Category Archives: นนทบุรี

วัดโชติการาม โบสถ์โบราณทรงวิลันดา เมืองนนทบุรี

YouTube : FaithThaiStory พาเที่ยวนนทบุรี ชมโบราณสถาน วัดโชติการาม เดิมชื่อว่า “วัดสามจีน” ตั้งอยู่ที่ ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อราวปี พ.ศ.2350 โดยชาวจีนสามคน ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระยาโชฎึกราช(บุญมา) และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโชติการาม จากรูปแบบสถาปัตยกรรมมีการสืบทอดรูปแบบมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โบราณสถานสำคัญในวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ประธาน และวิหาร ซึ่งตั้งเรียงกันในแนวทิศเหนือและใต้ อุโบสถเป็นอาคารทรงวิลันดา เป็นอาคารขนาดเล็ก หน้าบันใช้การก่ออิฐประดับลวดลายปูนปั้นแทนจั่วไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีภาพปูนปั้นหน้าบันเล่าเรื่องราวในชาดกเรื่อง ภูริทัตชาดก ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่ามกลางลวดลายพรรณพฤกษา ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย และหมู่พระพุทธรูปอีกหลายองค์ เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สร้างบนฐานประทักษิณ 2 ชั้น ระเบียงฐานประทักษิณตกแต่งด้วยกระเบื้องปรุลายจีน มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ เจดีย์มีชุดฐานสิงห์ซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น เป็นรูปแบบที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย วิหารเป็นอาคารขนาดเล็ก บานประตูด้านนอกแกะสลักรูปทวารบาลแบบจีนยืนบนสิงโต บานหน้าต่างด้านนอกตกแต่งลายรดน้ำ ด้านในบานประตูและหน้าต่างเขียนภาพแจกันทรงสูงใส่ดอกไม้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3-4 เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าและภาพในพุทธประวัติ จากการสำรวจทางโบราณคดีรอบอุโบสถและเจดีย์ประธาน โดยกรมศิลปากร พบว่ามีการสร้างและบูรณะ 3 ระยะ ได้แก่ แรกสร้างวัด สันนิษฐานสร้างราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงรัชกาลที่… Read More »

วัดปราสาท จิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่ที่สุดในนนทบุรี

  YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเข้าไปชมความสวยงามของอุโบสถวัดปราสาท ที่ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณที่ถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในนนทบุรี แม้จะลบเลือนไปมาก แต่ก็ยังคงเห็นความงดงามวิจิตร วัดปราสาท ตั้งอยู่ที่ ต.บางกร่าง อ.เมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ที่มีความสวยงามของอุโบสถและภาพจิตกรรมฝาผนังโบราณอยู่ภายใน ฐานอุโบสถแอ่นคล้ายโค้งเรือสำเภา เป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยา หน้าบันอุโบสถเป็นไม้จำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑที่มีความสวยงามยิ่งนัก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พญาครุฑของเดิมนั้น ถูกลักขโมยไป ซึ่งปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ทำขึ้นใหม่ ติดตั้งไว้ทดแทนของเดิม อุโบสถมีลักษณะเป็นมหาอุด คือ ผนังทั้งสองด้านไม่มีหน้าต่าง ผนังด้นหลังพระประธานมีเพียงช่องแสงสว่างขนาดเล็กเท่านั้น ในอุโบสถมีพระประธานประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง รายล้อมไปด้วยพระสาวกและหมู่พระพุทธรูปหลายองค์ ภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณภายในอุโบสถเขียนด้วยสีฝุ่น แม้จะเลือนลางไปมากกว่า 50% ซึ่งเป็นไปตามกาลเวลา แต่ยังมองเห็นลวดลายอันวิจิตร โดยภาพจิตกรรมฝาผนังตอนบนเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า ถัดลงมาเป็นภาพในชาดกและพุทธประวัติ คั่นด้วยภาพเทพนม ผนังด้านหลังและหน้าพระประธานคงเคยมีภาพจิตรกรรมแต่เลือนหายไปหมดสิ้นแล้ว ตามประวัติวัดกล่าวว่า วัดปราสาทแห่งนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พุทธศตวรรษที่ 22 หรืออยุธยาตอนกลาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวในนนทบุรี ทางวัดได้จัดแสงไฟส่องสว่างภายในอุโบสถทำให้มีบรรยากาศที่สวยงามยิ่งนัก จึงมีผู้เดินทางเข้าชมอยู่เป็นระยะตลอดทั้งวัน เพื่อเข้าชมความงดงามของอุโบสถ รวมถึงมานั่งทำสมาธิให้จิตสงบในช่วงเวลาหนึ่ง ความงดงามภายในของอุโบสถด้วยการจัดแสงไฟเช่นนี้ มีอีกแห่งหนึ่งที่ผมประทับใจคือ ที่วัดเพลง ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เป็นโบราณสถานวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่น่าไปท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งเช่นกันครับ นอกจากความงดงามของอุโบสถ ภายในวัดยังมีสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่อื่นๆเช่นศาลาไม้ หมู่กุฏิเก่าให้ได้เที่ยวชม แต่เนื่องด้วยในวันที่ผมเดินทางไปนั้น มีฝนตกลงมาอย่างหนัก จึงได้เข้าชมเพียงภายในอุโบสถเท่านั้น แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าที่ได้เห็นความงดงามของจิตรกรรมในครั้งนี้ ท่านที่สนใจเดินทางไปชมความงดงาม สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ทุกวัน โดยอุโบสถจะเปิดตั้งแต่เวลา 8.00 – 18.00… Read More »

วัดโปรดเกษ วัดชาวมอญอพยพ สมัยพระเจ้าตาก นนทบุรี

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดโบราณแห่งหนึ่งนามว่า วัดโปรดเกษ ตั้งอยู่ที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ติดกับวัดสะพานสูง ริมคลองพระอุดม ตามประวัติว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดยกลุ่มชาวมอญที่เข้ามาในสมัยนั้น มีชื่อเดิมว่า วัดสนามไก่ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เข้ามาบูรณะวัดแถบชุมชนมอญ 3 วัด ได้แก่ วัดป่าฝ้าย(วัดฉิมพลีสุทธาวาส), วัดเกาะปิ้น(วัดท้องคุ้ง) และวัดสนามไก่ ซึ่งต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดโปรดเกษ โบราณสถานสถานสำคัญในวัดโปรดเกษ ประกอบไปด้วยเจดีย์โบราณ 2 องค์ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ ตัวอุโบสถได้รับการบูรณะเรื่อยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 หน้าบันลวดลายปูนปั้นสวยงาม รอบอุโบสถมีเสมาหินทรายแดงตั้งบนฐานบัวกลุ่มแข้งสิงห์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน และพระอันดับอีก 3 องค์ จากการสอบถามลุงหมึก จิตอาสาดูแลวัดโปรดเกษ ได้เล่าให้ฟังว่าเดิมวัดโปรดเกษ สร้างจากกลุ่มคนชาวมอญที่อพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ใช้ชื่อว่า วัดไก่เตี้ย ต่อมาพื้นที่ป่าหลังวัด ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกทหาร จึงเรียกว่า วัดสนามไก่เตี้ย และ วัดสนามไก่ตามลำดับ มาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโปรดเกษ หลังการบูรณะใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ลุงหมึกเล่าเพิ่มเติมว่า ในอุโบสถแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ได้ชำรุดทรุดโทรมและเลือนรางไป ทางวัดจึงได้ก่อผนังทับใหม่ เมื่อราว 40 ปีก่อน จากข้อมูลการอพยพของชาวมอญในสมัยกรุงธนบุรี กล่าวว่า ในปีพ.ศ.… Read More »

วัดอัมพวัน นนทบุรี วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา บรรยากาศร่มรื่นริมคลอง

https://youtu.be/b1t-nLsHqf0 วัดอัมพวัน นนทบุรี วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา บรรยากาศดีๆ ร่มรื่นริมคลองบางม่วงและคลองบางกอกน้อย เป็นวัดที่ผมประทับใจในความสวยงามของบรรยากาศอีกวัดหนึ่ง ที่ยังได้แลเห็นสภาพชีวิตวิถีริมแม่น้ำของชาวบ้านในพื้นที่ แม้จะอยู่ใกล้ความเจริญในยุคปัจจุบัน มองผิวเผินภายในวัด ก็เหมือนวัดในท้องถิ่นโดยทั่วไป แต่แท้จริงมีเรื่องราวตำนานการสร้างวัดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังปรากฏโบราณสถานที่น่าสนใจอีกมากมายภายในวัด รวมถึงบรรยากาศความสงบร่มรื่นที่สุดประทับใจ จึงขอถือโอกาสนี้พาทุกท่านท่องเที่ยวไปด้วยกันเลยครับ ประวัติวัดอัมพวันและโบราณสถานที่น่าสนใจ วัดอัมพวันตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยและคลองบางม่วง เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี จากเอกสารประวัติวัดกล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมืองถึงปากคลองบางกรวยวัดเขมาภิรตาราม และได้มีการอพยพไพร่พลหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนบริเวณ ต.บางม่วง และมีผู้ใจบุญมีจิตศรัทธาได้ร่วมสร้างวัดบางม่วง ต่อมาคือวัดอัมพวัน ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญได้แก่ หอไตรกลางน้ำ, มณฑปรอยพระพุทธบาท, ศาลาท่าน้ำและเจดีย์ทรงปรางค์ หอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่ภายในสระที่เชื่อมกับคลองบางกอกน้อย เป็นอาคารเรือนไทยยกใต้ถุนสูง ทำจากไม้สัก หลังคา 2 ชั้น ประดับช่อฟ้าใบระกา มุงกระเบื้องดินเผา ส่วนชั้นบนเป็นอาคาร 2 ห้อง มีระเบียงอยู่ในบริเวณส่วนหน้า ห้องตรงกลางไว้เก็บรักษาพระไตรปิฎก เหนือประตูทางเข้าห้องมีจิตรกรรมสีฝุ่น ผนังโดยรอบทาสีแดง มีลายรดน้ำที่ด้านล่างของหน้าต่างแต่ละบาน ส่วนท้ายเป็นห้องกั้นฝาไม้ คาดว่าน่าจะต่อเติมในภายหลัง หอไตรกลางน้ำได้ผ่านการบูรณะมาแล้ว 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2466 และ พ.ศ.2547 มณฑปรอยพระพุทธบาท มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น บันไดอยู่ทางทิศใต้ ฝาผนังด้านล่างเจาะเป็นช่องสามเหลี่ยมด้านละ 3 ช่อง… Read More »

วัดตำหนักใต้ จุดรับพระแก้วมรกตเข้าสู่พระนคร สมัยกรุงธนบุรี

https://youtu.be/JTXT-G3wOl4 วัดตำหนักใต้ จุดที่พระเจ้าตากสินมหาราชรับพระแก้วมรกตเข้าสู่พระนคร สมัยกรุงธนบุรี… สวัสดีครับ ท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านตามรอยสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในสมัยกรุงธนบุรี และต่อเนื่องมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นั่นก็คือพิธีอัญเชิญพระแก้วมรกตเข้าสู่พระนคร ไปประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งครั้งหนึ่งเลยทีเดียว หลักฐานการอัญเชิญพระแก้วมรกตปรากฏในบันทึกเอกสาร เช่น จดหมายเหตุความทรงจําของกรมหลวงนรินทรเทวี, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี และ หมายรับสั่ง เรื่อง โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต เป็นต้น ตามเอกสารที่กล่าวข้างต้น มาตรงกับจุดของวัดตำหนักใต้ จ.นนทบุรี ซึ่งมีที่ตั้งติดติมแม่น้ำเจ้าพระยา และทีมเดินทางจึงได้เดินทางมาบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ วัดตำหนักใต้ ตั้งอยู่บนถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างมาตั้งแต่สมัยใด ทราบแต่เพียงว่า แต่เดิมวัดนี้เรียกว่า “วัดตำหนัก” จนกระทั่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ.2464 ทรงเห็นว่าวัดต่างๆมีชื่อซ้ำกันหลายวัดจึงเติมชื่อว่าเหนือและใต้ต่อท้าย จากชื่อวัดตามทิศที่ตั้ง สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถหลังใหม่ที่สร้างขึ้นโดยนำเอาหน้าบันและประตูหน้าต่างรวมถึงเพดานพระอุโบสถหลังเก่ามาใช้ ตามประวัติได้กล่าวว่า ก่อนที่จะสร้างวัดในพื้นที่นี้เคยสร้างเป็นพลับพลาที่ประทับชั่วคราวของพระเจ้ากรุงธนบุรี และจากหลักฐานที่คงเหลือยังสันนิษฐานว่า วิหารและหอระฆัง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2367 ในสมัยรัชกาที่ 3 ฝาผนังมีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพุทธประวัติ บานประตูและหน้าต่างลงรักปิดทองเขียนด้วยลายไทยอย่างงดงาม บันทึกเอกสารประวัติศาสตร์ หลังจากมีชัยเหนือนครเวียงจันทน์ จึงมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตเข้ามา ปรากฏบันทึกเอกสารว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เสด็จมารอรับพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ที่บริเวณวัดตำหนักใต้ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หมายรับสั่ง เรื่อง โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต … Read More »

วัดชมภูเวก จิตรกรรมพระแม่ธรณีงามที่สุดในไทย

https://youtu.be/RMg3KXaBmu0 วัดชมภูเวก นนทบุรี วัดที่ชาวมอญอพยพได้สร้างและกล่าวกันว่ามีจิตรกรรมแม่ธรณีงามที่สุดในไทย… สวัสดีครับท่านผู้รักการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเที่ยวชมวัดแห่งหนึ่งในนนทบุรี ซึ่งพบว่ามีอัตลักษณ์รูปแบบของความเป็นมอญอยู่ที่วัดแห่งนี้ นั่นคือ “วัดชมภูเวก”  วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี มีรูปแบบความเป็นมอญปรากฏให้เห็นชัดเจนคือ ลักษณะของเจดีย์ทรงมอญที่เรียกว่า พระธาตุมุเตา จำลองแบบมาจากหงสาวดี จากประวัติในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 2 กล่าวว่า วัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2300 (อยุธยาตอนปลาย) โดยผู้สร้างเป็นกลุ่มชาวมอญที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและสร้างเจดีย์มุเตาขึ้นบนเนินอิฐ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาจากเมืองมอญ เรียกวัดนี้ว่า “วัดชมภูเวก” ซึ่งแปลว่า “ขอสรรเสริญบริเวณที่เป็นเนินสูงมีความสงบเงียบ” ในหนังสือประวัติวัดชมภูเวก เรียบเรียงโดยนายวีระโชติ ปั้นทอง ได้กล่าวว่า วัดสร้างขึ้นโดยชาวมอญกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และพบว่าบริเวณเนินดินเป็นเนินโบราณสถาน จึงพร้อมใจกันสร้างพระธาตุมุเตาเพื่อกราบไหว้บูชา และให้ชื่อว่า วัดชมภูเวก โดยมีมูลเหตุ อาจจะตั้งชื่อตามผู้นำในการสร้าง คือ พ่อปู่ศรีชมภู หรืออาจจะตั้งตามลักษณะภูมิประเทศที่มีต้นหว้าขึ้นอยู่มากมาย ซึ่งต้นหว้าตามภาษาบาลีใช้คำว่า ชมพู พระธาตุมุเตา เป็นเจดีย์ทรงมอญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุมุเตา เมืองหงสาวดี มีจารึกแผ่นหินอ่อนไว้ว่า “พระธาตุมุ๊ตาว” พระธาตุมุ๊ตาวที่วัดชมภูเวกพวกชาวมอญได้อพยพเข้ามาจากกรุงหงสาวดี รามัญประเทศ ได้สร้างพระเจดีย์เหมือนพระธาตุมุ๊ตาว ราวพุทธศักราช ๒๒๒๕ เพื่อให้สาธุชนได้เคารพกราบไหว้บูชา พระธาตุมุเตา สร้างครั้งแรกไม่ใหญ่มากนัก จนถึงปี พ.ศ.2485 มีพระครูลัยได้นำคณะสงฆ์จากเมืองมอญมาก่อสร้างเพิ่มเติม พร้อมกับสร้างเจดีย์ขนาดเล็กอีก 4 องค์ ไว้แต่ละมุมของพระธาตุมุเตา การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2460 และมีการบูรณะอีกครั้งในปี… Read More »