สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระมหากษัตริย์ผู้เป็นวีรบุรุษของคนไทย… นอกจากท่านจะกล้าหาญมีความรักชาติ และเชี่ยวชาญการรบแล้วนั้น ท่านยังมีจิตวิทยาที่ดีเลิศทำให้เหล่าทหารพม่าและพระมหาอุปราชต้องกลัวเกรงและได้รับชัยชนะเสมอมา… เรื่องราวอันเกรียงไกรของสมเด็จพระนเรศวรเกิดขึ้นก่อนที่จะมีศึกยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราช ก่อนหน้าศึกยุทธหัตถี 3 ปี…กองทัพหงสาวดีนันทบุเรงได้ล้อมอยุธยานานกว่า 5 เดือนเพราะประสบปัญหาการสั่งการรบแบบกองโจรงของสมเด็จพระนเรศวรและยิ่งไปกว่านั้นพระองค์ได้ออกรบเองไปยังค่ายของพม่าโดยคาบพระแสงดาบบุกปีนขึ้นค่ายพม่า แต่พระองค์ถูกการสกัดกั้นด้วยอาวุธจากข้าศึกจนตกลงมาและทหารพม่าได้กรูกันเข้ามาหวังจะทำร้ายให้ได้พระองค์จึงสั่งการให้ถอยทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ข่าวการบุกค่ายด้วยพม่าด้วยพระองค์เองเลื่องลือจนทำให้เหล่าทหารพม่านเกรงกลัวและยังความแปลกใจของพระเจ้านันทบุเรงอย่างมากว่าทำไมสมเด็จพระนเรศวรจึงออกรบเองเหมือนพลทหารและทำให้พระเจ้านันทบุเรงนับถือในตัวสมเด็จพระนเรศวรอย่างมากและสั่งการไปยังแม่ทัพทุกคนว่าให้ทำการล้อมจับมาถวายพระองค์ให้ได้ พระเจ้านันทบุเรงจึงสั่งการให้ “ลักไวทำมู”ทหารที่มีฝีมือออกไปจัดการจับตัวสมเด็จพระนเรศวรมาให้จงได้ ลักไวทำมูจึงวางแผนกองทัพม้าหลอกล่อทัพสมเด็จพระนเรศวรเพื่อให้มาติดกับดักกองทัพของตน และก็สามารถหลอกล่อพระองค์มาในวงล้อมของทัพพม่ากว่า 100,000 นายได้…แต่การเข้าจับกุมตัวสมเด็จพระนเรศวรก็ไม่สามารถทำได้จนทหารพม่าสู้รบและล้มตายในศึกอย่างมากมาย… เมื่อ ลักไวทำมูเห็นดังนั้นจึงควบม้าถือดาบเข้าใส่แต่ก็ถูกพระองค์สวนด้วยพระแสงทวนบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตกลางสมรภูมิ ข่าวการสูญเสียของ ลักไวทำมูยิ่งทำให้เหล่าทหารพม่าเกรงกลัวและสูญเสียกำลังใจอย่างมากเมื่อพระเจ้านันทบุเรงเห็นดังนั้นประกอบกับเสบียงกองทัพก็จะหมดลงทหารเจ็บป่วยอดอยากจำนวนมากจึงสั่งการถอยทัพกลับหงสาวดี จากนั้น 3 ปี กรุงศรีอยุธยาก็ว่างเว้นสงคราม จนกระทั่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดาได้เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรจึงได้ขึ้นครองราชย์แทน ฝ่ายพม่าเห็นว่าเป็นช่วงสับเปลี่ยนแผ่นดินจึงทำการวางแผนบุกกรุงศรีอยุธยาทันทีโดยมีแม่ทัพเป็นพระมหาอุปราช ด้วยจำนวนทหารกว่า 200,000 นายและกองทัพพระเจ้าแปรอีกกว่า 100,000 นาย เคลื่อนพลเข้ามาทางด่านเจดีย์ 3 องค์โดยมีเจ้าเมืองพะสิมและเจ้าเมืองพุกามคุมหน้าทัพ สมเด็จพระนเรศวรทราบเรื่องได้วางแผนให้ผู้คนออกจากเมืองกาญจนบุรีทั้งหมดแล้ววางกำลังทัพไว้สองฝากทางฝ่ายทหารพม่าเห็นว่าไม่มีผู้คนจึงกีฑาทัพเข้ามาอย่างรวดเร็วโดยไม่ระวังตัวจนมาถึงทัพหลวงของอยุธยา ทำให้กองทัพพม่าอยู่กลางวงล้อมและโจมตีทัพพม่าแตกกระเจิง ส่วนเจ้าเมืองพุกามก็เสียชีวิตกลางสนามรบและรุกไล่ไปยังกองทัพของพระมหาอุปราชแต่ไม่สามารถจับตัวพระมหาอุปราชไว้ได้เพราะมีเหล่าทหารคุ้มครองและกันตัวออกจากสนามรบได้ จากนั้นทัพพม่าก็แตกกระเจิงหนีกลับกันไปจนหมดสิ้น การแพ้สงครามครั้งนี้ทำให้พระมหาอุปราชเข็ดขยาดกับการทำศึกกับสมเด็จพระนเรศวร แม้พระเจ้านันทบุเรงพระราชบิดาจะทรงออกคำสั่งก็ตาม จนกระทั่งพระมหาอุปราชรู้สึกอัปยศอดสูกับสิ่งที่เกิดขึ้นจึงยอมที่จะออกรบอีกครั้ง ทำให้การรบครั้งนี้พระเจ้านันทบุเรงดีพระทัยมากได้จัดกองทัยอย่างยิ่งใหญ่เพื่อจะนำชัยมาให้ได้ ด้วยจำนวนพลทหาร 250,000 นาย และได้เตรียมเสบียงไว้อย่างมาก การรบครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรได้ตั้งรับที่สุพรรณบุรี ด้วยกำลังพล 100,000 นาย ทำให้การรบเหมือนจะสู้ไม่ไหวพระองค์จึงสั่งการให้แบ่งกองทัพไปทั้ง 2 ฝากและให้ม้าเร็วไปแจ้งแม่ทัพหน้าให้ถอยร่นลงมาด้วยกำลังกองทัพฝ่ายอยุธยาสู้ไม่ได้อยู่แล้วจึงเร่งถอยลงมาอย่างรวดเร็ว…ฝ่ายพม่าก็ได้ลำพองใจที่เห็นทัพอยุธยาร่นถอยจึงกรีฑาทัพลงมากันใหญ่…กองทัพของอยุธยาที่อยู่ 2 ฝากจึงเข้ารุม ตะลุมบอนจนแตกกระเจิงช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถก็ยิ่งไล่ตามข้าศึกไปอย่างรวดเร็วจนกองทัพฝ่ายอยุธยาตามพระองค์ไปไม่ทันเป็นผลให้การไล่ตามครั้งนี้ไปอยู่ท่ามกลางกองทัพฝ่ายพม่านับแสนนายโดยมีช้างศึกของแม่ทัพพม่า 16 เชือกยืนเรียงรายกันอยู่ ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ได้มองเห็นพระมหาอุปราชประทับช้างอยู่ใต้ร่มไม้จึงเปล่งวาจาเสียงดังไปว่า “เจ้าพี่ จะประทับช้างใต้ร่มไม้อยู่ทำไมเชิญมาทำยุทธหัตถี เพื่อเป็นเกียรติยศเถิด” เมื่อพระมหาอุปราชได้ยินดังนั้น ก็ต้องรับคำท้าเพราะถ้าไม่รับคำท้าเกรงว่าจะคุมทหารของพระองค์ไม่ได้ การทำยุทธหัตถีได้เริ่มขึ้นโดยพระมหาอุปราชได้จังหวะฟันพระแสงของ้าวลงมาก่อนแต่สมเด็จพระนเรศวรได้เบี่ยงหลบพระองค์ได้ทันสมเด็จพระนเรศวรได้อาศัยจังหวะสองที่พระมหาอุปราชได้เสียจังหวะโดยฟันพระแสงของ้าวลงบ่าขวาจนถึงกลางลำตัวของพระมหาอุปราช สิ้นพระชนม์ทันที… Read More »