Category Archives: วัดวาอาราม

วัดพระยาแมน พระเพทราชาบูรณะถวายพระอาจารย์ที่ทำนายว่าจะได้ครองราชสมบัติ

https://youtu.be/luTWqs46dgM วัดพระยาแมน พระเพทราชาบูรณะถวายพระอาจารย์ที่ทำนายว่าจะได้ครองราชสมบัติ… วัดพระยาแมนเป็นวัดร้าง แถบคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ แลให้จินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตเพราะวัดแห่งนี้มีกษัตริย์คือพระเพทราชาบูรณะขึ้น… ผมได้โอกาสไปเที่ยวสถานที่แห่งนี้ จึงขอนำเรื่องราวมาแบ่งปันไว้ครับ วัดพระยาแมนตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศเหนือ วัดมีกำแพงล้อมรอบ มีพระอุโบสถเป็นประธานของวัด ด้านทิศตะวันออกมีพระปรางค์ 2 องค์ตั้งคู่กัน ลักษณะแผนผังนี้นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดพระยาแมนไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน พบบันทึกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวไว้เพียงว่า สมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ.2231 – 2246) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2233 ด้วยเพราะเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้เคยพยากรณ์ว่าพระองค์จะได้ครองพระราชสมบัติ วัดพระยาแมนถูกทิ้งร้างลงหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ********************* สำหรับในบันทึกประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ ได้กล่าวว่า วัดพระยาแมน พระเพทราชาทรงปฏิสังขรณ์ถวายพระอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ทำนายพระลักษณะมาแต่เดิม อยู่ในคลองสระบัว พระศรีสัจญาณมุนีเป็นเจ้าอาวาส ก่อนเข้าสู่เขตพระอุโบสถ เราจะเดินผ่านถังน้ำประปาโบราณ เป็นอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแนวท่อน้ำส่งไปสู่เขตพุทธาวาส (พระอุโบสถ) ภายในพระอุโบสถมีการเจาะช่องเล็กๆรูปกลีบบัว สันนิษฐานว่าเป็นช่องใส่ดวงประทีปเพื่อให้แสงสว่างหรือช่องประดิษฐานพระพุทธรูป เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันด้านหลังพระอุโบสถ ฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานเขียง ถัดขึ้นมาเป็นฐานสิงห์ซ้อนกัน 3 ชั้น ต่อด้วยองค์ระฆังและบัลลังก์ตามลำดับ ลักษณะเจดีย์แบบนี้นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อเดินชมพระอุโบสถโดยรอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมได้เดินไปต่อเพราะเห็นอาคารร้างถัดไปอีกราวๆ 100 เมตร อาคารร้างเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 3.5 เมตร ยาง 8 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีบันไดทางขึ้นสู่ตัวอาคารทั้ง… Read More »

วัดภูริทัตตถิราวาส วัดที่หลวงปู่มั่นพำนักในช่วงบั้นปลายชีวิต

https://youtu.be/U6ecWAMm_kc วัดภูริทัตตถิราวาส จังหวัดสกลนคร เดิมชื่อวัดสันติวนาราม ชาวบ้านเรียกติดปากว่า วัดป่าบ้านหนองผือ ตามชื่อของหมู่บ้าน วัดแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับพระสายหลวงปู่มั่นมายาวนานและเป็นสถานที่จำพรรษาในช่วงบั้นปลายของชีวิต จึงเป็นวัดหนึ่งที่มีความสำคัญ ด้วยเพราะมีครูบาอาจารย์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ต่างเดินทางมาศึกษาธรรมะกับหลวงปู่มั่นจากทั่วสาระทิศ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของชาวบ้านมายาวนาน วัดป่าบ้านหนองผือหรือวัดภูริทัตตถิราวาส ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นวัดความสำคัญมากวัดหนึ่งในสายพระป่ากรรมฐาน เริ่มแรกวัดแห่งนี้เป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์นานาชนิด และยังชุกชุมไปด้วยโรคไข่ป่ามาลาเรียอีกด้วย ผู้บุกเบิกมายังสถานที่แห่งนี้ ก็คือ หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านได้ธุดงค์มายังแถบนี้ และปรารถนาจะสร้างที่พักสงฆ์สักแห่ง ที่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากนัก เมื่อท่านได้ตั้งที่พักสงฆ์ชั่วคราวได้แล้ว ก็มีพระเณรเดินทางธุดงค์สัญจรผ่านมามากมาย อย่างไม่ขาดสาย จนภายหลังสถานที่แห่งนี้จึงกลายเป็นสำนักสงฆ์ถาวร และได้พัฒนาเป็นวัดโดยสมบูรณ์ โดยมีชื่อแรกว่า “วัดสันติวนาราม” จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2488 หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พ่อแม่ครูบาอาจารย์แห่งพระกรรมฐานสายป่า ได้มาที่บ้านหนองผือ และพำนักที่ เสนาสนะป่าบ้านห้วยแคน   หลวงปู่หลุยจึงแนะนำให้ชาวบ้านหนองผือ อาราธนาหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่นี่ ชาวบ้านจึงเดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือ โดยครั้งนั้นมีหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโรได้ตามมาอุปัฏฐากระยะหนึ่ง และหลวงปู่มั่นได้จำพรรษาที่นี่ติดต่อกัน นาน 5 ปี ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2488 – 2492 ซึ่งเป็นสถานที่สุดท้ายในการจำพรรษาก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ในปี พ.ศ.2492 หลวงปู่มั่นอาการอาพาธหนักมาก คณะศิษย์ได้ตามหมอมารักษา อาการก็เพียงทุเลาและหนักขึ้นไปอีก สุดท้ายหลวงปู่มั่นท่านไม่ยอมฉันยา แล้วบอกว่า “ต้นไม้ที่มันยืนต้นตายอยู่แล้ว จะเอาน้ำไปรดเท่าไหร่ มันก็ไม่เกิดใบขึ้นมาหรอก อายุขัยของเราถึงที่สุดแล้ว”… Read More »

วัดร้างในโรงพยาบาลอยุธยา – วัดปราสาท วัดโคกเดหมี

https://youtu.be/vCvOzwKjeow วัดร้างในโรงพยาบาลอยุธยา – วัดปราสาท วัดโคกเดหมี (วัดโคกยายมี)… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปเที่ยวโรงพยาบาลครับ… ใช่แล้วครับผมกล่าวไม่ผิด เพราะในโรงพยาบาลมีวัดร้างแอบซ่อนอยู่  โรงพยาบาลที่ผมกล่าวถึงคือ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จากแผนที่ของพระยาโบราณราชธานินทร์ ปรากฏชื่อวัดร้างในเขตโรงพยาบาลอยู่ทั้งสิ้น 3 วัด ได้แก่ วัดปราสาท, วัดโคกเดหมี(ในอดีตชาวบ้านเรียกวัดโคกยายมี), และวัดโคกเดหมา ถ้าเราเดินทางผ่านโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เราจะสังเกตุเห็นเจดีย์โบราณในโรงพยาบาล เพราะเจดีย์องค์นี้อยู่ใกล้กับถนนสัญจร แต่หลายคนก็ไม่ได้สนใจเพราะเจดีย์โบราณเช่นนี้ มีให้เห็นทั่วไปในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้อยคนจึงจะรู้จักชื่อวัดนี้… เจดีย์ที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง คือเจดีย์ของวัดปราสาท ซึ่งเป็นวัดร้างในโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง เมื่อดูแผนที่และทราบว่าภายในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา มีวัดร้างที่แอบซ่อนอยู่…ผมจึงได้นัดแนะสมาชิกเพื่อเดินทางไปชมพื้นที่กันสักเล็กน้อย… โดยนัดแนะที่ร้านกาแฟอเมซอนตรงข้ามโรงพยาบาล วัดแรกที่เราจะเข้าไปชมกันก็คือวัดปราสาท เพราะมีจุดสังเกตุที่ชัดเจนที่สุด เพราะมีจุดีย์ที่ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้วอยู่ 2 องค์ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ของวัดปราสาทคือ เจดีย์ 2 องค์ ลักษณะองค์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ประธานของวัด ส่วนอีกองค์หนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ราย… จากการเข้าชมพื้นที่ ไม่เห็นซากอาคารใดๆ ซึ่งอาจจะทรุดโทรมพังทลายไปจนไม่เหลือซาก และจมใต้พื้นดินจากอาคารก่อสร้างของโรงพยาบาล เมื่อผมถ่ายรูปเก็บภาพเป็นที่ระลึกที่วัดปราสาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้เดินไปชมวัดร้างในจุดอื่นต่อไป จุดหมายคือวัดโคกเดหมี (วัดโคกยายมี)และวัดโคกเดหมา ซึ่งต้องเดินข้ามไปอีกฟากหนึ่งของโรงพยาบาล เมื่อเดินข้ามมาอีกฟากหนึ่ง จะมีมณฑปพระพุทธรูปองค์ใหม่ที่สร้างขึ้น พระนามว่า “พระศรีอยุธยาพิชิตโรคา” พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปใหม่ ปางประทานพรศิลปะสุโขทัยเนื้อทองเหลืองพ่นทอง ขนาดความกว้างหน้าตัก 109 นิ้ว สูง 3.70 เมตร โดยหลวงพ่อหวล เจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เมตตาประทานรูปแบบและพระนาม เนื่องในโอกาสครบรอบ 72… Read More »

วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี กราบหลวงปู่แสงพระอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์โต

https://youtu.be/dBY-4tVTCmw วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี กราบหลวงปู่แสงพระอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์โต… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านไปยังวัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี ซึ่งมีจุดเด่นที่องค์เจดีย์ตั้งตระหง่านสีขาวสูงเป็นสัญลักษณ์ของวัดแห่งนี้ และเจดีย์แห่งนี้ขนานนามกันว่า “เจดีย์หลวงพ่อแสง” ซึ่งมีเรื่องราวกล่าวขานถึงการสร้างที่แปลกอัศจรรย์ และวัดแห่งนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของหลวงพ่อแสง ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) อีกด้วย เรื่องราววัดมณีชลขัณฑ์ วัดมณีชลขัณฑ์แต่เดิมชาวลพบุรีเรียกว่า “วัดเกาะแก้ว” เพราะยึดตามลักษณะภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะกลางทุ่งพรหมาสตร์ อ.เมือง จ.ลพบุรี และไม่มีบันทึกการสร้างวัดแห่งนี้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดมณีชลขัณฑ์ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ต่อมาวัดมณีชลขัณฑ์และเจดีย์หลวงพ่อแสง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479 เจดีย์นี้มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง คล้ายคลึงกับพระเจดีย์สมัยเชียงแสน ส่วนของฐานมีขนาด 15.40 เมตร มีความสูง 50 เมตร ลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมที่เดียวก่อเรือนธาตุสูงลดหลั่นซ้อนกันเป็นชั้นๆ 3 ชั้น เรือนธาตุแต่ละทิศมีซุ้มโค้งสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป  ชั้นที่ 4 ตอนบนเป็นองค์ระฆัง ส่วนยอดทำเป็นแท่นบัลลังก์และปล้องไฉนขึ้นไป จากการค้นคว้าของ ผ.ศ.ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี กล่าวว่า วัดมณีชลขัณฑ์เป็นวัดเก่าแก่หลายชั่วอายุคน ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นเมื่อใด ทราบแต่เพียงว่าแต่เดิมชื่อวัดเกาะแก้ว และจากหลักฐานปัจจุบัน สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199 – 2231) เพราะพบโบราณวัตถุคือ บุษบกธรรมาสน์ฝีมือช่างหลวงมีจารึกอักษรไทย ระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2225 จึงเชื่อได้ว่า วัดมณีชลขัณฑ์สร้างมาก่อนปี พ.ศ.2225 เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200… Read More »

พระธาตุเชิงชุม ที่ประชุมพระพุทธบาท 4 พระองค์ในตำนานอุรังคธาตุ

https://youtu.be/QYtmU5gBST8 พระธาตุเชิงชุม ที่ประชุมพระพุทธบาท 4 พระองค์ในตำนานอุรังคธาตุ… สวัสดีครับ ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังจังหวัดสกลนคร เพื่อไปกราบสักการะองค์พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองสกลนคร นั่นก็คือ พระธาตุเชิงชุม ซึ่งมีเรื่องเล่าในตำนานอุรังคธาตุว่าเป็นสถานที่ประทับรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ 4 พระองค์ อีกทั้งประดิษฐานหลวงพ่อพระองค์แสน พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นสถานที่แหล่งรวมความศรัทธาของประชาชนชาวสกลนครและภาพพระธาตุเชิงชุม ยังเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอีกด้วย ลักษณะองค์พระธาตุเชิงชุม พระธาตุเชิงชุมตั้งหันหน้าไปทางหนองหานที่อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ยอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุเชิงชุมทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง มีซุ้มประตูหลอกแบบขอม ด้านทิศ เหนือ ใต้ และตะวันตก ซุ้มประตูทางเข้าจริงอยู่ด้านทิศตะวันออก แต่แรกเริ่มพระธาตุเชิงชุมคงเป็นปราสาทหินทรายศิลปะสมัยขอม ภายในกรอบประตูทางเข้าอุโมงค์ด้านขวามือ มีจารึกพระธาตุเชิงชุมอักษรขอมโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17  แต่ยังไม่ทราบว่าตรงกับสมัยรัชกาลใดของอาณาจักรขอม องค์พระธาตุในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง เนื่องจากช่วงที่อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างแผ่เข้ามาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ พระธาตุเชิงชุมสร้างครอบปราสาทหินเดิม ซึ่งปรากฏจารึกอักษรขอมตรงกรอบประตูฝั่งขวา กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 16-17 สมัยขอมเรืองอำนาจ ภายในองค์พระธาตุ มีข้อห้ามสำคัญคือ ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไปโดยเด็ดขาดครับ… ตำนานอุรังคธาตุ ตำนานการสร้างพระธาตุเชิงชุม แต่เดิมเป็นปราสาทหินในสมัยขอม ต่อมาได้สร้างพระธาตุครอบปราสาทหินภายหลัง ซึ่งความเชื่อตามตำนานกล่าวว่าสร้างครอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้แก่… Read More »

ต้นศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้แห่งการตรัสรู้ต้นแรกแห่งสยามจากพุทธคยา

https://youtu.be/Ycu8JqkuggI วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี ต้นศรีมหาโพธิ์ ต้นแรกแห่งสยามเก่าที่สุดในไทย… สวัสดีครับท่านที่รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธา ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปที่วัดต้นโพธิ์ศรีมาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เนื่องจากเชื่อว่าที่วัดแห่งนี้มีต้นโพธิ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จากการอัญเชิญมาจากต้นโพธิ์พุทธคยาที่ประทับของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งทรงตรัสรู้ พื้นที่ของวัดจะตั้งตรงข้ามกับต้นโพธิ์ ซึ่งเราสามารถนำรถไปจอดในวัดแล้วเดินข้ามถนนมาครับ ในวันที่เดินทางมีบรรยากาศลมพัดเย็น ทำให้ดูร่มรื่น นั่งพักบริเวณระเบียงคด โดยรอบฟังเสียงลมพัดกระทบใบโพธิ์ได้บรรยากาศสงบดีมากครับ ประวัติต้นโพธิ์ ต้นไม้แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต้นโพธิ์ที่พุทธคยา ซึ่งเป็นสถานที่ในพุทธประวัติ ปัจจุบันเป็นต้นโพธิ์ต้นที่ 4 ที่เกิดจากการแตกหน่อต้นโพธิ์เดิม และเชื่อว่าต้นโพธิ์ที่วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ได้รับการอัญเชิญจากหน่อต้นเดิมในสมัยโบราณกว่าพันปี ตามประวัติต้นโพธิ์ที่พุทธคยา เป็นต้นรุ่นที่ 4 จากต้นเดิม ซึ่งมีเรื่องราวดังนี้ ต้นที่ 1 : ศรีมหาโพธิ์ต้นแรกมีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล มีอายุเรื่อยมาจนถึงราว ปีพ.ศ.342 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช… พระองค์เสด็จไปนมัสการต้นโพธิ์ทั้งเช่าและเย็น จนกระทั่งพระมเหสีของพระองค์ไม่พอพระทัย ที่พระองค์เอาใจใส่ต้นโพธิ์มากเกินไป จึงได้สั่งให้คนเอายาพิษมาใส่รากต้นโพธิ์จนล้มตายลง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงทราบ จึงทรงเสียพระทัยอย่างยิ่ง ได้รับสั่งให้นำน้ำนมโคมารดที่รากทุกวัน และพระองค์ได้ทรงคุกเข่าที่ต้นโพธิ์อธิษฐานให้มีหน่อใหม่งอกขึ้นมา และเกิดอัศจรรย์มีหน่อใหม่เกิดขึ้น พระองค์จึงนำมาปลูกเป็นต้นรุ่นที่ 2 ต้นที่ 2 : ต้นนี้ปลูกขึ้นจากหน่อนต้นแรก มีอายุยาวนานถึง 871 ปี จนกระทั่งถูกกษัตริย์ใจทมิฬนามว่า “ศศางกา” ที่บังเอิญมาพบต้นโพธิ์นี้ และไม่พอพระทัยเพราะพระองค์นับถือศาสนาฮินดู จึงสั่งให้ทำลายต้นโพธิ์และพระพุทธรูปในวิหาร สุดท้าย พระเจ้าศศางกาได้รับผลกรรมที่ทำลายต้นโพธิ์และพระพุทธรูป เกิดแผลพุพองทั่วร่างและสิ้นพระชนม์ไป ต้นที่ 3 : โพธิ์ต้นนี้เกิดจากหน่อที่ถูกพระเจ้าศศางกาทำลายไป ซึ่งพบโดยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์ชาวมคธที่ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นโพธิ์ต้นที่… Read More »