Category Archives: พระนครศรีอยุธยา

วัดสามกอ อยุธยา ตามรอยวัดเสด็จพระราชดำเนิน ในหลวงรัชกาลที่ ๙

https://youtu.be/ICMzw6fer4Y วัดสามกอ อยุธยา ตามรอยวัดเสด็จพระราชดำเนิน ในหลวงรัชกาลที่ ๙ สักการะหลวงพ่อโต วัดสามกอ … สวัสดีท่านผู้ติดตามครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยวัดเสด็จพระราชดำเนินของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่วัดสามกอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา … ผมต้องขอบอกก่อนว่า การเดินทางครั้งนี้ เป็นไปด้วยความบังเอิญ เพราะผมไม่ทราบมาก่อนว่า ที่วัดสามกอแห่งนี้ ในหลวง ร.๙ พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินมาแล้ว … เมื่อผมเดินทางมาถึงวัดสามกอ และเดินเข้าไปสักการะหลวงพ่อโตในพระวิหาร ซึ่งกำลังทำการบูรณะ ก็ได้พบการบันทึกเรื่องราวภายในพระวิหารไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2506 เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและสักการะหลวงพ่อโต จึงถือได้ว่า นอกจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป (หลวงพ่อโต) ก็ยังถือว่าเป็นการจารึกประวัติศาสตร์ว่าครั้งหนึ่ง ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระองค์ได้เสด็จมา นำความปลาบปลื้มแก่พสกนิกร ดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจ แด่ชาว อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นล้นพ้น… จุดแรกที่ผมเดินทางไปชมคือริมแม่น้ำน้อย เพื่อดูบรรยากาศบ้านเรือนริมน้ำ และวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ ดูแล้วก็สงบดีจริงๆครับ ณ บริเวณริมแม่น้ำน้อย ก็ยังมีวิหารพระโพธิสัตว์กวนอิม และรูปปั้นพระถังซัมจั๋ง ถ้าสังเกตุให้ดี ที่หน้าบันพระอุโบสถ จะมีสัญลักษณ์พระปรมาพิไธย ภ.ป.ร. ใกล้เคียงกับพระอุโบสถ จะเป็นวิหารหลวงพ่อโต ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ ขนานนามกันว่า “หลวงพ่อโต” และมีพระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙… Read More »

เที่ยววัดหน้าต่างนอก ตามรอยหลวงพ่อจง พระผู้ทรงอภิญญา

https://youtu.be/69DudDoq5b4 https://youtu.be/OYZsrxvCBXU สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปชมบรรยากาศตามรอยหลวงพ่อจง พุทธัสสโร แห่งวัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ที่หลายๆท่านก็คงจะรู้จักกันดี เนื่องจากท่านเป็นพระผู้ทรงอภิญญา และมีกิตติศัพท์โดดเด่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยนั้น จะมีพระเถราจารย์ที่ชาวบ้านให้ความศรัทธาและติดปากกันว่า “จาด-จง-คง-อี๋” ได้แก่หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ผมจึงได้ถือโอกาสนี้ ที่จะเดินทางไปวัดหน้าต่าง เพื่อไปชมบรรยากาศและกราบไหว้ระลึกถึงคุณหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ตั้งขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา หรือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๐ โดย หลวงปู่เณร เป็นผู้ก่อตั้ง วัดหน้าต่างนอกได้รับการรับรองสภาพวัดจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หนังสือรับรองที่ พศ ๐๐๐๓/๖๒๐๕ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยมี นางบุญศรี พานะจิตต์ เป็นรองผู้อำนวยการ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้เซ็นรับรอง เหตุที่ชื่อ “วัดหน้าต่างนอก” ก็มีการสันนิษฐานมาจากเหตุ ๒ ประการ คือ ประการที่ ๑ ในสมัยนั้นกองทัพพม่าที่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ตั้งค่ายใกล้กับสะพานสีกุก ทางกองทัพกรุงศรีอยุธยาก็ได้ให้ทหารหน่วยสอดแนมสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของกองทัพพม่า โดยให้ดูด้วยการเปิดหน้าต่าง หน้าต่างใน หมายถึง ใกล้ชายแม่น้ำน้อย ก็คือตรงที่ตั้งวัดหน้าต่างใน ส่วน หน้าต่างนอก ก็หมายถึง… Read More »

วัดสามบัณฑิต อยุธยา พระเจ้าตากมองไปยังพระนคร เห็นแสงไฟไหม้ลุกโชติช่วง

https://youtu.be/BC6r2gIStZU สวัสดีครับ ต้องบอกว่าห่างหายกันไปนานเลยทีเดียว ในภารกิจเที่ยววัดในตอนเส้นทางเดินทัพพระยาตากในอยุธยา เนื่องจากภารกิจการงานและการเดินทางท่องเที่ยวมากมายจนมาเขียนบทความไม่ทันกันเลยทีเดียว และเผลอลืมเรื่องราวไปบ้าง เผอิญว่านึกขึ้นได้ว่าได้เดินทางไปถ่ายรูปที่วัดสามบัณฑิตมาแล้ว จึงลุกขึ้นมาค้นหาภาพและเริ่มเขียนเรื่องราวการเดินทางเลยทันที เกรงว่าปล่อยไว้นานไปจะหลงลืมอีกครั้ง จากบทความก่อนหน้านี้ ในเรื่องวัดขุนทราย เส้นทางเดินทัพพระยาตากตอนที่ 4 ผมก็จะพาทุกท่านเดินทางไปต่อที่วัดสามบัณฑิต ซึ่งมีเรื่องราวการบันทึกว่าพระยาตากหรือพระยาวชิรปราการได้เดินทัพผ่านมา … ทั้งนี้ในส่วนของประวัติศาสตร์นั้น ตัวผมเองนั้นต้องบอกตามตรงว่าความรู้มีเท่าหางอึ่ง กรณีที่ผมนำเรื่องราวมาบันทึกไว้ จะแจ้งแหล่งอ้างอิงไว้แทน…ถ้าท่านผู้อ่านจะค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในเชิงลึก ก็คงต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมกันอีกครั้ง… ผมเป็นเพียงนักเดินทางท่องเที่ยว ที่จะนำเสนอเรื่องราวและภาพถ่ายให้แก่ท่านที่สนใจ เพื่อนำไปต่อยอดหรือใช้เป็นข้อมูลในการท่องเที่ยวได้ครับ… มาเข้าเรื่องกันต่อ ในตอนที่ 5 นี้ คือวัดสามบัณฑิต ผมเดินทางมาที่วัดแห่งนี้ 3 ครั้ง เนื่องด้วยระยะทางไม่ไกลจากที่ทำงานของผมนัก ผมจึงเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศได้บ่อยครั้ง บรรยากาศการเดินทางต้องบอกว่า มีสภาพบรรยากาศที่ได้สัมผัสท้องทุ่งของชาวบ้าน มีความเงียบสงบและสบายตาดีจริงๆ รถรานานๆทีจะผ่านมาสักคัน การเดินทางจะมีป้ายบอกเส้นทางตลอดแนว เนื่องจากทางจังหวัดได้กำหนดเส้นทางเดินทัพพระยาตาก เป็นเส้นทางท่องเที่ยววัดสำคัญในอยุธยา แต่ก็ต้องบอกตามตรงว่า เงี๊ยบเงียบครับ อาจจะเป็นเพราะว่าระยะทางห่างไกลจากเกาะเมืองพอสมควร อีกทั้งเส้นทางซอกแซก และไม่เป็นที่คุ้นเคยของนักท่องเที่ยวทั่วไปที่นิยมท่องเที่ยวในวัดที่มีชื่อเสียงในเกาะเมืองเป็นหลัก… ส่วนวัดรอบนอกนั้น บางครั้งเราก็ต้องทำใจ ซึ่งจะบังคับหรือกระตุ้นให้ใครสนใจ ก็เป็นเรื่องที่แสนลำบาก เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากใจเราเอง ขับรถต่อมาสักหน่อย ก็จะมองเห็นซุ้มประตูติดติมถนนอย่างชัดเจน เมื่อเลี้ยวรถเข้ามาตามเส้นทางเล็กๆ ผมก็ลุ้นว่าอย่าเพิ่งมีรถใหญ่สวนมา เพราะถนนนี้แคบมาก ถ้าตกข้างทางนี่บอกเลยงานเข้า และก็อย่างที่บอกครับ บรรยากาศเงียบๆเช่นนี้ ก็มีเพียงผมนี่แหละครับที่เดินทางมา … การเดินทางบรรยากาศแบบนี้ก็มีความสุขไปอีกแบบครับ ดูเงียบสงบ ได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น … แต่ละสิ่งก็มีทั้งข้อดีข้อเสียทั้งนั้น… เมื่อมาถึงวัด ก็ได้พบกับสภาพอันเงียบสงบ แม้แต่พระผมก็ไม่เห็น ซึ่งอาจจะเพราะการเดินทางครั้งแรกของผมในวันนี้… Read More »

เที่ยวสำรวจวัดช่องลม วัดร้างแถบคลองมหานาค ที่อยุธยา

https://youtu.be/fHVZvRlGEWs สวัสดีครับจากบทความเดิม ภารกิจเที่ยววัดร้าง Episode 1 เราจะพาไปชมวัดร้างกันต่อที่วัดช่องลม แถบคลองมหานาค … ที่วัดแห่งนี้ทีมนักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาเดินทางค้นหาสักระยะหนึ่ง โดยใช้วิธีการสอบถามชาวบ้านแถบนี้ ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดี วัดช่องลม เป็นวัดร้างแถบคลองมหานาคที่ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เคยเข้ามาทำการสำรวจพื้นที่แล้ว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 โดยมีบันทึกในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นอมตะ พิมพ์มาหลายครั้งเนื่องจากได้รับการเรียกร้องจากผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวโบราณสถาน รวมถึงนักศึกษารุ่นหลังๆ ด้วย หนังสือเล่มนี้ เป็นการพิมพ์ครั้งล่าสุดของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ ซึ่งผมก็ได้หาซื้อมาไว้เป็นจ้าของเช่นกัน ตามบันทึกในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ได้เขียนบันทึกไว้ว่า “เรือแล่นได้ มุ่งตรงไปยังตำบลภูเขาทอง แวะลอกลายที่หน้าบันวัดช่องลม เข้าไปเขียนในเล้าเป็ด และไปทำแผนผังฐานชุกชีอุโบสถเก่าซึ่งอยู่ในป่ารก ลวดลายปูนปั้นที่นี่สวยงามแปลกตา การวางลายเป็นแบบอิสระ ไม่เคยเห็นที่ไหน” ทีมนักท่องเที่ยวกลุ่มของเราเดินทางมายังวัดช่องลม ในเวลาราวๆเที่ยงวัน แม้จะมีแสงแดดอยู่บ้างแต่ก็สนุกสนานในการเดินทาง เส้นทางจะเข้ามายังในซอย และก็ได้สอบถามชาวบ้านที่บ้านหลังในรูปด้านบน ซึ่งก็ได้คำตอบว่าเดินเข้าไปด้านในซอยนี้ เมื่อเดินเข้าไปถึง ก็พบกับส่วนผนังหรือกำแพงด้านเดียว ที่มีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รอวันที่จะพังทลายลงไป มีช่องโหว่ขนาดใหญ่ 2 ช่อง และช่องหนึ่งรอยแตกราวไปจนถึงสุดด้านบน… ซุ่งรอยแตกร้าวนี้ดูแล้วน่าจะมีโอกาสทลายลงมาในอนาคต สภาพอีกด้านหนึ่ง จะเห็นศิลปะปูนปั้นที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ได้หลุดร่นไปตามกาลเวลา หายไปมากกว่าครั้งที่ อาจารย น. ณ ปากน้ำ เคยเข้ามาสำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2509 …… Read More »

ชมโบราณสถาน วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างที่อยุธยา

https://youtu.be/mgsFu1NpzrE สวัสดีครับ มาต่อกันกับเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยว สำรวจวัดร้าง Episode 1 ที่ผมยังค้างไว้ สำหรับครั้งนี้เราจะเดินทางไปชมพื้นที่วัดสี่เหลี่ยม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของอยุธยาในทุ่งลุมพลี วัดสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ติดถนน เห็นได้ชัดเจน กรมศิลปากรได้ติดป้ายชื่อวัดและแนะนำสถานที่คร่าวๆไว้ให้นักท่องเที่ยวได้อ่านกัน ในส่วนของพื้นที่จะเหลือเพียงพระอุโบสถ มีผนังอยู่ทั้งสี่ด้าน และมีร่องรอยการบูรณะโดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนหลังคาได้พังทลายมาหมดสิ้นแล้วทั้งหมด กลุ่มเราได้ใช้แผนที่ ที่ได้รับการอัพเดทใหม่ล่าสุด ปี พ.ศ. 2558 มาใช้ในการเดินทาง…ต้องยกเครดิตให้กลุ่มนักเดินทางที่พาผมไปในครั้งนี้ครับ ลักษณะพระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายราวๆ พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตกโดยมีผนังรับชั้นหลังคา จึงไม่ปรากฏเสาภายในอาคาร …แต่จะมีเสาพาไลด้านนอกอาคารรองรับชายคาที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร กลุ่มของเราเดินชมพื้นที่ ไม่นานเท่าไรนัก และก็แวะพักคุยกับชาวบ้านใกล้เคียง เฮฮา สนุกดีครับ … แม้ว่าเราจะไม่ทราบเรื่องราวความสำคัญของวัดแห่งนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่การท่องเที่ยวครั้งนี้ก็ทำให้ได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่แปลกตา และไม่เคยเห็นมาก่อน … ได้เพื่อนเพิ่มขึ้น ได้ศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์มากขึ้น และที่สำคัญได้ฝึกการเรียนรู้ ให้มีใจอนุรักษ์สมบัติของชาติได้มากขึ้นด้วย… แล้วพบกันใหม่ในบรรยากาศการท่องเที่ยว สบายๆ ตามสไตล์ ชิลๆ … สวัสดีครับ…   ช่องทางการติดตามเรื่องราว ภารกิจเที่ยววัด ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel ได้ที่ www.youtube.com/FaithThaiStory ร่วมแชร์ประสบการณ์การท่องเที่ยววัดด้วยกัน ได้ที่ กลุ่มรวมพลคนชอบเที่ยววัด

เที่ยวสำรวจวัดร้างสมัยอยุธยา วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค

https://youtu.be/oWjTw8j7kPY จากบทความเดิม ภารกินเที่ยววัด สำรวจวัดร้างอยุธยา Episode 1 เราก็มาต่อกันที่วัดป่าพลู แถบคลองมหานาค … สำหรับการเดินทางมาที่วัดแห่งนี้ เราได้ตามรอยมาจากหนังสือ “อยุธยา ที่ไม่คุ้นเคย” โดย ปวัตร์ นวะมะรัตน ที่ได้ตีพิมพ์ไว้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เป็นหนังสือที่ทำให้กระแสการอนุรักษ์เกิดขึ้นได้มากเลยทีเดียว ถือว่าเป็นหนังสือที่น่าซื้อหามาไว้อ่านเป็นความรู้ที่ดีมากเล่มหนึ่ง ซึ่งยังสามารถหาซื้อเป็นเจ้าของได้ตามร้านหนังสือทั่วไป กลุ่มของเราได้เดินทางมาถึงราวๆเที่ยงวัน ด้วยบรรยากาศที่ไม่ร้อนมากนัก ขับรถลัดเลาะมาทางวัดภูเขาทองและได้สอบถามคนในพื้นที่จนมาพบกับวัดป่าพลูตาม แผนที่ เมื่อเดินทางมาถึง จะเห็นเพียงโคกดินสูงและเศษก้อนอิฐโบราณที่กระจายทั่วไป อีกทั้งได้พบกระเบื้องเชิงชายที่แตกหักจำนวนหนึ่ง รวมถึงเศษซากพระพุทธรูป และลูกนิมิตโบราณอีก 2 ลูก ที่ชาวบ้านได้ทำการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธรูปที่ยังพอหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เราเดินทางเข้ามายังพื้นที่วัดป่าพลู ก็ได้พบกับยาย ที่เป็นชาวบ้านแถบนี้ และก็นั่งคุยเรื่องราวกันอย่างเป็นกันเอง ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีเลยครับ ผมได้เดินดูพื้นที่รอบๆ ก็จะเห็นเพียงเศษอิฐบางส่วน และศาลาพระพุทธรูปที่ชาวบ้านได้สร้างไว้ วัตถุโบราณที่มีให้เห็นคือเศษซากพระพุทธรูป แต่ส่วนเศียรนั้นได้หายไปแล้วครับ ลูกนิมิตโบราณ จะมีอยู่ 2 ลูกในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะที่ไม่กลมเหมือนกับปัจจุบันนี้ เราได้พบเศษกระเบื้องเชิงชายจำนวนหนึ่ง จึงได้เก็บรวบรวมไว้ และทำการโทรปรึกษาอาจารย์กรมศิลปากร และได้ส่งมอบทั้งหมดนี้ให้กับ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ประวัติวัดป่าพลู จากหนังสือ อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย โดยปวัตร์ นวะมะรัตน ได้เขียนไว้ว่า วัดป่าพลูแห่งนี้ไม่พบหลักฐานการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพราะมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ พ.ศ. 2091 มีความพอสังเขปว่า เมื่อครั้งศึกหงษาวดีตะเบ็งชเวตี้ ยกทัพเข้าล้อมพระนครในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091 –… Read More »