Category Archives: วัดวาอาราม

วัดปราสาท จิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่ที่สุดในนนทบุรี

  YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเข้าไปชมความสวยงามของอุโบสถวัดปราสาท ที่ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณที่ถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในนนทบุรี แม้จะลบเลือนไปมาก แต่ก็ยังคงเห็นความงดงามวิจิตร วัดปราสาท ตั้งอยู่ที่ ต.บางกร่าง อ.เมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ที่มีความสวยงามของอุโบสถและภาพจิตกรรมฝาผนังโบราณอยู่ภายใน ฐานอุโบสถแอ่นคล้ายโค้งเรือสำเภา เป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยา หน้าบันอุโบสถเป็นไม้จำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑที่มีความสวยงามยิ่งนัก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พญาครุฑของเดิมนั้น ถูกลักขโมยไป ซึ่งปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ทำขึ้นใหม่ ติดตั้งไว้ทดแทนของเดิม อุโบสถมีลักษณะเป็นมหาอุด คือ ผนังทั้งสองด้านไม่มีหน้าต่าง ผนังด้นหลังพระประธานมีเพียงช่องแสงสว่างขนาดเล็กเท่านั้น ในอุโบสถมีพระประธานประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง รายล้อมไปด้วยพระสาวกและหมู่พระพุทธรูปหลายองค์ ภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณภายในอุโบสถเขียนด้วยสีฝุ่น แม้จะเลือนลางไปมากกว่า 50% ซึ่งเป็นไปตามกาลเวลา แต่ยังมองเห็นลวดลายอันวิจิตร โดยภาพจิตกรรมฝาผนังตอนบนเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า ถัดลงมาเป็นภาพในชาดกและพุทธประวัติ คั่นด้วยภาพเทพนม ผนังด้านหลังและหน้าพระประธานคงเคยมีภาพจิตรกรรมแต่เลือนหายไปหมดสิ้นแล้ว ตามประวัติวัดกล่าวว่า วัดปราสาทแห่งนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พุทธศตวรรษที่ 22 หรืออยุธยาตอนกลาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวในนนทบุรี ทางวัดได้จัดแสงไฟส่องสว่างภายในอุโบสถทำให้มีบรรยากาศที่สวยงามยิ่งนัก จึงมีผู้เดินทางเข้าชมอยู่เป็นระยะตลอดทั้งวัน เพื่อเข้าชมความงดงามของอุโบสถ รวมถึงมานั่งทำสมาธิให้จิตสงบในช่วงเวลาหนึ่ง ความงดงามภายในของอุโบสถด้วยการจัดแสงไฟเช่นนี้ มีอีกแห่งหนึ่งที่ผมประทับใจคือ ที่วัดเพลง ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เป็นโบราณสถานวัดร้างในสมัยอยุธยา ที่น่าไปท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งเช่นกันครับ นอกจากความงดงามของอุโบสถ ภายในวัดยังมีสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่อื่นๆเช่นศาลาไม้ หมู่กุฏิเก่าให้ได้เที่ยวชม แต่เนื่องด้วยในวันที่ผมเดินทางไปนั้น มีฝนตกลงมาอย่างหนัก จึงได้เข้าชมเพียงภายในอุโบสถเท่านั้น แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าที่ได้เห็นความงดงามของจิตรกรรมในครั้งนี้ ท่านที่สนใจเดินทางไปชมความงดงาม สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ทุกวัน โดยอุโบสถจะเปิดตั้งแต่เวลา 8.00 – 18.00… Read More »

วัดโปรดเกษ วัดชาวมอญอพยพ สมัยพระเจ้าตาก นนทบุรี

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดโบราณแห่งหนึ่งนามว่า วัดโปรดเกษ ตั้งอยู่ที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ติดกับวัดสะพานสูง ริมคลองพระอุดม ตามประวัติว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดยกลุ่มชาวมอญที่เข้ามาในสมัยนั้น มีชื่อเดิมว่า วัดสนามไก่ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เข้ามาบูรณะวัดแถบชุมชนมอญ 3 วัด ได้แก่ วัดป่าฝ้าย(วัดฉิมพลีสุทธาวาส), วัดเกาะปิ้น(วัดท้องคุ้ง) และวัดสนามไก่ ซึ่งต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดโปรดเกษ โบราณสถานสถานสำคัญในวัดโปรดเกษ ประกอบไปด้วยเจดีย์โบราณ 2 องค์ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ ตัวอุโบสถได้รับการบูรณะเรื่อยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 หน้าบันลวดลายปูนปั้นสวยงาม รอบอุโบสถมีเสมาหินทรายแดงตั้งบนฐานบัวกลุ่มแข้งสิงห์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน และพระอันดับอีก 3 องค์ จากการสอบถามลุงหมึก จิตอาสาดูแลวัดโปรดเกษ ได้เล่าให้ฟังว่าเดิมวัดโปรดเกษ สร้างจากกลุ่มคนชาวมอญที่อพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ใช้ชื่อว่า วัดไก่เตี้ย ต่อมาพื้นที่ป่าหลังวัด ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกทหาร จึงเรียกว่า วัดสนามไก่เตี้ย และ วัดสนามไก่ตามลำดับ มาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโปรดเกษ หลังการบูรณะใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ลุงหมึกเล่าเพิ่มเติมว่า ในอุโบสถแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ได้ชำรุดทรุดโทรมและเลือนรางไป ทางวัดจึงได้ก่อผนังทับใหม่ เมื่อราว 40 ปีก่อน จากข้อมูลการอพยพของชาวมอญในสมัยกรุงธนบุรี กล่าวว่า ในปีพ.ศ.… Read More »

พระพุทธรูปในโลงพระศพ วิหารโบราณ วัดสรรพยาวัฒนาราม ชัยนาท

YouTube : FaithThaiStory ผมมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดชัยนาท เพื่อไปสักการะรูปหล่อหลวงพ่อกวย ณ วัดโฆสิตาราม จึงได้เดินทางไปเที่ยวชัมโบราณสถานที่วัดสรรพยาวัฒนารามเพราะอยู่ห่างกันไม่มากนัก วัดสรรพยาวัฒนาราม ตั้งอยู่ที่ ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สังกัดสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2410 ปลายรัชกาลที่ 4 เดิมเรียกชื่อว่า วัดเสาธงหิน และ วัดวังหิน เพราะหน้าวัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสมัยก่อนเป็นวังน้ำวน น้ำหมุนเป็นเกลียวเห็นเป็นเสาหิน ต่อมาปีพ.ศ.2495 ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดสรรพยาวัฒนาราม เป็นวัดประจำอำเภอในปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างในวัดสรรพยาวัฒนาราม ที่สำคัญ ได้แก่ วิหารน้อย เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน หลังคาจั่วทรงไทยเป็นเครื่องไม้ มุงกระเบื้องดินเผา ผนังด้านหน้าเป็นประติกรรมพระพุทธฉายปางถวายเนตรมีพระสาวกพนมมือเบื้องซ้ายและขวา ด้านบนเป็นจิตกรรมภาพเทพธิดาผนังด้านหลังประดับประติมากรรมพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ภายในประดิษฐานโลงพระบรมศพพระพุทธเจ้า มีพระมหากัสสปะเถระพนมมือที่เบื้องพระพุทธบาทที่โผล่ยื่นออกมา แต่ความน่าสนใจพิเศษคือ การสร้างประติมากรรมนี้ จะเปิดโลงด้านบน ทำให้เรามองเห็นพระพุทธรูปนอนหงาย เป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จดับขันธปรินิพพาน วิหารแกลบ อยู่ข้างวิหารน้อย เป็นวิหารเปิดโล่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ เจดีย์ มีเจดีย์ทรงปราสาทยอด ฐานสิงห์ซ้อนสามชั้น รองรับด้วยฐานเขียงย่อมุมไม้สิบสอง มีฐานทักษิณ เรือนธาตุเป็นมณฑป มีบันไดทางขึ้น 2 ทาง และมีเจดีย์รายหน้าวิหารน้อยอีกหนึ่งองค์ นอกจากนี้ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตัก 3 ศอก และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากศรีลังกา เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 9 ข้างอุโบสถมีมณฑป ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเฟื่องอดีตเจ้าอาวาสที่ได้รับความเคารพศรัทธาจากคนในท้องที่ ความโดเด่นคือวิหารน้อย… Read More »

วัดเทียนถวาย วิหารโบราณสุดขลัง และตำนานเก่าแก่ก่อนอยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวปทุมธานี หลังจากที่ไปท่องเที่ยวไหว้พระที่วัดไก่เตี้ย สามโคก ปทุมธานีแล้ว จึงมาชมโบราณสถาน ณ วัดเทียนถวาย ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี ตำนานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1880 เล่ากันว่า พระเจ้าอู่ทองในฐานะเป็นเจ้าเมืองขณะนั้น ทรงรับสั่งให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเมื่อครั้งที่ได้อพยพหนีโรคระบาดมาตั้งกองเกวียนพักอาศัย ยามถึงกลางคืนจะจุดไฟสว่างไสว โดยพักอาศัยอยู่ประมาณ 1 เดือนเศษ ก่อนที่จะอพยพกลับเมือง จึงได้พาขนานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดเกวียนไสว” และต่อมาได้เรียกว่า “วัดเทียนถวาย” บางกระแสว่าชื่อวัดมาจากคำว่า “เกรียนสวาย” มาจากภาษาเขมรที่แปลว่า “ป่ามะม่วง” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เคยเสด็จทางชลมารคพร้อมด้วยข้าราชบริพารเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ 20 บาท เพื่อเป็นพระราชกุศล พร้อมกับโปรดให้ถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระธรรมานุสสารี หลวงพ่อสว่าง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสขณะนั้นด้วย ความโดดเด่นของวัดได้แก่อุโบสถเก่า ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยถ่ายภาพอุโบสถหลังนี้ไว้ด้วย ครั้งเสด็จประพาส เมื่อปี 2449 โดยรอบอุโบสถมีใบเสมาแบบอยุธยาตอนปลายล้อมรอบ ทั้ง 8 ทิศ  ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานแบบอู่ทองปางมารวิชัย และพระปางป่าเลไลย์ หน้าบันอุโบสถมีลวดลายปูนปั้นก้านขดสวยงาม มีสัตว์ในป่าหิมพานต์คือ อรหันประดับไว้ด้วย มีลักษณะรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มีสองเท้า ศีรษะเป็นมนุษย์… Read More »

วัดเจตวงศ์(ร้าง) ปทุมธานี จิตรกรรมโบราณอดีตพระพุทธเจ้า

ข้อมูลทั่วไป วัดเจตวงศ์(ร้าง) วัดเจตวงศ์(ร้าง) ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี เป็นโบราณสถานวัดร้าง มีสิ่งปลูกสร้างสำคัญ คือ อุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมโบราณที่สวยงามและหลงเหลืออยู่ และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ชอบถ่ายรูปสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมโบราณ วัดเจตวงศ์ไม่พบบันทึกประวัติการสร้าง แต่สันนิษฐานจากรูปแบบสถาปัตยกรรมฐานอุโบสถมีบัวลูกแก้วอกไก่ ที่น่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทั้งนี้โดยรอบอุโบสถพบฐานใบเสมาทั้ง 8 ทิศ แต่ไม่พบใบเสมา  รูปแบบอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษา มีเทพพนมอยู่ตรงกลาง มีพาไลชายคายื่นออกมา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัยบนฐานชุกชีประดับกระจก มีพระอันดับลดหลั่นซ้ายและขวาข้างละ 1 องค์ ภาพจิตรกรรมโบราณหลังพระประธาน หลงเหลือภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับในซุ้มเรือนแก้วเพียงองค์เดียว ผนังหุ้มกลองหน้าด้านบนเป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าชนะมาร ผนังด้านข้างเหนือหน้าต่างเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าในซุ้มเรือนแก้วมีพระสาวกประนนมือซ้ายและขวา เหนือขึ้นไปเป็นภาพเหล่าเทวดา ภาพจิตรกรรมช่องระหว่างหน้าต่าง เป็นภาพในพุทธประวัติแต่ลบเลือนไปเกือบทั้งหมด การเดินทาง วัดจะอยู่ในซอยวัดชินวราราม ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยตั้ง Google map เดินทางไปถึงได้สะดวก เมื่อไปถึงแล้วสามารถเปิดประตูเข้าชมอุโบสถได้ครับ @tum_faiththaistory จิตรกรรมฝาผนังโบราณ วัดเจตวงศ์(วัดร้าง) เมืองปทุมธานี เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า #วัดร้าง #faiththaistory #ปทุมธานี #โบราณ ♬ แขกไทร (เดี่ยวขลุ่ย) – สำนักการสังคีตกรมศิลปากร ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

พระพุทธรูปทองคำที่เคยถูกปูนพอกทับ วัดพะเยาว์ สระบุรี

คลิปจาก FaithThaiStory พาท่องเที่ยววัดที่สระบุรี กราบสักการะหลวงพ่อทองคำ วัดพะเยาว์ จ.สระบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ล้ำค่าอีกองค์หนึ่งที่สร้างจากเนื้อโละทองคำ คล้ายที่วัดไตรมิตรฯ กรุงเทพมหานคร และเคยถูกปูนพอกทับไว้เช่นกันอีกด้วย กล่าวกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาด้วยการหล่อองค์พระด้วยโลหะทองคำ ซึ่งจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรกล่าวว่า น่าจะมีความบริสุทธิ์ของทองคำถึง 70% ต่อมาองค์พระได้ถูกลงรักพอกปูนทับเพื่อปิดบังความล้ำค่าไว้เป็นความลับยาวนานหลายร้อยปี ก่อนที่จะอัญเชิญหลวงพ่อทองคำมาที่วัดพะเยาว์ เดิมได้ประดิษฐานที่วัดร้างแห่งหนึ่งใน อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา(บางท่านสันนิษฐานว่าคือ วัดขุนตานาค) ต่อมาราวปี พ.ศ.2420 ชาวบ้าน ต.ศาลารีไทย อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในหมู่บ้าน ชื่อ วัดอุทิศสโมสร แต่ยังขาดพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้เป็นพระประธาน จึงอัญเชิญพระพุทธรูปที่ตากแดดตากฝนในวัดร้างองค์นี้ มายังวัดอุทิศสโมสรเพื่อเป็นพระประธาน จนกระทั่งราวปี พ.ศ.2478 ชาวบ้านได้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงอพยพไปที่อื่น ทำให้วัดอุทิศสโมสรถูกทิ้งร้างลง พร้อมกับพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ที่ขาดการดูแลไปเป็นเวลาหลายปี ต่อมาราวปี พ.ศ.2484 ทางวัดพะเยาว์ ต้องการพระพุทธรูปประธานมาประดิษฐานในอุโบสถ ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญองค์พระจากวัดอุทิศสโมสร มาประดิษฐานนับแต่นั้นมา ในราวปี พ.ศ.2493 ชาวบ้านได้นิมนต์พระเทพวิมลโมลี(อดีตเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี) มาเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ชาวบ้าน ท่านได้มองไปที่พระประธานแล้วกล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะดี แต่ตามองค์พระมีรอยปูนแตกร้าว ไม่สมควรปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้ จึงให้ชาวบ้านช่วยกันกะเทาะปูนออก จึงพบว่าด้านในเป็นโลหะทองคำล้ำค่า จากนั้น อาจารย์ปรีดา วีรสวัสดิ์ ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์โรงเรียนวัดไตรมิตร ได้เชิญเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตรวจสอบ จึงประเมินว่า เป็นเนื้อทองคำถึง 70% ชาวบ้านจึงขนานนามว่า หลวงพ่อทองคำ นับแต่นั้นมา ปัจจุบัน หลวงพ่อทองคำ ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุข วัดพะเยาว์… Read More »