Category Archives: วัดวาอาราม

ปางถวายพระเพลิง พระพุทธรูปนอนหงาย วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ

  YouTube : FaithThaiStory   วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวที่วัดราชคฤห์วรวิหาร แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพราะสถานที่แห่งนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางหนึ่งที่หลายท่านไม่คุ้นเคย ที่เรียกกันว่า “ปางถวายพระเพลิง” (หลวงพ่อนอนหงาย) มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปนอนหงาย พระกรทั้งสองข้างแนบพระวรกาย กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งยังมีความสมบูรณ์อย่างมาก จากหนังสือประวัติวัดราชคฤห์วรวิหาร พ.ศ.2549 ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรี พระยาพิชัยดาบหัก ได้บูรณะวิหารเล็ก วัดราชคฤห์ จากนั้นได้ทำการบูรณะพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง หรือพระพุทธรูปนอนหงายองค์นี้ เพื่อเป็นการบำเพ็ญบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เพื่อนทหารที่ต้องล้มตาย เพราะตนเป็นต้นเหตุ ด้วยเชื่อว่าเป็นการชดใช้ถ่ายกรรมที่ได้ฆ่าคนตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ชาวบ้านจึงนิยมมากราบไหว้ขอถ่ายกรรมและขอพร เพื่อให้ประสบความสำเร็จ มีโชคลาภ แก้ร้ายให้กลายเป็นดี ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคลมายาวนาน พระพุทธรูปปางนี้ เป็นการสร้างตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพาน จึงได้อัญเชิญพระบรมศพประดิษฐานที่มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา เพื่อถวายพระเพลิง แต่ไม่สามารถประชุมเพลิงตามกำหนดการได้ จนกระทั่งพระมหากัสสปะเถระเดินทางมาถึงพร้อมเหล่าสาวก 500 รูป ได้ทำการสักการะพระบรมศพของพระพุทธเจ้า จึงสามารถถวายพระเพลิงได้ ดังนั้น พระพุทธรูปางนี้ จะมีการสร้างพระมหากัสสปะประคองอัญชลีที่เบื้องพระพุทธบาทอยู่เสมอ ในหลายสถานที่ การสร้างพระพุทธรูปปางนี้ จะเป็นลักษณะโลงพระบรมศพแล้วมีพระพุทธบาทยื่นออกมาจากโลง ไม่มีลักษณะประทับบรรทมหงายเหมือนที่วัดราชคฤห์ เช่น วัดกลาง อ.นครหลวง อยุธยา, วัดอินทาราม กรุงเทพ, วัดสรรพยาวัฒนาราม ชัยนาท เป็นต้น ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook… Read More »

เจดีย์ร้างกลางทุ่งที่สร้างไม่เสร็จ วัดเจดีย์หัก นครหลวง อยุธยา

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวอันซีน ไปชมโบราณสถานวัดร้าง กลางทุ่งนา ณ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยคนในพื้นที่เรียกกันว่า “วัดเจดีย์หัก” ซึ่งหลงเหลือซากเจดีย์ตั้งโดดเด่นรายล้อมไปด้วยท้องทุ่งนาเกษตรกรรม และผมได้ทราบข้อมูลมาว่า เป็นเจดีย์ที่สร้างไม่แล้วเสร็จอายุราวร้อยกว่าปีมานี้เอง สร้างโดยหลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์ วัดบ้านชุ้ง แต่หลวงปู่ปลอดได้มรณภาพไปเสียก่อน ทำให้เจดีย์แห่งนี้สร้างไม่แล้วเสร็จ จึงถูกขนานนามกันว่า “วัดเจดีย์หัก” นับแต่นั้นมา คุณณัชทัพพ์ ทองคำ(เพจไสยไสยวิทยา) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัดเจดีย์หักไว้อย่างน่าสนใจ เพราะได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวมาจากแม่ยายของเขาเอง คือครูจินตนาซึ่งเป็นลูกหลานของหลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์  คุณณัชทัพพ์ให้ข้อมูลว่า วัดเจดีย์หัก ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ต.บางพระครู อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์นี้สร้างไม่แล้วเสร็จ เหลือแต่ฐานล่างและซุ้มมุขหน้า แต่ยอดไม่แล้วเสร็จเพราะหลวงปู่ปลอดท่านได้มรณภาพเสียก่อน เจดีย์หักของหลวงปู่ปลอด ปัจจุบันคนนอกถิ่นไม่ค่อยรู้จัก หลายคนอาจคิดไปว่าเป็นโบราณสถานสมัยอยุธยา ซึ่งแท้จริงแล้วสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง หลวงปู่ปลอด ท่านเป็นพระเกจิที่มีพลังจิตแก่กล้า เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่นวม วัดกลาง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระเถระสหธรรมิกกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ พระนครศรีอยุธยา และหลวงปู่กรอง วัดเทพจันทร์ลอย พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่ปลอด สุคันธจันทร์ เป็นพระผู้สร้างวัดบ้านชุ้งและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านเป็นสายบรรพบุรุษของตระกูล “ทองสาริ” ตระกูลคหบดีเจ้าของคานเรือ และที่นาจำนวนมากในพื้นที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่ปลอดท่านมีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ตั้งใจสร้างวัดและพระเจดีย์เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ในช่วงรัชกาลที่ 5 – 6 อีกทั้งท่านยังเป็นญาติและผู้อุปการะครูฟ้อน ดีสว่าง หรืออาจารย์ฟ้อน ประสะเลือด… Read More »

วัดอ้อย วัดเก่าแก่กว่า 400 ปี ริมแม่น้ำน้อย อ่างทอง

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดเก่าแก่สมัยอยุธยา อายุกว่า 400 ปีที่จังหวัดอ่างทอง นามว่า “วัดอ้อย” วัดอ้อยตั้งอยู่ที่ ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จากประวัติวัดกล่าวว่า เป็นวัดสมัยอยุธยา สร้างราวปี พ.ศ.2070 แต่ไม่พบบันทึกว่าใครเป็นผู้สร้าง การเดินทางครั้งนี้ ผมจอดรถไว้ปากซอยบ้านไผ่จำศีล ซอย 1 แล้วเดินเข้าไป เพราะรถยนต์ไม่สามารถขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำน้อยได้ จึงได้พบความโดดเด่นของวัดแห่งนี้ ประกอบไปด้วยบรรยากาศท้องถิ่น ติดริมแม่น้ำน้อย ทำให้มีความเงียบสงบ เป็นการเดินทางที่ได้มีโอกาสสัมผัสความสวยงามทางธรรมชาติ ผสานความงดงามทางสถาปัตยกรรมของสิ่งปลูกสร้างอันโดดเด่น สิ่งปลูกสร้างสำคัญของวัด คือ พระอุโบสถขนาดใหญ่ แบบโบสถ์มหาอุด ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบโบราณที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หลังคาเป็นเครื่องไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบบกาบกล้วย ประดับเชิงชาย รอบอุโบสถมีใบเสมาคู่ ซึ่งจากการพิจารณามีทั้งแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนกลางและอยุธยาตอนปลาย บัวหัวเสาประดับด้วยบัวแวงที่เป็นแบบนิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน ภายในอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดปางมารวิชัย ขนานนามว่า หลวงพ่อดำ และประดิษฐานพระอันดับปางต่างๆอีกหลายองค์ ตำนานกล่าวว่า วัดอ้อยแห่งนี้ เคยเป็นวัดในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย วัดอ้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 การเดินทางครั้งนี้ ส่วนตัวผมมีความประทับใจในบรรยากาศและการจัดการของวัดแห่งนี้ แม้ว่าจะเป็นวัดในท้องถิ่นที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวสัญจรผ่าน แต่ทางวัดได้ดำเนินการให้ทุกท่านที่เดินทางไปถึง สามารถเข้าชมและสักการะภายในอุโบสถได้ทุกวัน โดยประตูอุโบสถไม่ได้ล็อคไว้ครับ ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube… Read More »

วัดใหญ่บ้านบ่อ สมุทรสาคร วิหารเก็บโบราณวัตถุสำคัญหลายชิ้น

YouTube : FaithThaiStory พาเที่ยวโบราณสถานวัดใหญ่บ้านบ่อ ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านบ่อ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ประวัติวัดจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเขียนไว้ว่า สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ.2264 มีโบราณสถานที่น่าสนใจได้แก่ อุโบสถเก่า, หอไตรกลางน้ำ และวิหารเก่าโบราณ อุโบสถเก่ามีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2472 เพราะระบุปีการบูรณะไว้ที่หน้าบันด้วย มีการซ่อมแซมมุงหลังคาและซุ้มประตูใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2512 โดยมีพ่อเล็ก แม่หมา โพธิ์บุญ และพ่อบุญส่ง แม่ทองคำ ทองมาก มาสร้างพาไลด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงปูหินอ่อนใหม่ และในปี พ.ศ.2542 มีการบูรณะด้านในอุโบสถและปิดทององค์พระประธานใหม่ ภายในอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรม แต่ที่บานประตูมีการเขียนภาพโดยช่างท้องถิ่น หน้าอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาเลไลยก์ โดยรอบอุโบสถ มีใบเสมาคู่ ทำจากหินทรายแดงที่มีศิลปกรรมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นโบราณวัตถุสำคัญที่อาจจะใช้ยืนยันได้ว่า วัดแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจริงๆ ข้างอุโบสถ มีหอไตรไตรกลางน้ำมีความเก่าแก่ และโดดเด่นงดงามยิ่งนัก ทางวัดได้อนุรักษ์เสริมความแข็งแรงยกพื้นสูงขึ้น เพื่อให้คงอยู่คู่วัดยาวนานที่สุด โบราณสถานแห่งที่สามคือวิหารเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องบนและหลังคาทำจากไม้ มีพาไลยื่นออกมาด้านหน้า ประดับบัวแวงหัวเสา ที่เป็นศิลปกรรมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชี มีพระสาวกขนาบข้าง โดยรอบด้านในวิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชำรุดหลายองค์ รวมถึงเก็บรักษาโบราณวัตถุหลายชิ้น พระพุทธรูปองค์ใหญ่หลายองค์แตกชำรุดเศียรหายไป เห็นด้านในเป็นแกนไม้ และยังมีพระพุทธรูปเก่าองค์ขนาดเล็กอีกหลายองค์รวมอยู่ด้วย วิหารหลังนี้เปรียบเสมือนแหล่งเก็บโบราณวัตถุสำคัญหลายอย่างของวัดไว้ โบราณวัตถุสำคัญที่เก็บรักษาไว้ภายในอีกอย่างคือใบเสมา จึงอาจจะสันนิษฐานได้ว่า วิหารหลังนี้เคยเป็นอุโบสถมาก่อน ในวันที่ผมเดินทางไปนั้น เป็นช่วงที่ฝนตกชุก ประกอบกับหลังคาวิหารมีรอยรั่วหลายจุด ทำให้มีน้ำเจิ่งนองท่วมด้านใน ซึ่งทางวัดกำลังดำเนินการบูรณะรักษาโบราณสถานแห่งนี้ ให้คงทนแข็งแรงยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต … Read More »

วัดราษฎร์บำรุง(วัดหงอนไก่) โบสถ์โบราณสุดขลัง สมุทรสาคร

YouTube : FaithThaiStory วัดราษฎร์บำรุง หรือวัดหงอนไก่ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านคลองอ่อนใจ ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แรกเริ่มตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เมื่อราวปี พ.ศ. 2438 มีท่านสมภารเทียนเป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้าง นางพวง รอดสมหวัง เป็นผู้บริจาคที่ดินให้วัดจำนวน 16 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ดินสงฆ์ หมื่นยงค์ มักสันต์ และกำนันแก้ว จันทร์เต็มดวง เป็นผู้อุปถัมภ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2444 ภายในวัดมีโบราณสถานที่น่าสนใจคือโบสถ์หลังเก่าอายุมากกว่า 100 ปี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ไม่ทราบปีสร้าง มีพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ. 2450 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดค่อนข้างเล็ก มีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องว่าว มีพาไลมุงสังกะสียื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นด้านบนเป็นรูปเทพพนม ถัดลงมาเป็นหงส์สองตัวหันหน้าเข้าหากัน มีลวดลายดอกไม้ประดับด้วยเครื่องถ้วย และเครื่องลายครามแบบจีนที่เป็นแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนด้านล่างของหน้าบันเป็นรูปมังกรคู่หันหน้าชนกัน ปัจจุบันอุโบสถหลังเก่าไม่ได้ใช้งานกลายเป็นอาคารร้าง และมีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ใช้งานทดแทนหลังเดิม มีพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อปี พ.ศ.2512 อุโบสถหลังเก่ากรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ในวันเดินทาง ผมเห็นอุโบสถหลังเก่ามีสภาพทรุดโทรมหนัก หลังคารั่วและพังหลายจุด มีน้ำขังภายในและโดยรอบ ถ้าปล่อยไว้สภาพเช่นนี้ นานไปคงพังทลายลงมา ในวันนี้อาจจะยังสามารถแก้ไขเพิ่มเติมความแข็งแรง… Read More »

วัดโชติการาม โบสถ์โบราณทรงวิลันดา เมืองนนทบุรี

YouTube : FaithThaiStory พาเที่ยวนนทบุรี ชมโบราณสถาน วัดโชติการาม เดิมชื่อว่า “วัดสามจีน” ตั้งอยู่ที่ ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อราวปี พ.ศ.2350 โดยชาวจีนสามคน ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระยาโชฎึกราช(บุญมา) และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโชติการาม จากรูปแบบสถาปัตยกรรมมีการสืบทอดรูปแบบมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โบราณสถานสำคัญในวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ประธาน และวิหาร ซึ่งตั้งเรียงกันในแนวทิศเหนือและใต้ อุโบสถเป็นอาคารทรงวิลันดา เป็นอาคารขนาดเล็ก หน้าบันใช้การก่ออิฐประดับลวดลายปูนปั้นแทนจั่วไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีภาพปูนปั้นหน้าบันเล่าเรื่องราวในชาดกเรื่อง ภูริทัตชาดก ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่ามกลางลวดลายพรรณพฤกษา ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย และหมู่พระพุทธรูปอีกหลายองค์ เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สร้างบนฐานประทักษิณ 2 ชั้น ระเบียงฐานประทักษิณตกแต่งด้วยกระเบื้องปรุลายจีน มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ เจดีย์มีชุดฐานสิงห์ซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น เป็นรูปแบบที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย วิหารเป็นอาคารขนาดเล็ก บานประตูด้านนอกแกะสลักรูปทวารบาลแบบจีนยืนบนสิงโต บานหน้าต่างด้านนอกตกแต่งลายรดน้ำ ด้านในบานประตูและหน้าต่างเขียนภาพแจกันทรงสูงใส่ดอกไม้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3-4 เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าและภาพในพุทธประวัติ จากการสำรวจทางโบราณคดีรอบอุโบสถและเจดีย์ประธาน โดยกรมศิลปากร พบว่ามีการสร้างและบูรณะ 3 ระยะ ได้แก่ แรกสร้างวัด สันนิษฐานสร้างราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงรัชกาลที่… Read More »