Category Archives: วัดวาอาราม

อุทยานพุทธประวัติ วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ฉะเชิงเทรา

https://youtu.be/BNc0Gsj7dK8 อุทยานพุทธประวัติ วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ฉะเชิงเทรา… สวัสดีครับท่านที่รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมอุทยานพุทธประวัติซึ่งก่อสร้างไว้สวยงามภายในป่า ในเขตวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ และได้ศึกษาถึงเรื่องราวพุทธประวัติบางตอนอีกด้วย วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไม้แก่น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เส้นทางสะดวกดีครับ ประวัติวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์จากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรได้เขียนไว้ว่า  วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ตั้งเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 ชาวบ้านเรียกว่า วัดโกรกอีเหลือง เดิมพระภิกษุวงษ์ อินทสโร ร่วมกับชาวบ้านสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นมาก่อนเมื่อปีพ.ศ.2500 และต่อมาได้รับอนุญาตให้สร้างวัดในปี พ.ศ.2525 แรกเริ่มก่อสร้างอุโบสถและศาลาการเปรียญ เจ้าอาวาสรูปต่อมาคือ พระครูจันทรปุญญากร ได้บูรณะอุโบสถจนแล้วเสร็จ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 เป็นวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว นอกจากมีบรรยากาศร่มรื่นแล้ว ยังได้ศึกษาพุทธประวัติไปในตัวอีกด้วย จุดแรกคือปางประสูติ ซึ่งจะอยู่หลังอาคารเรียนพระปริยัติธรรม  ปางประสูติมีเรื่องราวในพุทธประวัติว่า พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตเทวโลก เสด็จปฏิสนธิในพระครรภ์พระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์แก่ได้เสด็จกลับไปคลอดที่กรุงเทวหะ ซึ่งเป็นบ้านเกิด เมื่อเสด็จถึงลุมพินีวันซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวหะ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ วันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพระพุทธศักราช 80 ปี ในเวลาใกล้เที่ยง พระนางก็ประสูติพระราชโอรส ณ โคนต้นสาละ ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ เมื่อประสูติพระราชกุมารก็อยู่ในอิริยาบถยืนหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จย่างพระบาทไป 7 ก้าว… Read More »

ซากวัดจมใต้น้ำเขื่อนป่าสัก โผล่ให้เห็นจากภัยแล้ง – วัดหนองบัว(ใหญ่) ลพบุรี

https://youtu.be/fqIUimCrUCk วัดหนองบัว(ใหญ่) ลพบุรี ซากวัดจมใต้น้ำเขื่อนป่าสัก โผล่ให้เห็นจากภัยแล้ง… สวัสดีครับ ท่านผู้รักการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปพบกับความ Unseen ของซากวัดที่จมใต้น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กว่า 20 ปี ได้โผล่ให้เห็นอีกครั้งจากวิกฤตการณ์ภัยแล้ง (ขณะเขียนบทความ ปี พ.ศ.2562) ผมได้ทราบข่าวจากหลายสำนักข่าวว่า เกิดวิกฤตการณ์ภัยแล้ง น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลดลงไปเหลือเพียง 4% (จากความจุ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือเพียง 38 ล้านลูกบาศก์เมตร) เป็นเหตุให้เกิดสภาพสันดอนใต้น้ำปรากฏให้เห็น รวมถึงซากวัดหนองบัว(ใหญ่) ที่ตั้งอยู่ที่ ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สร้างขึ้นสืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 การก่อสร้างเขื่อนป่าสักฯ ดังกล่าว ทำให้ต้องมีการเวนคืนและย้ายชุมชนเพื่อทำการกักเก็บน้ำสร้างเขื่อน ซึ่งวัดหนองบัว(ใหญ่) ก็เป็นหนึ่งในสถานที่… Read More »

วัดขนอนใต้ พระพุทธบาทสี่รอยใหญ่ที่สุดในไทย

https://youtu.be/IhCAR3h6_yo วัดขนอนใต้ พระนครศรีอยุธยา พระพุทธบาทสี่รอยใหญ่ที่สุดในไทย… สวัสดีครับท่านที่รักการท่องเที่ยวทาวัฒนธรรม ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนบทความ วัดขนอนเหนือ ไปแล้วว่ามีตำนานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ในบริเวณด่านเก็บอากรในสมัยอยุธยา ผมจึงจะพาเที่ยววัดขนอนใต้ ซึ่งอยู่ใกล้กันอีกวัดหนึ่ง และมีตำนานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นจากเครือญาติของพระสีหนาถเดโช ผู้สร้างวัดขนอนเหนือนั่นเอง วัดขนอนใต้มีเรื่องราวที่น่าสนใจหลายอย่าง ได้แก่ ค้างคาวแม่ไก่ที่อาศัยอยู่ในวัดจำนวนมาก, พระเกจิในอดีต (หลวงปู่สาย), และพระพุทธบาทสี่รอยจำลองขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผมเดินทางมาถึงวัดขนอนใต้ มีบรรยากาศที่ดีมากๆครับ เห็นบ้านเรือนริมคลองโพธิ์เหมือนแถบชนบท ที่วิหารจตุรมุขประดิษฐานหลวงพ่อขาว และรูปหล่อหลวงพ่อสาย อดีตเจ้าอาวาส และเป็นพระเกจิที่ร่ำเรียนวิชามาจากหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา เรื่องราวการสร้างพระพุทธบาทสี่รอย เกิดขึ้นจากเมื่อครั้งพระสงฆ์จากวัดขนอนใต้จำนวน 27 รูป นำโดยพระอาจารย์ตาบ ได้ออกธุดงค์ไปทางเหนือ เพื่อจำลองรอยพระพุทธบาทสี่รอย ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และกลับมายังวัดขนอนใต้ ราวปี พ.ศ.2448 และทำการหล่อรอยพระพุทธบาทแล้วเสร็จใน ปี พ.ศ.2450 โดยมีความยาวประมาณ 11 ศอก 1 คืบ, กว้าง 4 ศอก 1 คืบ เมื่อเดินไปบริเวณหลังวิหารจะเห็นค้างคาวแม่ไก่เป็นจำนวนมาก ส่งเสียงร้องไปทั่วบริเวณ เป็นอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยี่ยมชม และมีประวัติว่าในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสมาชมค้างคาวแม่ไก่ ที่วัดขนอนใต้อีกด้วย ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๒ ในหลวงรัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมค้างคาวแม่ไก่ที่วัดขนอนใต้ แจ้งในจดหมายเหตุกล่าวไว้ในพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วัน ๗ฯ ๑๒ ค่ำ… Read More »

วัดขนอนเหนือ ด่านอากรสมัยอยุธยา จิตรกรรมโบราณ หลวงพ่อพรหมเกจิดัง

https://youtu.be/X7HxR7yOBNo วัดขนอนเหนือ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ด่านอากรสมัยอยุธยาและหลวงพ่อพรหมพระเกจิดังในอดีต… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านไปท่องเที่ยวยังวัดขนอนเหนือ ที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ว่าเคยเป็นด่านขนอนหรือด่านภาษีอากรทางน้ำในสมัยอยุธยา(คลองโพธิ์) มีภาพจิตรกรรมโบราณในอุโบสถและเรื่องราวของพระเกจิชื่อดังในอดีต “หลวงพ่อพรหม ติสสเทโว” เคยจำพรรษาที่นี่  ตำนานกล่าวว่า วัดขนอนเหนือได้สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยนายประทุมซึ่งมีตำแหน่งพระยาสีหราชเดโช เป็นผู้สร้างวัดและมีชื่อว่า “วัดประทุมสิงขร” ต่อมาเรียกชื่อ “วัดขนอนเหนือ” ในภายหลัง นอกจากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้ว ภายในอุโบสถยังพบกับความสวยงามของจิตรกรรมโบราณ แม้จะมีบางส่วนที่เสียหายจากความชื้นอยู่บ้าง จิตรกรรมหลังพระประธานเป็นภาพเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวึงส์ และปราสาทต่างๆบนสวรรค์ ช่องว่างระหว่างประตูเขียนภาพพระมาลัยโบรดสัตว์นรก ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพพระพุทธเจ้าชนะมาร ส่วนผนังด้านข้างทั้งสองตอนบนจะเขียนภาพวิทยาธรและเทพชุมนุมนั่งประนมมือไปทางพระประธาน ถัดลงมาเป็นภาพพุทธประวัติ ภาพจิตรกรรมสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพจิตรกรรมด้านล่างมีความเสียหายไปเป็นแนวทั้งแถบ ที่เกิดจากความชื้นเป็นที่น่าเสียดายมากครับ… ซึ่งน่าจะเกิดจากบริเวณรอบอุโบสถมีการเทปูนซีเมนต์และปูกระเบื้อง ทำให้ความชื้นไม่มีช่องระบายจนประทุออกมาที่ผนังอุโบสถและทำให้ภาพจิตรกรรมเกิดความเสียหายได้ นอกจากภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่าภายในอุโบสถแล้ว ที่วัดขนอนเหนือยังมีเรื่องราวของพระเกจิชื่อดังในอดีตคือ “หลวงพ่อพรหม ติสสเทโว” ซึ่งสืบทอดสายวิชาสายวัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา หลวงพ่อพรหมสมัยเด็ก ร่ำเรียนที่โรงเรียนวัดขนอนเหนือ และก็ร่ำเรียนวิทยาคมจากบิดาเพราะว่าบิดาของท่านเป็นศิษย์ของขรัวตาแสง วัดน้อยทองอยู่ กรุงเทพฯ (หลวงตาแสงสืบทอดวิชาจากวัดประดู่ทรงธรรม) ทำให้หลวงพ่อพรหมแรกเริ่มได้ร่ำเรียนวิชาสายวัดประดู่ทรงธรรมจากบิดานั่นเอง หลวงพ่อพรหม ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่  20  ตุลาคม  พ.ศ. 2456 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11  ปีฉลู  อุปสมบทในเดือน 6  ตรงกับปี พ.ศ. 2479  อายุ 23 ปี    พระครูสารกิจ(ฟัก)… Read More »

วัดสุทธาวาส วิหารพระพุทธบาทและพระพุทธฉายเก่าแก่ที่สิงห์บุรี

https://youtu.be/_EoI77rpSls วัดสุทธาวาส สิงห์บุรี มีโบราณสถานที่น่าสนใจได้แก่ อาคารที่ประกอบด้วยประติมากรรมพระพุทธฉาย ภายในมีประติมากรรมปางถวายพระเพลิงและวิหารพระพุทธบาท  สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังจังหวัดสิงห์บุรี ที่มีโบราณสถานน่าสนใจรวมถึงภาพจิตรกรรมโบราณให้ได้ศึกษา นั่นก็คือ วัดสุทธาวาส วัดสุทธาวาส ตั้งอยู่ที่ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี การเดินทางสะดวกมากครับ สามารถใช้ GPS นำทางได้ และก็เช่นเดิม บรรยากาศภายในวัดเงียบสงบ ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าวัดจะเห็นอาคารโบราณสถานตั้งอยู่อย่างชัดเจนครับ ภายในอาคารโบราณสถานนี้ มีประติมากรรมปางถวายพระเพลิง (คล้ายกับที่วัดกลาง นครหลวง) ซึ่งวันที่ผมเดินทางไปชมนั้นมองไม่เห็นถึงประติมากรรมนี้ได้ชัดเจนนัก เพราะมีหญ้าขึ้นรก จึงได้ค้นหาภาพเก่าของอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ที่ได้มาสำรวจก่อนแล้วเมื่อปี พ.ศ.2541 ลักษณะจะเป็นโลงพระพุทธเจ้ามีพระบาทยื่นออกมา และพระมหากัสสปะเถระประคองอัญชลีที่พระบาท ภายในอาคารยังพบซากพระพุทธรูปหินทรายและปูนปั้นอยู่บางส่วน หลังจากชมอาคารโบราณสถานหน้าวัดแล้ว จุดต่อไป เราจะไปชมวิหารพระพุทธบาทภายในวัดกันครับ ภายในวิหารพระพุทธบาท มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวในพุทธประวัติตั้งแต่เสด็จหนีจากพระราชวังเพื่อออกผนวช จนกระทั่งการถวายพระเพลิง สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาบที่ 5 ด้านหน้าทางเข้าวิหารพระพุทธบาท มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยและปางป่าเลไลยก์ที่ชำรุดไปมากแล้ว ภาพจิตรกรรมจะมีสอดแทรกธรรมเนียมร่วมสมัยประกอบในพุทธประวัติ เช่นในภาพเสด็จหนีออกผนวช มีภาพธงช้างเผือกเป็นต้น  ภาพจิตรกรรมผนังฝั่งขวา จะเป็นภาพอธิบายพุทธประวัติหลังปรินิพพาน ซึ่งสอดแทรกธรรมเนียมร่วมสมัย มีกระบวนแห่พระบรมศพ, การถวายพระเพลิง และโทณะพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จิตรกรรมด้านบนทางเข้า จะเป็นภาพพระมาลัยบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กำลังสนทนากับพระอินทร์ มีพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์เป็นเจดีย์ประธาน หลังจากเที่ยวชมและเก็บภาพจิตรกรรมภายในวิหารพระพุทธบาทแล้ว จึงได้ออกเดินชมพื้นที่ภายในวัดครับ เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีความประทับใจเกี่ยวกับภาพจิตรกรรม ซึ่งแม้ไม่เก่ามากแต่สัมผัสได้ถึงความสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ จึงขอแนะนำให้ทุกท่านลองไปเก็บภาพเที่ยวชมกันครับ ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไป สวัสดีครับ…แอดมินตั้ม ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook… Read More »

วัดชมภูเวก จิตรกรรมพระแม่ธรณีงามที่สุดในไทย

https://youtu.be/RMg3KXaBmu0 วัดชมภูเวก นนทบุรี วัดที่ชาวมอญอพยพได้สร้างและกล่าวกันว่ามีจิตรกรรมแม่ธรณีงามที่สุดในไทย… สวัสดีครับท่านผู้รักการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมจะพาทุกท่านเที่ยวชมวัดแห่งหนึ่งในนนทบุรี ซึ่งพบว่ามีอัตลักษณ์รูปแบบของความเป็นมอญอยู่ที่วัดแห่งนี้ นั่นคือ “วัดชมภูเวก”  วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี มีรูปแบบความเป็นมอญปรากฏให้เห็นชัดเจนคือ ลักษณะของเจดีย์ทรงมอญที่เรียกว่า พระธาตุมุเตา จำลองแบบมาจากหงสาวดี จากประวัติในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 2 กล่าวว่า วัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2300 (อยุธยาตอนปลาย) โดยผู้สร้างเป็นกลุ่มชาวมอญที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและสร้างเจดีย์มุเตาขึ้นบนเนินอิฐ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาจากเมืองมอญ เรียกวัดนี้ว่า “วัดชมภูเวก” ซึ่งแปลว่า “ขอสรรเสริญบริเวณที่เป็นเนินสูงมีความสงบเงียบ” ในหนังสือประวัติวัดชมภูเวก เรียบเรียงโดยนายวีระโชติ ปั้นทอง ได้กล่าวว่า วัดสร้างขึ้นโดยชาวมอญกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และพบว่าบริเวณเนินดินเป็นเนินโบราณสถาน จึงพร้อมใจกันสร้างพระธาตุมุเตาเพื่อกราบไหว้บูชา และให้ชื่อว่า วัดชมภูเวก โดยมีมูลเหตุ อาจจะตั้งชื่อตามผู้นำในการสร้าง คือ พ่อปู่ศรีชมภู หรืออาจจะตั้งตามลักษณะภูมิประเทศที่มีต้นหว้าขึ้นอยู่มากมาย ซึ่งต้นหว้าตามภาษาบาลีใช้คำว่า ชมพู พระธาตุมุเตา เป็นเจดีย์ทรงมอญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุมุเตา เมืองหงสาวดี มีจารึกแผ่นหินอ่อนไว้ว่า “พระธาตุมุ๊ตาว” พระธาตุมุ๊ตาวที่วัดชมภูเวกพวกชาวมอญได้อพยพเข้ามาจากกรุงหงสาวดี รามัญประเทศ ได้สร้างพระเจดีย์เหมือนพระธาตุมุ๊ตาว ราวพุทธศักราช ๒๒๒๕ เพื่อให้สาธุชนได้เคารพกราบไหว้บูชา พระธาตุมุเตา สร้างครั้งแรกไม่ใหญ่มากนัก จนถึงปี พ.ศ.2485 มีพระครูลัยได้นำคณะสงฆ์จากเมืองมอญมาก่อสร้างเพิ่มเติม พร้อมกับสร้างเจดีย์ขนาดเล็กอีก 4 องค์ ไว้แต่ละมุมของพระธาตุมุเตา การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2460 และมีการบูรณะอีกครั้งในปี… Read More »