Category Archives: วัดวาอาราม

ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก(วัดร้าง) ทุ่งอุทัย อยุธยา

https://youtu.be/V36jR40Hsfw ซากเจดีย์ร้างกลางทุ่งนา วัดเจดีย์หัก และคำบอกเล่าการขุดกรุสมบัติเมื่อครั้งอดีต โบราณสถานวัดร้างนามว่า “วัดเจดีย์หัก” แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไม้ซุง อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่ถูกทิ้งร้างลงจากภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310 กลุ่มนักเดินทาง ได้ทราบข้อมูลว่า มีพื้นที่วัดร้างในเขตอำเภออุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง จึงได้ค้นหาและสอบถามข้อมูลต่างๆจากชาวบ้านในพื้นที่ จึงได้รู้จักชื่อ “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งเป็นคำเรียกติดปากของชาวบ้าน เพราะในอดีตราว 40 – 50 ปีก่อน ยังปรากฏเยอดเจดีย์สูงตระหง่าน แต่ได้พังทลายลงไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา เราได้เดินทางมายัง ต.หนองไม้ซุง เพื่อมาตามหาวัดแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดหนองไม้ซุงเท่าไรนัก และปรากฏเห็นโคกโบราณสถานใกล้กับหมู่บ้าน ในบรรยากาศท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจีสวยงามอย่างยิ่ง  บริเวณโคกโบราณสถานแห่งนี้ มีการสร้างศาลเล็กๆไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อขุนศึก” และ “เจ้าแม่จันทร์หอม”  การเดินทางวันนี้ อากาศเป็นใจอย่างยิ่ง เพราะแสงแดดอ่อนประกอบกับมีลมเย็นพัดตลอดเวลา พร้อมบรรยากาศทุ่งนาเขียวขจีสบายตาอย่างยิ่ง เราได้เดินขึ้นไปบนโคกโบราณสถานนี้ ปรากฏเห็นขนาดก้อนอิฐที่มีขนาดใหญ่ วัดได้ความยาวประมาณเกือบ 2 คืบ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มาก และอาจจะเป็นไปได้ว่า โบราณสถานที่ใช้อิฐขนาดใหญ่เช่นนี้อาจจะมีอายุถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เราไม่พบเศษซากโบราณวัตถุอื่นๆ นอกจากซากอิฐ จึงไม่อาจจะสันนิษฐานอายุได้มากไปกว่านี้ ลักษณะโคกโบราณสถาน เป็นซากกองอิฐของเจดีย์ที่พูนสูงขึ้น และพบว่ามีร่องรอยการขุดกรุเจดีย์แห่งนี้เป็นหลุมลงไป ถ้าสังเกตด้วยสายตาพบว่ามีความลึกมากพอสมควร เราได้พยายามเดินสำรวจโดยรอบโบราณถานแห่งนี้ เพื่อจะหาเศษซากชิ้นส่วนโบราณวัตถุอื่นๆ ที่อาจจะบ่งบอกอายุของวัดแห่งนี้ได้ชัดเจนขึ้น เช่น… Read More »

วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ วัดของสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรที่สาบสูญ เหลือเพียงชื่อในแผนที่

https://youtu.be/raWifsrc7L8 สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยหาวัดสำคัญวัดหนึ่งที่สาบสูญไปแล้วในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่โบราณและแผนที่ของกรมศิลปากร ระบุถึงตำแหน่งวัดแห่งนี้ไว้ ชื่อว่า “วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ” คำว่าเจ้าฟ้าดอกเดื่อนี้ คืออีกชื่อหนึ่งของ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” นั่นเอง ที่มาของชื่อเจ้าฟ้าดอกเดื่อนั้น ตามพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ได้กล่าวว่า ขณะสมเด็จพระราชชนนีทรงครรภ์นั้น สมเด็จพระราชชนกทรงพระสุบินว่ามีผู้ถวายดอกมะเดื่อ ซึ่งพระองค์ทรงทำนายว่า “ดอกมะเดื่อเป็นคนหายากในโลกนี้” เมื่อพระราชโอรสประสูติ จึงพระราชทานนามว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร” ส่วนราษฎรเรียกว่า “เจ้าฟ้าดอกเดื่อ” หรือ “เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” ซึ่งคำว่า “อุทุมพร” แปลว่า “ดอกมะเดื่อ” นั่นเอง เมื่อครั้งสมเด็จพระราชชนกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ทรงขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งมีบันทึกแตกต่างกัน บ้างว่าเป็นระยะเวลา 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือเพียง 10 วัน ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ความสำคัญคือ พระองค์สละราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบ แล้วลาผนวชทันที แต่พระองค์ก็เคยสึกออกมาเพื่อมาช่วยการศึกสงครามเมื่อครั้งศึกพระเจ้าอลองพญา เมื่อ ปี พ.ศ.2303 เมื่อเสร็จศึกพระองค์ก็ได้ออกผนวชอีก จึงจะเห็นได้ว่าพระองค์นั้นมีพระปรีชาสามารถทั้งสติปัญญาการปกครอง การรบ และใฝ่ในทางธรรม ไม่ปรารถนาในราชสมบัติ จนสุดท้ายในศึกเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2310 ฝ่ายเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าได้คุมตัวภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรกลับไปด้วย และต่อมาได้มีการค้นพบบันทึกคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า ต้นฉบับเป็นภาษามอญ เป็นเนื้อหาที่พระเจ้ากรุงอังวะให้สอบถามเชลยศึกเกี่ยวกับพงศาวดารไทยและขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเชื่อว่าย่อมมีคำให้การจากสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรด้วย… Read More »

วัดอัมพวัน นนทบุรี วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา บรรยากาศร่มรื่นริมคลอง

https://youtu.be/b1t-nLsHqf0 วัดอัมพวัน นนทบุรี วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา บรรยากาศดีๆ ร่มรื่นริมคลองบางม่วงและคลองบางกอกน้อย เป็นวัดที่ผมประทับใจในความสวยงามของบรรยากาศอีกวัดหนึ่ง ที่ยังได้แลเห็นสภาพชีวิตวิถีริมแม่น้ำของชาวบ้านในพื้นที่ แม้จะอยู่ใกล้ความเจริญในยุคปัจจุบัน มองผิวเผินภายในวัด ก็เหมือนวัดในท้องถิ่นโดยทั่วไป แต่แท้จริงมีเรื่องราวตำนานการสร้างวัดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังปรากฏโบราณสถานที่น่าสนใจอีกมากมายภายในวัด รวมถึงบรรยากาศความสงบร่มรื่นที่สุดประทับใจ จึงขอถือโอกาสนี้พาทุกท่านท่องเที่ยวไปด้วยกันเลยครับ ประวัติวัดอัมพวันและโบราณสถานที่น่าสนใจ วัดอัมพวันตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยและคลองบางม่วง เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี จากเอกสารประวัติวัดกล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมืองถึงปากคลองบางกรวยวัดเขมาภิรตาราม และได้มีการอพยพไพร่พลหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนบริเวณ ต.บางม่วง และมีผู้ใจบุญมีจิตศรัทธาได้ร่วมสร้างวัดบางม่วง ต่อมาคือวัดอัมพวัน ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญได้แก่ หอไตรกลางน้ำ, มณฑปรอยพระพุทธบาท, ศาลาท่าน้ำและเจดีย์ทรงปรางค์ หอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่ภายในสระที่เชื่อมกับคลองบางกอกน้อย เป็นอาคารเรือนไทยยกใต้ถุนสูง ทำจากไม้สัก หลังคา 2 ชั้น ประดับช่อฟ้าใบระกา มุงกระเบื้องดินเผา ส่วนชั้นบนเป็นอาคาร 2 ห้อง มีระเบียงอยู่ในบริเวณส่วนหน้า ห้องตรงกลางไว้เก็บรักษาพระไตรปิฎก เหนือประตูทางเข้าห้องมีจิตรกรรมสีฝุ่น ผนังโดยรอบทาสีแดง มีลายรดน้ำที่ด้านล่างของหน้าต่างแต่ละบาน ส่วนท้ายเป็นห้องกั้นฝาไม้ คาดว่าน่าจะต่อเติมในภายหลัง หอไตรกลางน้ำได้ผ่านการบูรณะมาแล้ว 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2466 และ พ.ศ.2547 มณฑปรอยพระพุทธบาท มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น บันไดอยู่ทางทิศใต้ ฝาผนังด้านล่างเจาะเป็นช่องสามเหลี่ยมด้านละ 3 ช่อง… Read More »

วัดป่าวังน้ำเย็น อุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในไทย

https://youtu.be/nTzWgiO7xOA วัดป่าวังน้ำเย็น อาคารไม้สัก อุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในไทย สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทุกท่าน ผมได้มีโอกาสไปจังหวัดมหาสารคาม จึงได้รับการแนะนำให้เดินทางไปท่องเที่ยวยังวัดป่าวังน้ำเย็น ที่กล่าวกันว่ามีความสวยงามและจะเป็นจุดเช็คอินท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดมหาสารคาม ด้วยความงดงามของมหาธาตุเจดีย์ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่สร้างจากไม้สักและไม้ตะเคียนทอง ที่มีผู้ศรัทธามากมายร่วมกันบริจาค วันนี้ผมจึงจะพาทุกท่านเดินทางไปชมความงามของสถานที่แห่งนี้ เมื่อเข้ามาถึงบริเวณวัด ยังแลเห็นการก่อสร้างที่กำลังดำเนินการอีกหลายๆจุด โดยเฉพาะอุโบสถไม้ตะเคียนทองที่เป็นรูปร่างของทรงอาคาร ที่ใกล้แล้วเสร็จในอีกไม่นาน และด้วยการที่เป็นวัดสวย น่าท่องเที่ยวจึงมีร้านกาแฟที่มาตั้งให้บริการแก่นักท่องเที่ยวด้วยครับ เมื่อเข้ามาถึงพื้นที่ ต้องบอกเลยว่าสิ่งปลูกสร้างในวัดทุกอย่างมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก แลเห็นมหาธาตุเจดีย์มาแต่ไกล เมื่อจะเข้าเขตวัด จะเห็นศาลาปฏิบัติธรรมที่สร้างจากไม้สักอย่างโดดเด่น และก่อนเข้าตัววัด จะเห็นอุโบสถไม้ตะเคียนทองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นไปตามความศรัทธาที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคปัจจัยในการสร้างวัดแห่งนี้ วัดพุทธวนารามหรือวัดป่าวังน้ำเย็น ตั้งอยู่ที่ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม มีพื้นที่กว่า 30 ไร่ และยกฐานะเป็นวัดอย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 สักัดสงฆ์มหานิกาย โดยมีความเป็นมาสืบเนื่องมาจากก่อนปี พ.ศ.2549 ขณะที่พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบูรพาเทพนิมิต อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม ทำให้ชาวจังหวัดมหาสารคามมีความเลื่อมใสศรัทธา ร่วมกันบริจาคที่ดินเพื่อให้พระอาจารย์สุริยันต์ได้สร้างวัด พระอาจารย์สุริยันต์ จึงฉลองศรัทธานั้นด้วยการสร้างวัดตามความปรารถนาของผู้มีจิตศรัทธา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันได้แก่ พระมหาธาตุเจดีย์ศรีมหาสารคาม, ศาลาปฏิบัติธรรมไม้สัก, อุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในประเทศไทย, ศาลาไม้ตะเคียนทอง, ฆ้องยักษ์ เป็นต้น การเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้ ได้เห็นถึงความศรัทธาต่อการสร้างวัดแห่งนี้เป็นอย่างมาก ที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลกว่าจะสร้างได้มากมายขนาดนี้ และถือเป็นวัดท่องเที่ยวเช็คอินแห่งใหม่ของจังหวัดมหาสารคามอย่างเต็มภาคภูมิต่อไป ขอขอบพระคุณการติดตามแล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ… Read More »

วิญญาณเร้นลับกับทางจงกรม วัดป่าอาจารย์มั่น เชียงใหม่

https://youtu.be/kDbRjW4RMjQ วัดป่าอาจารย์มั่น ตั้งอยู่ที่บ้านแม่กอย ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เป็นสถานที่ตั้งกุฏิและทางเดินจงกรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อครั้งที่ท่านได้จาริกธุดงค์มาปฏิบัติภาวนาเป็นเวลา 1 พรรษา เมื่อราวปี พ.ศ.2482 (ข้อมูลจากนิยสารสารคดี ๓ อริยสงฆ์ ฉบับพิเศษ) และวัดแห่งนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของพระกรรมฐานลูกศิษย์หลวงปู่มั่นหลายรูป เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่เจี๊ยะ  จุนโท เป็นต้น และภายหลังหลวงปู่สิมได้มาสร้างศาลาบำเพ็ญบุญไว้ 1 หลัง ทางเดินจงกรมที่เห็นในภาพคือ ทางเดินจงกรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ วัดป่าอาจารย์มั่น ลักษณะทางเดินจงกรมจะมีก้อนอิฐเก่ามากมายเรียงตลอดทาง อิฐเก่าเหล่านี้มีเรื่องราวบันทึกไว้ เมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นจาริกธุดงค์มาปฏิบัติภาวนา เมื่อปี พ.ศ.2482 เรื่องราวนี้เกิดขึ้นที่สำนักสงฆ์บ้านแม่กอย ปัจจุบันก็คือวัดป่าอาจารย์มั่น ที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ในราวปี พ.ศ.2482 ขณะที่หลวงปู่มั่น บำเพ็ญภาวนาในเวลาดึกสงัด ได้ปรากฏร่างสามเณรและหญิงคนหนึ่ง เดินไปเดินมาในบริเวณที่ท่านปฏิบัติภาวนา หลวงปู่มั่นจึงได้กำหนดจิต สอบถามวิญญาณนั้น จึงได้รู้ว่าเป็นวิญญาณพี่น้องกัน ที่ไม่ไปผุดไปเกิด เนื่องจากความห่วงอาลัยที่สร้างเจดีย์ไม่แล้วเสร็จเพราะได้เสียชีวิตไปเสียก่อน ทำให้ดวงวิญญาณไม่ไปจุติและยังวนเวียนในที่แห่งนี้   หลวงปู่มั่นจึงให้โอวาทธรรมแก่ดวงวิญญาณทั้งสองว่า “การสร้างเจดีย์ สร้างเพื่อผลบุญกุศล ไม่ได้สร้างเพื่อเอาจิตผูกติดที่ก้อนอิฐไปด้วย  สิ่งที่เป็นสมบัติของเรานั่นคือบุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ละเอียดและสำเร็จไปแล้วจึงไม่ควรมาห่วงใยก้อนอิฐที่มีความหยาบและสุดวิสัยของพวกเธอ ถ้าเธอทั้งสอง ยินดีเฉพาะกุศลผลบุญจากการสร้างเจดีย์ ไม่เอาจิตมาแบกรับกับก้อนอิฐเหล่านี้ พวกเธอจะไปสุคติภูมิกันนานแล้ว” จากบันทึกเพิ่มเติมของอาจารย์ปฐม… Read More »

จิตรกรรมโบราณในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา

สวัสดีครับ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดเชิงท่า อยุธยา นอกจากโบราณสถานที่สวยงาม ได้แก่ วิหาร พระปรางค์ประธานของวัด ผมได้เกิดความประทับใจภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ภายในศาลาการเปรียญเป็นอย่างมาก และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย ผมจึงขอนำภาพและเรื่องราวภาพจิตรกรรมมาแบ่งปัน เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปเที่ยวชม ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบไปด้วยอาคารประธาน ๑ หลัง ผนังด้านในศาลาการเปรียญเขียนภาพจิตรกรรม ระหว่างผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งมีภาพวิถีชาวบ้านแทรกปะปน เหนือผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพพนม จิตรกรรมในศาลาการเปรียญนี้ เป็นฝีมือของพระอาจารย์ธรรม เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้และนายแข ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์และแท่นพิธีธรรม ภาพจิตรกรรมภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า ประกอบไปด้วย ผนังส่วนบนทั้งสี่ด้าน เขียนภาพชุมนุมเทวดานั่งประนมมือ หันหน้าไปยังผนังด้านทิศตะวันตก ซึ่เขียนภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับในซุ้มเรือนแก้ว ขนาดข้างด้วยเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ธูปเทียนตั้งอยู่บนตั่งสีแดง ถัดลงมาผนังด้านล่างทั้งสี่ด้านเขียนเป็นภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติชาดก โดยที่ภาพพุทธประวัติเริ่มจากช่องว่างระหว่างประตูด้านทิศตะวันออก วนทวนเข็มนาฬิกาไปทางผนังด้านทิศเหนือและสิ้นสุดที่ช่องว่างระหว่างประตูที่ผนังด้านทิศตะวันตก ส่วนภาพเรื่องทศชาติชาดกเริ่มจากผนังด้านทิศตะวันตก ช่องว่างซ้ายมือถัดจากประตูเขียนเป็นภาพเรื่องเตมีย์ชาดก แล้ววนมายังทางผนังด้านทิศใต้และสิ้นสุดที่เรื่องพระเวสสันดรชาดกที่ผนังด้านทิศตะวันออก ภาพจิตรกรรมพุทธประวัติและทศชาติชาดกภายในศาลาการเปรียญนี้ เขียนขึ้นโดยครูแขร่วมกับคณะ และพระอาจารย์อาภรณ์ธรรม เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ซึ่งมีอายุอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๔ ถึง พ.ศ.๒๔๑๑ ทั้งหมดนี้คือภาพความสวยงามของโบราณสถานภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวและเก็บภาพความสวยงามนี้ไว้เป็นที่ระลึก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่… Read More »