Category Archives: วัดวาอาราม

ท่องเที่ยวอ่างทอง ชมพระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง วัดท่าอิฐ

ท่องเที่ยวอ่างทอง ชมพระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง วัดท่าอิฐ หลังจากที่ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยววัดขุนอินทประมูลมาแล้วก่อนหน้านี้ ก็ได้ทราบถึงประวัติการสร้างวัดขุนอินทประมูลโดยมีการระดมคนงานชาวบ้านอย่างมากมาย จึงมีการเผาอิฐ เผาปูน จำนวนมากและจุดที่ทำการขนอิฐ เผาปูนก็เล่ากันมาว่าคือบริเวณของวัดท่าอิฐในปัจจุบันนี้เอง การเดินทางมาท่องเที่ยวที่วัดท่าอิฐ การเดินทางไม่ยากครับ ใช้เส้นทางเดียวกับการเดินทางไปวัดขุนอินทประมูล ก่อนถึงวัดขุนอินทประมูล จะมองเห็นเจดีย์สีทองอร่ามมาแต่ไกลเลยครับ ให้ดูแผนที่ไปวัดขุนอินทประมูล ตามลิ้งค์นี้ครับ ===> เดินทางไปวัดขุนอินทประมูล ประวัติวัดท่าอิฐ วัดท่าอิฐสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2304 สันนิษฐานกันว่า บริเวณนี้แต่เดิมเป็นสถานที่ขนอิฐ และเผาอิฐเพื่อนำไปสร้างวัดขุนอินทประมูล และเมื่อได้สร้างวัดขึ้นมาในบริเวณนี้ จึงได้เรียกว่าวัดท่าอิฐ พระประธานในอุโบสถมีชื่อเรียกว่า “หลวงพ่อเพ็ชร” พระประธานในวิหารมีชื่อเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี มีอายุประมาณกว่า 200 ปีมาแล้ว ประดิษฐานอยู่ในวิหารมหาอุตม์ เมื่อเข้าไปในวัดจะมองเห็น พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง โดดเด่นสีทองอร่าม มูลเหตุของการสร้างพระธาตุเจดีย์เนื่องจาก ราวพุทธศักราช 2535 พระครูสุคนธศีลคุณ (หลวงพ่อหอม) มีดำริจะสร้างเจดีย์ขึ้นในบริเวณวัด มีความกว้าง 40 เมตร สูง 73 เมตร รูปแบบศิลปะลังกา-อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ลักษณะเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม มีองค์ระฆังและปล้องไฉน 32 ปล้อง เพื่อทดแทนเจดีย์หลังเดิม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอุโบสถที่ผุพังไปตามกาลเวลาและเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระศอของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานในพระเจดีย์เป็นสมบัติของพระพุทธศาสนาและเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระองค์ ที่สั่งสอนสัตว์โลกจนเพียบพร้อมไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ปฏิบัติ ยิ่งๆ ขึ้นไปจนสามารถบรรลุคุณธรรมตามความสามารถของแต่ละบุคคล ต่อมาราว พ.ศ. 2538 พระคุณสุคนธศีลคุณได้ทราบอาการพระประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ เป็นช่วงที่กำลังเริ่มก่อสร้างเจดีย์… Read More »

เที่ยว ทำบุญ ไหว้พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร อ่างทอง

เที่ยว ทำบุญ ไหว้พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร อ่างทอง อีกครั้งหนึ่งที่ผมได้เดินทางมาที่จังหวัดอ่างทอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเดินทางมากราบไหว้สักการะพระพุทธไสยาสน์ ที่วัดป่าโมกวรวิหาร ซึ่งเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่สำคัญอีกองค์หนึ่งของจังหวัดอ่างทอง โดยก่อนหน้านี้ผมได้เดินทางไปกราบสักการะพระพุทธไสยาสน์ที่มีความยาวอันดับที่ 2 ของประเทศไทยมาแล้วที่ วัดขุนอินทประมูล พระพุทธไสยาสน์ที่วัดป่าโมกวรวิหาร ได้กล่าวกันว่า เป็นพระนอนที่สวยที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งมีตำนานเรื่องเล่ากล่าวขานกันมาแต่โบราณว่า พระพุทธไสยาสน์องค์นี้เคยแสดงปาฏิหาริย์พูดได้มาอีกด้วย ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้ หรือปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่าพระปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้ เรียกกันอีกชื่อคือ “ปางโปรดอสุรินทราหู”  (พระราหู) ซึ่งมีเรื่องราวเมื่อครั้งสมัยพุทธกาลที่พระพุทธองค์แสดงปาฏิหาริย์ปราบ ทิฏฐิขององค์พระราหู  ผู้เป็นราชาครองอสูร เนื่องจากพระราหูได้ทราบว่าเหล่าเทวดาให้ความเคาระพนับถือพระพุทธเจ้า จึงอยากที่จะฟังธรรม แต่ด้วยทิฏฐิคิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นเพียงมนุษย์มีร่างกายเล็ก จึงไม่มีความอ่อนน้อมต่อพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์จึงได้แสดงปาฏิหาริย์เนรมิต ร่างของพระพุทธองค์ให้มีขนาดองค์ใหญ่ในลักษณะอริยาบถนอนตะแคง พระบาทซ้อนทับสูงใหญ่กว่าพระราหู จนพระราหูต้องแหงนหน้าเพื่อชมพุทธลักษณะ พระราหูเกิดความกลัวต้องหลบอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดแห่งชีวิต https://www.faiththaistory.com/khoon-in แผนที่และการเดินทางไปวัดป่าโมกวรวิหาร อ่างทอง การเดินทาง ให้เดินทางมาถนนสายเอเชีย ทางหลวงหมายเลข 32 ให้ขับรถไปเรื่อยๆ จะเห็นป้ายขนาดใหญ่กลางถนนบอกทางไป อำเภอปากโมก แล้วให้เลี่ยวซ้ายไปตามทางเลยครับ จากนั้นขับไปสักประมาณ 10 กิโลเมตร จะข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วให้ชิตซ้ายเลี้ยวไปที่อำเภอป่าโมก จากนั้นก็จะเห็นป้ายบอกทางไปวัดป่าโมกไปตลดทาง ประมาณ… Read More »

เที่ยว ทำบุญ นมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล อ่างทอง

เที่ยว ทำบุญ นมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล อ่างทอง อีกครั้งสำหรับการเดินทางเที่ยววัดของผม และครั้งนี้ผมได้วางแผนเดินทางมาเที่ยวที่วัดขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดที่เก่าแก่มากพอสมควรวัดหนึ่ง มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อีกทั้งมีเรื่องราวอาถรรพ์เกี่ยวกับพระวิหารที่ไม่เคยสร้างแล้วเสร็จ และจุดเด่นสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระนอนองค์ใหญ่ หรือพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่มีความยาวเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย ด้วยความยาวองค์พระประมาณ 50 เมตร ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้ หรือปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่าพระปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้ เรียกกันอีกชื่อคือ “ปางโปรดอสุรินทราหู”  (พระราหู) ซึ่งมีเรื่องราวเมื่อครั้งสมัยพุทธกาลที่พระพุทธองค์แสดงปาฏิหาริย์ปราบทิฏฐิขององค์พระราหู  ผู้เป็นราชาครองอสูร เนื่องจากพระราหูได้ทราบว่าเหล่าเทวดาให้ความเคาระพนับถือพระพุทธเจ้า จึงอยากที่จะฟังธรรม แต่ด้วยทิฏฐิคิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นเพียงมนุษย์มีร่างกายเล็ก จึงไม่มีความอ่อนน้อมต่อพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์จึงได้แสดงปาฏิหาริย์เนรมิต ร่างของพระองค์ให้มีขนาดองค์ใหญ่ในลักษณะอริยาบถนอนตะแคง พระบาทซ้อนทับสูงใหญ่กว่าพระราหู จนพระราหูต้องแหงนหน้าเพื่อชมพุทธลักษณะ จากนั้นพระพุทธองค์ได้พาพระราหูเที่ยวชมชั้นพรหม ซึ่งเหล่าพรหมล้วนมีองค์ขนาดใหญ่กว่าพระราหูทั้งสิ้น จนพระราหูเกิดความกลัวต้องหลบอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดแห่งชีวิต การเดินทางและแผนที่ไปวัดขุนอินทประมูล การเดินทางให้ขับรถเข้าตัวเมืองอ่างทอง และเลี้ยวขวาไปทางป้ายสุพรรณบุรี ทางหลวงหมายเลข 3064 ขับตรงไปประมาณ 9 กิโลเมตร เมื่อเห็นโรงพยาบาลโพธิ์ทอง จะสังเกตุเห็นป้ายชี้ทางไปวัดขุนอิน ให้ชิดขวาเพื่อเตรียมกลับรถเลยครับ ทางเข้าวัดขุนอินทประมูล จะอยู่อีกฝั่งตรงข้ามกับโรงพยาบาลโพธิ์ทอง โดยเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร … Read More »

เที่ยวชมโบสถ์ร้างโบราณ โอบด้วยต้นโพธิ์ วัดสังกระต่าย อ่างทอง

เที่ยวชมโบสถ์ร้างโบราณ โอบด้วยต้นโพธิ์ วัดสังกระต่าย อ่างทอง วันหยุดสุดสัปดาห์อีกครั้งที่ผมได้เดินทางท่องเที่ยววัดวาอาราม เมื่อเร็วๆนี้ผมได้ทราบข่าวจากทั้งทางสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับโบสถ์ร้างโบราณแห่งหนึ่งที่มีความแปลกคือ มีต้นโพธิ์ที่โอบรอบผนังทั้งสี่ด้านของโบสถ์ไว้อย่างมั่นคง แม้ว่าหลังคาทั้งหมดจะพังทลายลงมาหมดแล้ว ได้เพียงร่มเงาของต้นโพธิ์ที่คอยบังแดดฝนไว้เท่านั้น โบสถ์ร้างโบราณแห่งนั้นคือ โบสถ์โบราณของวัดสังกระต่าย โบสถ์ร้างโบราณ วัดสังกระต่าย ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลาแดง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง อยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลศาลาแดง ผมได้เริ่มวางแผนการเดินทางเพื่อมาที่วัดแห่งนี้ ก็ได้ทราบว่า การเดินทางค่อนข้างง่ายและสะดวกเพราะเดินทางมาเส้นทางเดียวกับ วัดม่วง พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเดินทางและแผนที่มาวัดสังกระต่าย การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับการเดินทางไปวัดม่วง  โดยขับรถเข้ามาเมืองอ่างทอง จากถนนสายเอเชีย หมายเลข 32 ผ่านไฟแดง 2 จุด แล้วจะข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จะมาถึงไฟแดงที่ 3 เป็นไฟแดงในเมืองอ่างทอง จากนั้นให้ตรงไป แล้วจะเจออีก ไฟแดงให้เลี้ยวขวาไปตามป้ายจังหวัดสุพรรณบุรี (ถนนหมายเลข 3064) ขับไปอีกประมาณ 2 – 3 กิโลเมตร ให้สังเกตุด้านซ้ายมือจะเห็นปั้ม ปตท. และ โลตัส Express ให้ชิดขวาเพื่อกลับรถ เลยครับ เมื่อกลับรถแล้ว ให้สังเกตุป้ายบอกทางเข้าวัดสังกระต่าย จะเลยวัดไผ่ล้อมไปเล็กน้อย ทางเข้าเป็นถนนเส้นเล็กๆ แต่ก็มีป้ายวัดชัดเจนดีครับ ให้ดูตามแผนที่ด้านล่าง เมื่อกลับรถ เราจะมองเห็นป้ายบอกทางไปเทศบาลตำบลศาลาแดง ให้เลี้ยวซ้านเข้าไปได้เลยครับ อีกประมาณ 200 เมตรก็ถึงโบสถ์ วัดสังกระต่ายแล้ว เรื่องราวคำบอกเล่าประวัติวัดสังกระต่าย ในอดีตนั้นเรียกว่า “วัดสามกระต่าย” ซึ่งเป็นชื่อที่กรมศาสนาลงชื่อไว้ตั้งแต่โบราณ… Read More »

เที่ยวชมโบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน เมืองแปดริ้ว ฉะเชิงเทรา

เที่ยวชมโบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน เมืองแปดริ้ว ฉะเชิงเทรา วันนี้ได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวที่จังหวัดฉะเชิงเทราอีกครั้ง เพื่อจะไปชม Unseen ของเมืองแปดริ้วอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ วัดหัวสวน ซึ่งมีจุดเด่นสำคัญและเป็นแลนด์มาร์คของวัดนั่นก็คือ โบสถ์สแตนเลส ทั้งหลัง เป็นการสร้างจากวัสดุที่แปลกแตกต่างจากวัดโดยทั่วไป ด้วยมีวัตถุประสงค์คือต้องการให้โบสถ์แห่งนี้มีอายุยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความเป็นมาของวัดหัวสวน ปัจจุบัน ณ ปี พ.ศ. 2557 ถือว่าวัดหัวสวนมีอายุกว่า 115 ปี มาแล้ว  เมื่อปี พ.ศ. 2440 ชาวบ้านในละแวกหัวสวน ได้มีมติเห็นพ้องกันว่า ควรที่จะสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เนื่องจากวัดแห่งอื่นมีระยะทางที่ห่างไกลออกไป โดยผู้ที่เริ่มบริจาคที่ดินให้สร้างวัดคือ นายทอง นายแสง นายพุ่ม และนายปั่น และเริ่มสร้างวัดใน ปี พ.ศ. 2440 ได้รับอนุญาตให้ตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2443 และ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ ปี พ.ศ. 2471  เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร โดยมีพระอาจารย์ปลั่ง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก โบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน โบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน ตั้งอยู่ที่ ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างด้วยสแตนเลสทั้งหลัง โดยมีจุดประสงค์ให้โบสถ์แห่งนี้มีอายุยาวนาน… Read More »

วัดโพธิ์บางคล้า วิหารพระนอนโบราณ ชมค้างคาวแม่ไก่ ฉะเชิงเทรา

คลิปบนช่อง FaithThaiStory วัดโพธิ์บางคล้า วันนี้ผมจะพาไปเที่ยววัดแห่งหนึ่งในเมืองแปดริ้ว หรือจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็น Unseen อีกแห่งหนึ่งของเมืองแปดริ้ว เพราะด้วยจุดเด่นคือมีค้างคาวแม่ไก่อยู่ในบริเวณพื้นที่วัดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งวัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงเป็นวัดที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวแปดริ้วอีกแห่งหนึ่งด้วย นั่นก็คือ “วัดโพธิ์บางคล้า” วัดโพธิ์บางคล้า อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 23 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ ตั้งอยู่ที่อำเภอบางคล้า ห่างจากตลาดน้ำบางคล้าเล็กน้อย การเดินทางถ้าออกจากตลาดน้ำบางคล้า ให้เลี้ยวมาทางขวา หรือสอบถามคนในละแวกนั้นก็ได้ครับ เพราะห่างจากตลาดน้ำบางคล้าประมาณ 2 – 3 กิโลเมตรเท่านั้น “วัดโพธิ์บางคล้า” สันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ราว พ.ศ. 2310 – 2315 เพื่อใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นอนุสรณ์ที่เคยใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่พักทัพ ในครั้งที่เดินทัพเพื่อกอบกู้เอกราช ปัจจุบันมีวิหารเก่าอยู่หลังหนึ่ง รูปทรงจัตุรมุข ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชน ในปี พ.ศ. 2485 ได้มีผู้มีจิตศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์วิหาร โดยการซ่อมเปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องเกล็ดเต่าเขียว ประดับด้วยช่อฟ้ารูปหัวพญานาคและมีใบระกา หน้าจั่วทางทิศตะวันตกปั้นเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดับด้วยลายเครือเถา หน้าจั่วด้านทิศเหนือปั้นเป็นรูปดอกบัว 5 ดอกประดับแจกัน ต่อมาหลังคาได้พังลงมาทำให้พญานาคและใบระกาชำรุดเสียหาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ชาวอำเภอบางคล้าได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์เป็นเงินกว่า 350,000 บาท เพื่อทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วิหารในส่วนของโครงสร้างหลังคาโดยยังคงรูปแบบเดิมไว้โดยได้ตั้งเสาขึ้นทั้งหมด 8 ต้นเพื่อเสริมความแข็งแรงของหลังคาทั้งสี่ด้าน พื้นรอบวิหารปูด้วยศิลาแลง ผนังภายในก่ออิฐฉาบปูน และเปลี่ยนเพดานใหม่ พร้อมทั้งติดตั้งโคมไฟ ปูพื้นด้วยหินอ่อน จุดเด่นสำคัญของวัดโพธิ์… Read More »