Category Archives: วัดวาอาราม

วัดวิหารทอง วัดร้างเหลือเจดีย์ลวดลายปูนปั้นสวยงาม ที่อยุธยา

https://youtu.be/BSU0CYjeLLs https://youtu.be/FUTJqgE2PIs  วัดวิหารทอง วัดร้างเหลือเจดีย์ลวดลายปูนปั้นสวยงาม ที่อยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและสนใจเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยววัดร้างอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานามว่า วัดวิหารทอง ซึ่งเหลือองค์เจดีย์ตั้งโดดเด่นแต่หลบสายตาผู้คนเพราะอยู่ในเขตของบริษัทเอกชน… ความพิเศษคือเป็นเจดีย์ที่มีลวดลายปูนปั้นหลงเหลือให้เห็นถึงความสวยงามวิจิตรอย่างมาก จึงจะพาทุกท่านเดินทางไปเที่ยวชมกันครับ ก่อนจะเดินทางขอกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดดราม่าเสียก่อน แม้ว่าองค์เจดีย์ตรงนี้จะอยู่ในเขตบริษัทเอกชน แต่พื้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว ดังนั้นบริษัทเอกชนตรงนี้จะชำระค่าเช่าที่ดินต่อกรมศาสนาทุกปี และดูแลเจดีย์นี้ให้คงเดิมตลอดไป…ดังนั้นขอให้เข้าใจว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว ชาวบ้านก็ต้องทำมาหากิน ถ้าจะอนุรักษ์หมดทั้งกรุงเก่า คงต้องไล่คนหนีให้หมดกลายเป็นเมืองร้างล่ะครับ… เข้าใจตามนี้นะครับ… การเดินทางให้ใช้เส้นทางผ่านวัดวงษ์ฆ้อง มาที่บริษัทนิวอธิปัตย์ ซึ่งเป็นบริษัทรถทัวร์ท่องเที่ยว เจดีย์องค์นี้จะอยู่ภายในบริษัทนี้ครับ การสำรวจของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ จากข้อมูลในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” โดยอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนบันทึกการสำรวจวัดร้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยารวมถึงวัดวิหารทองไว้ด้วย ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ เมื่อปี พ.ศ.2501 อาจารย์ น. ณ ปากน้ำเคยเข้ามาสำรวจ พบว่ามีเจดีย์ทรงปรางค์ขนาดย่อมทรงสูงอยู่หนึ่งองค์ มีซากอุโบสถ เห็นเสาแปดหลี่ยม บัวหัวเสาเป็นรูปกลีบบัวละเอียด หลังอุโบสถมีซุ้มจระนำ พระประธานเป็นพระปูนปั้นมีเรือนแก้วประกอบติดผนัง ภายในเรือนแก้วทาสีเสน พบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบลูกฟูก และพระพุทธรูปทำด้วยศิลาทรายขนาดเท่าคนจริง ได้เห็นวิธีเรียงอิฐเสาแปดเหลี่ยม โดยเขาเอาอิฐปลายด้านหนึ่งปาดให้เป็นเส้นเฉียงแล้วนำมาวางสลับกันให้สองด้านชนกัน จะกลายด้านหนึ่งเป็นแปดเหลี่ยม ขนาดอิฐที่เคยวัดได้มีขนาด 32 x 16 x 6 เซนติเมตร แซมด้วยอิฐเล็กขนาด 26 x 14 x 4 เซนติเมตร และมีอิฐใหญ่พิเศษขนาด 35… Read More »

วัดกุฏิ(วัดร้าง) จุดเริ่มต้นการรัฐประหารของพระเจ้าปราสาททองในสมัยอยุธยา

https://youtu.be/M4QAFOwzkZ8 วัดกุฏิ(วัดร้าง) จุดเริ่มต้นการรัฐประหารของพระเจ้าปราสาททองในสมัยอยุธยา… วันนี้ผมจะพาทุกท่านออกเดินทางไปตามหาวัดร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีความเกี่ยวข้องกับการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2171 – 2173) วัดกุฏิ(ร้าง) ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาฝั่งตะวันตก ใกล้กับวัดมหาไชย ก่อนที่จะเดินทางไปตามรอยพื้นที่วัดกุฏิ(ร้าง) ผมได้เดินทางไปที่ถนนหน้าวังตรา ซึ่งมีสมญานามว่า “ถนนสายปฏิวัติสมัยอยุธยา” เพราะถนนเส้นนี้ติดกำแพงพระราชวังหลวงนั่น ปัจจุบันนี้มีการขุดสำรวจบริเวณถนนหน้าวังตราเพิ่มขึ้น (พ.ศ.2561) ถนนหน้าวังตราอยู่ติดวังหลวง จึงเป็นเส้นทางแห่งการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินในสมัยอยุธยา… ผมมายืนสนทนาเรื่องราวเกี่ยวกับการรัฐประหารเปลี่ยนแผ่นดินกับทีมเดินทางที่ถนนหน้าวังตรา ท่านผู้อ่านสามารถชมการสนทนาได้จากคลิปด้านบนที่ผมติดไว้ให้นะครับ ตามประวัติในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงวัดกุฏิ (ร้าง) ไว้ว่า วัดนี้เป็นสถานที่ปลงศพมารดาของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) ซึ่งพิธีปลงศพนั้นมีข้าราชการฝ่ายพลเรือนไปร่วมงานกันมาก จนสมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงแคลงพระทัยและคิดที่จะกำจัดเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เสีย ครั้นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ทราบความดังนั้นก็น้อยเนื้อต่ำใจที่สู้อุตส่าห์ถวายความจงรักภักดีมาตลอด จึงได้ประกาศว่าเมื่อพระเจ้าแผ่นดินว่าเราเป็นกบฏก็จะทำตามรับสั่ง ฝ่ายขุนนางที่นิยมชมชอบในเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็เข้าร่วมในการรัฐประหารนั้นด้วย หลังประชุมเพลิงศพมารดาแล้ว ก็ยกขบวนเรือจากวัดกุฎิพร้อมด้วยขุนนางและทหารกว่าสามพันคนขึ้นบกที่ประตูไชยใต้เกาะเมืองบริเวณปากคลองฉะไกรใหญ่ ซุ่มพลแถวตะแลงแกงก่อนเคลื่อนพลยึดพระราชอำนาจสมเด็จพระเชษฐาธิราชที่พระราชวังหลวง แล้วสถาปนาพระอาทิตยวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์แทน แต่ที่สุดเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในปี พ.ศ.๒๑๗๒ เมื่อมาชมพื้นที่ถนนหน้าวังตรากันแล้ว ผมจึงเดินทางไปชมพื้นที่ของวัดกุฏิ(ร้าง)ต่อไป วัดกุฏิ(ร้าง) ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาฝั่งตะวันออก ติดกับวัดสนามไชย…ท่านผู้อ่านสามารถเดินทางไปตามเส้นทางวัดไชยวัฒนาราม ครับ จากการลงพื้นที่ตามรอย พบเศษอิฐเก่าและซากพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ตั้งในชุมชนหลังวัดสนามไชย… จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่พบเหลือเพียงซากอิฐปูนเพียงเล็กน้อย แต่แฝงไปด้วยเรื่องราวที่เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในสมัยอยุธยา ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ… ช่องทางการติดตามเรื่องราว ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel FaithThaiStory ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory แบ่งปันเรื่องราวการท่องเที่ยววัดที่กลุ่ม รวมพลคนชอบเที่ยววัด เว็บไซต์หลัก ที่ www.faiththaistory.com

วัดนก สถานที่ตั้งบ้านเรือนของครัวมอญและญาติโยมของมหาเถรคันฉ่องในสมัยอยุธยา

https://youtu.be/0WjAgcWElyQ วัดนก สถานที่ตั้งบ้านเรือนของครัวมอญและญาติโยมของมหาเถรคันฉ่องในสมัยอยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ติดกับวัดมหาธาตุ อยุธยา มีเรื่องราวการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นสถานที่ตั้งบ้านเรือนของญาติโยมมหาเถรคันฉ่อง… จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าเดินทางไปเก็บภาพบรรยากาศครั้งนี้ครับ ผมเดินทางในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2561 จอดรถที่วัดราชบูรณะ แล้วเดินผ่านเจดีย์เจ้าอ้าย เจ้ายี่ อนุสรณ์แห่งความเศร้าที่ทั้งสองพระองค์ทำยุทธหัตถีแย่งชิงพระราชสมบัติแล้วสิ้นพระชนม์ทั้งคู่… จากนั้นผ่านมาวัดมหาธาตุ แล้วเดินเลียบกำแพงวัดมหาธาตุฝั่งขายตั๋วเข้าชมโบราณสถานไปเล็กน้อย ก็จะเจอกับวัดนกแล้วหล่ะครับ ท่านสามารถชมคลิปวีดีโอประกอบที่ผมติดไว้ให้ด้านบนบทความนี้ พื้นที่วัดนก ปัจจุบันประกอบไปด้วยวิหาร มีซากพระพุทธรูปหินทราย และปรางค์ประธานขนาดเล็กหลังวิหาร จากหนังสืออยุธยาที่ไม่คุ้นเคย ได้เขียนไว้ว่า วัดนกปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรทรงนำพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติ พระยารามและครัวมอญจากเมืองแครงลงมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓) พระราชบิดา จึงโปรดให้ครัวมอญและญาติโยมของพระมหาเถรคันฉ่องไปตั้งบ้านเรือนอยู่หลังวัดนก ส่วนพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเป็นผู้นำพระยาเกียรติ พระยารามมาเฝ้าเพื่อทูลข้อราชการลับของฝ่ายพม่าให้สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบถึงแผนการลอบปลงพระชนม์พระองค์นั้น ก็โปรดให้ไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุข้างวัดนกนั่นเอง นอกจากนี้ ในเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวงได้ระบุว่า หลังวัดนกไปจนถึงหน้าวัดโพง เป็นตลาดมอญ ซึ่งเป็นย่านขายเครื่องทองเหลือง เช่น ขัน ถาด พาน เป็นต้น ปัจจุบันวัดโพง ก็เป็นวัดร้างตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดนก โดยมีบึงพระรามกั้นอยู่… จากเรื่องราวการบันทึกจึงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะมีความคึกคักคักอย่างมากในสมัยอยุธยา เพราะเป็นแหล่งความเจริญ ย่านตลาด และวัดสำคัญคือวัดมหาธาตุ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวพอสังเขปที่ผมได้พาทุกท่านเดินทางไปจินตนาการถึงเรื่องราวในอดีต ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ ช่องทางการติดตามเรื่องราว ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel FaithThaiStory ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory แบ่งปันเรื่องราวการท่องเที่ยววัดที่กลุ่ม… Read More »

ตามรอยทะเลดึกดำบรรพ์ ซากฟอสซิลอายุหลายล้านปี วัดรัตนประกาศิต สระบุรี

https://youtu.be/Zte_ZiYt9wE ตามรอยทะเลดึกดำบรรพ์ ซากฟอสซิลอายุหลายล้านปี วัดรัตนประกาศิต สระบุรี… สวัสดีครับวันนี้ผมจะพาทุกท่านเปลี่ยนบรรยากาศเดินทางไปตามรอยโลกดึกดำบรรพ์กันสักหน่อย เพื่อไปชมซากฟอสซิลอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งปรากฏบนโขดหินปูนแถบจังหวัดสระบุรี … ซึ่งสอดคล้องตามข้อมูลทางวิชาการระบุว่าพื้นที่แถบสระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา เคยเป็นทะเลดึกดำบรรพ์มาก่อน… ก่อนหน้านี้ผมเคยเดินทางไปที่วัดคีรีนาครัตนาราม ลพบุรี ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีการสำรวจจากรมทรัพยากรธรณี และพบซากฟอสซิลเช่นกัน… การเดินทางผมใช้ GPS นำทาง โดยตั้งจุดหมายไปที่ วัดรัตนประกาศิต เส้นทางจะผ่านอุโมงค์ต้นไม้ด้วยหล่ะครับ… บรรยากาศระหว่างเดินทางจะผ่านขุนเขาธณรมชาติดูร่มรื่นดีมาก ถูกใจคนชอบบรรยากาศธรรมชาติครับ ท่านที่เดินทางมาถึง ไม่ต้องเข้าไปถึงตัววัดก็ได้นะครับ เพราะจุดที่เราเดินชมซากฟอสซิลจะอยู่บริเวณทางเข้าวัด… ส่วนตัววัดจะถัดเข้าไปเล็กน้อย ซึ่งมีบรรยากาศเงียบมาก มีแต่เหล่าสุนัขเฝ้าวัด แถมเห่าไล่อีกต่างหาก เมื่อขับรถเข้ามา เราจะเห็นโขดหินปูนด้านขวามือ ซึ่งพบซากฟอสซิลกระจายอยู่ครับ แต่ต้องสังเกตุกันดีๆด้วย…เท่าที่ทราบข้อมูลพบว่ามีการสำรวจจากกรมทรัพยากรธรณีเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ สิ่งที่ผมเสียดายคือ น่าจะมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ถึงแหล่งฟอสซิลล้านปี เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไปได้ เพราะนักท่องเที่ยวหลายท่านไม่มีประสบการณ์ในการดูฟิสซิลรวมถึงตัวผมด้วย ทำให้เดินหาใช้เวลานาน ผมเดินวนเวียนหานานพอสมควร จึงมาเจอร่องรอยที่มีคนสำรวจได้วงไว้ ซึ่งจริงๆแล้วน่าจะมีอีกหลายจุด แต่ผมหาไม่เจอครับ ฮ่าๆ (ด้วยความอ่อนประสบการณ์) จากข้อมูลทางวิชาการพบว่ามีซากดึกดำบรรพ์พวกแอมโมนอยด์ (Ammonoids) ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) ชั้น Cephalopoda กลุ่มเดียวกับหมึกทะเลปัจจุบัน เป็นสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ไปหมดสิ้นแล้ว มีเปลือกค่อนข้างหนา ขอดเป็นวง และมีสิ่งประดับบนเปลือก เช่น ปุ่ม สันและหนาม เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีทั้งชนิดที่ลอยตามกระแสน้ำ ว่ายน้ำหรืออาศัยบนพื้นทะเล ส่วนใหญ่ลอยบนผิวน้ำทำให้สามารถพบได้ทั้งบริเวณทะเลตื้นและลึก พบตั้งแต่ปลายมหายุคพาลีโอโซอิก พบมากในมหายุคมีโซโซอิกและสูญพันธุ์เมื่อสิ้นยุคครีเทเชียส ************ ผมใช้เวลาเดินวนเวียนสักระยะในบรรยากาศที่เงียบเหงาสุดๆ เพราะมีผมและเหล่าสุนัขมองผมอย่าง งงๆ… Read More »

วัดมหาทลาย (วัดร้าง) อยุธยา วัดที่รัชกาลที่ ๑ ทรงผนวช

https://youtu.be/VlNxKUrbIVA วัดมหาทลาย อยุธยา วัดที่รัชกาลที่ ๑ ทรงผนวช… สวัสดีครับวันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมโบราณสถานแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถ้ามองดูซากที่ยังหลงเหลือ ก็จะเหมือนโบราณสถานทั่วๆไปในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา… แต่ถ้าเราได้ทราบถึงประวัติความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ จะเป็นการเพิ่มอรรถรสในการเดินทางมากยิ่งขึ้น เช่น วัดมหาทลายแห่งนี้ ที่ปรากฏชื่อว่าเป็นสถานที่ทรงผนวชของรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเดินทางวันนี้ผมจะไปยังวัดมหาทลาย ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตของสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประวัติวัดมหาทลายจากป้ายกรมศิลปากร วัดมหาทลายตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศตะวันออก ในพื้นที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โบราณสถานภายในวัดมหาทลายที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน (พ.ศ.2561) เหลือเพียงวิหารเพียงหลังเดียว โดยเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 7.60 เมตร ยาว 10 เมตร สันนิษฐานสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลางราวพุทธศตวรรษที่ 22 – 23 วิหารหลังนี้มีร่องรอยการยกระดับผนังและพื้นภายในอาคารให้สูงขึ้นซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากน้ำท่วมก็เป็นได้ ส่วนซากโบราณสถานอื่นๆ ได้พังทลายจนหมดสิ้นไปแล้ว วัดมหาทลาย ความเกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 (วันที่ 20 เดือน 4 ตามปีจันทรคติ) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายา (หยก) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1… Read More »

วัดเจ้าย่า อยุธยา ปริมณฑลดักสังหารท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศา

https://youtu.be/AlaDwW4-3wA วัดเจ้าย่า อยุธยา ปริมณฑลดักสังหารท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศา… สวัสดีครับผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยเรื่องราวที่มีความสำคัญมากที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นั่นคือการช่วงชิงอำนาจหรือการรัฐประหาร โดยการสังหารแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศา เพื่อการขึ้นครองพระราชสมบัติของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ วัดเจ้าย่าได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นปริมณฑลที่เชื่อได้ว่าเป็นจุดที่ล้อมดักสังหารท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาแล้วนำพระศพไปเสียบประจานที่วัดแร้ง ซึ่งห่างจากวัดเจ้าย่าไม่มากนัก ศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ได้กล่าวให้ความเห็นว่า มูลเหตุที่ทำให้เชื่อว่าบริเวณวัดเจ้าย่า เป็นจุดที่ดักจับตัวสังหารเพราะไม่มีจุดแยกของลำคลอง ทำให้การหลบหนีทำได้ลำบาก ถ้าเลยจากจุดนี้จะพบแยกคลองอีกหลายจุด ซึ่งมีโอกาสพลาดในแผนสังหารที่ได้เตรียมขึ้น การวางแผนสังหารครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการวางแผนที่รัดกุมอย่างมาก โดยมีขุนพิเรนทรเทพซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นแม่ทัพในการดำเนินแผนนี้ ซึ่งต้องถือว่าเป็นความลับที่สุดยอด จนทำให้ฝ่ายขุนวรวงศาและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ไม่ระแคะระคายเลยแม้แต่น้อย ก่อนการวางแผนสังหาร ได้มีการเสี่ยงเทียนที่วัดป่าแก้ว (เชื่อว่าคือวัดใหญ่ชัยมงคล) เพื่อทำนายว่าแผนการนี้ใครจะมีบารมีมากกว่ากัน ระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและขุนวรวงศา ซึ่งผลการเสี่ยงเทียนออกมาว่า พระมหาจักรพรรดิมีบารมีมากกว่า จึงได้เกิดการวางแผนลับสุดยอดนี้ แผนการอันแยบยลมีการวางแผนโดยล่อลวงว่ามีช้างเผือกมาติดเพนียด ทำให้ขุนวรวงศาเสด็จมาทางเรือเข้าสู่คลองสระบัวเพื่อมาคล้องช้างเผือกเสริมบารมี แต่สุดท้ายนั่นคือจุดจบแห่งชีวิตเพราะเกิดการรัฐประหารผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน สถานที่นี้จึงเป็นจุดประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ที่มีผู้คนให้ความสนใจ แต่น้อยคนจะได้เดินทางไปชมสถานที่จริง ซึ่งผมจะเป็นผู้พาไปชมเองครับ ประวัติวัดเจ้าย่า (ตามป้ายกรมศิลปากร) วัดเจ้าย่าตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศเหนือ ริมฝั่งตะวันออกของคลองสระบัว ปัจจุบันวัดมีถนนตัดผ่านกลางวัด จึงแบ่งพื้นที่วัดออกเป็น 2 ส่วน มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธานวัด ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานเป็นวิหาร และด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธานเป็นอาคาร 2 ชั้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาในเอกสาร แต่จากการศึกษาทางโบราณคดีสรุปได้ว่า วัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นและถูกทิ้งร้างเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ.2310 และถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งมาถูกทิ้งร้างอีกครั้งราวสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะมีบทความโดยคุณเทพ สุขรัตนี นักโบราณคดี บันทึกการสัมภาษณ์ผู้คนในพื้นที่ และพิมพ์ในนิตยสารศิลปากร เมื่อปี 2505 ไว้ว่า… Read More »