยประมาณ 60 เมตร 2. พระราชานุสาวรีย์ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งน้ำทักสิโนทกเพื่อประกาศอิสรภาพ 3. พระพุทธไสยาสน์ 4. ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัย เชื่อกันว่าเป็นศาลที่สถิตของดวงวิญญาณพระราชโอรสองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 5 การเดินทางมายังวัดใหญ่ชัยมงคล ไม่ซับซ้อนครับ โดยให้ตรงเข้าเมืองพระนครศรีอยุธยามาเรื่อยๆ จนถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม (คนในพื้นที่เรียกเจดีย์นักเลง เพราะตั้งอยู่กลางวงเวียน รถทุกคันต้องหลบหมด) แล้วให้เลี้ยวซ้าย เมื่อมองไปด้านหน้าก็จะมองเห็นพระเจดีย์แต่ไกลเลยครับ ขับไปอีกประมาณ 200 เมตรก็จะถึงวัดแล้วครับ ซึ่งจะตั้งอยู่ทางซ้ายมือ จุดสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นสัญลักษณ์ของนักท่องเที่ยวก็คือวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม ซึ่งในอดีตจุดนี้เคยเป็นพื้นที่วัดสามปลื้มมาก่อน จนกระทั่งความเจริญของเมืองได้เข้ามาจึงมีการตัดถนนผ่าน แต่ไม่ได้ทำการรื้อพระเจดีย์ออกไป พื้นที่จอดรถของวัดใหญ่ชัยมงคลจะมีพื้นที่กว้างขวางมากครับ เนื่องจากเป็นวัดที่ได้รับความนิยมในการเดินทางมาท่องเที่ยวและทำบุญของทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จึงได้จัดสรรพื้นที่อำนวยความสะดวกไว้เป็นอย่างดี เมื่อจอดรถแล้วผมก็เดินข้ามสะพานข้ามคลองเพื่อเดินไปยังฝั่งเจดีย์ชัยมงคลก่อน คลองน้ำของวัดจะมีเต่าจำนวนหนึ่งอยู่นะครับ เราสามารถให้อาหารเต่าได้… Read More »

เที่ยวทำบุญ นมัสการหลวงพ่อใหญ่ วัดโตนดเตี้ย อยุธยา

https://youtu.be/CHjGfv4JgDY เที่ยวทำบุญ นมัสการหลวงพ่อใหญ่ วัดโตนดเตี้ย พระนครศรีอยุธยา ผมได้มีโอกาสมาทำบุญและกราบนมัสการหลวงพ่อใหญ่ที่วัดโตนดเตี้ยบ่อยครั้ง แต่ยังไม่มีโอกาสได้นำรายละเอียดมาเขียนไว้ วันนี้ก็ได้โอกาสมากล่าวถึงรายละเอียดของวัดโตนดเตี้ยกันนะครับ ซึ่งเป็นวัดแรกที่ผมจะกล่าวถึงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดโตนดเตี้ย คงไม่ค่อยจะคุ้นหูสำหรับผู้คนโดยทั่วไปนักเพราะตั้งอยู่ห่างจากเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ทำให้นักท่องเที่ยวและผู้นิยมเดินทางไหว้พระไม่ค่อยได้มาถึงวัดนี้กันสักเท่าไหร่นัก จะมีเพียงคนในพื้นที่ ที่จะรู้จักดี วัดโตนดเตี้ยได้เริ่มคุ้นหูผู้คนโดยทั่วไปจากกรณีเมื่อปี พ.ศ. 2556 ที่ กระบือพระราชทานจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ที่มีชื่อ เจ้าคล้าว กับ ทองกวาว ได้ถูกขโมยไปทั้ง 2 ตัว และเจ้าหน้าตำรวจได้เร่งออกติดตามหาจนกระทั่งสามารถนำตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดี และ ได้นำกระบือทองกวาวกลับมาได้ แต่เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่กระบือเจ้าคล้าวได้ถูกส่งไปที่โรงฆ่าสัตว์และได้ถูกฆ่าไปก่อนหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเดินทางไปถึง การเดินทางมาวัดโตนดเตี้ยนั้น ถ้ามาจากทางกรุงเทพฯ ให้ตรงมาจนถึงอำเภอวังน้อย แล้วเลี้ยวซ้ายจากถนนพหลโยธิน ตรงมาเพื่อไปตามเส้นทางที่จะไปสวนอุตสาหกรรมโรจนะ  จนขับมาถึงสี่แยกไฟแดงใหญ่ และมีถนนยกระดับ ให้เลี้ยวขวาเพื่อไปทางอำเภออุทัย ขับรถไปประมาณ 4  กิโลเมตร จะเห็นป้ายบอกทางฝั่งซ้ายมือบอกทางไปวัดนะครับ โดยจะมีซอยเล็กๆ ให้เลี้ยวขวา ถ้าเกรงจะไปไม่ถูกกันก็จอดถามคนแถวนั้นได้เลยครับ ผมมั่นใจว่ารู้จักกันทุกคน แล้วขับเข้าซอยไปเรื่อยๆ จะเห็นวัดอยู่ฝั่งซ้ายมือติดกับโรงเรียนวัดโตนดเตี้ย เมื่อมาถึงในพื้นที่วัดแล้ว ก็ให้หาที่จอดรถได้เลยครับมีลานจอดรถกว้างระดับหนึ่ง พื้นที่วัดไม่ได้กว้างขวางมากครับ แต่การจัดสถานที่ และสวนหย่อมก็ดูดีสะอาดตา ร่มรื่นด้วยครับ ก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณวัดเราก็จะได้พบกับศาลาพระพิฆเนศ ซึ่งมีความเชื่อว่าท่านเป็นเทวดาแห่งความสำเร็จ ยังไงผู้ที่ศรัทธาก็แวะกราบขอพรได้นะครับ บริเวณบันไดทางขึ้นไปสู่พระวิหารไม้ทรงไทย เราก็จะมองเห็นพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ผมคิดว่าวัดโตนดเตี้ยคงจะได้รับการอุปถัมภ์จากท่านแน่นอน เพราะได้ข่าวคราวว่าท่านได้เสด็จมาที่วัดบ่อยครั้ง เมื่อเดินขึ้นมาเราก็จะพบกับพระวิหารไม้ ที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อใหญ่ด้านใน ส่วนด้านหน้าเป็นพระประธานที่ให้นมัสการปิดทองได้นะครับ พื้นที่ด้านในพระวิหารนอกจากจะประดิษฐานองค์หลวงพ่อใหญ่แล้ว ยังได้มีการจัดแสดงวัตถุโบราณที่ได้ถูกค้นพบในบริเวณพระวิหารแห่งนี้ ซึ่งแต่เดิมนั้นก่อนจะสร้างพระวิหารเป็นศาลาทรงไทย วิหารเดิมจะเป็นสังกะสีรอบวิหาร… Read More »