Category Archives: พระนครศรีอยุธยา

วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ วัดของสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรที่สาบสูญ เหลือเพียงชื่อในแผนที่

https://youtu.be/raWifsrc7L8 สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยหาวัดสำคัญวัดหนึ่งที่สาบสูญไปแล้วในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่โบราณและแผนที่ของกรมศิลปากร ระบุถึงตำแหน่งวัดแห่งนี้ไว้ ชื่อว่า “วัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ” คำว่าเจ้าฟ้าดอกเดื่อนี้ คืออีกชื่อหนึ่งของ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” นั่นเอง ที่มาของชื่อเจ้าฟ้าดอกเดื่อนั้น ตามพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ได้กล่าวว่า ขณะสมเด็จพระราชชนนีทรงครรภ์นั้น สมเด็จพระราชชนกทรงพระสุบินว่ามีผู้ถวายดอกมะเดื่อ ซึ่งพระองค์ทรงทำนายว่า “ดอกมะเดื่อเป็นคนหายากในโลกนี้” เมื่อพระราชโอรสประสูติ จึงพระราชทานนามว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร” ส่วนราษฎรเรียกว่า “เจ้าฟ้าดอกเดื่อ” หรือ “เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” ซึ่งคำว่า “อุทุมพร” แปลว่า “ดอกมะเดื่อ” นั่นเอง เมื่อครั้งสมเด็จพระราชชนกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ทรงขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งมีบันทึกแตกต่างกัน บ้างว่าเป็นระยะเวลา 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือเพียง 10 วัน ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ความสำคัญคือ พระองค์สละราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบ แล้วลาผนวชทันที แต่พระองค์ก็เคยสึกออกมาเพื่อมาช่วยการศึกสงครามเมื่อครั้งศึกพระเจ้าอลองพญา เมื่อ ปี พ.ศ.2303 เมื่อเสร็จศึกพระองค์ก็ได้ออกผนวชอีก จึงจะเห็นได้ว่าพระองค์นั้นมีพระปรีชาสามารถทั้งสติปัญญาการปกครอง การรบ และใฝ่ในทางธรรม ไม่ปรารถนาในราชสมบัติ จนสุดท้ายในศึกเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2310 ฝ่ายเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าได้คุมตัวภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรกลับไปด้วย และต่อมาได้มีการค้นพบบันทึกคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า ต้นฉบับเป็นภาษามอญ เป็นเนื้อหาที่พระเจ้ากรุงอังวะให้สอบถามเชลยศึกเกี่ยวกับพงศาวดารไทยและขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเชื่อว่าย่อมมีคำให้การจากสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรด้วย… Read More »

จิตรกรรมโบราณในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา

สวัสดีครับ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดเชิงท่า อยุธยา นอกจากโบราณสถานที่สวยงาม ได้แก่ วิหาร พระปรางค์ประธานของวัด ผมได้เกิดความประทับใจภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ภายในศาลาการเปรียญเป็นอย่างมาก และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย ผมจึงขอนำภาพและเรื่องราวภาพจิตรกรรมมาแบ่งปัน เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปเที่ยวชม ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวยาวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบไปด้วยอาคารประธาน ๑ หลัง ผนังด้านในศาลาการเปรียญเขียนภาพจิตรกรรม ระหว่างผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งมีภาพวิถีชาวบ้านแทรกปะปน เหนือผนังช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพพนม จิตรกรรมในศาลาการเปรียญนี้ เป็นฝีมือของพระอาจารย์ธรรม เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้และนายแข ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์และแท่นพิธีธรรม ภาพจิตรกรรมภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า ประกอบไปด้วย ผนังส่วนบนทั้งสี่ด้าน เขียนภาพชุมนุมเทวดานั่งประนมมือ หันหน้าไปยังผนังด้านทิศตะวันตก ซึ่เขียนภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับในซุ้มเรือนแก้ว ขนาดข้างด้วยเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ธูปเทียนตั้งอยู่บนตั่งสีแดง ถัดลงมาผนังด้านล่างทั้งสี่ด้านเขียนเป็นภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติชาดก โดยที่ภาพพุทธประวัติเริ่มจากช่องว่างระหว่างประตูด้านทิศตะวันออก วนทวนเข็มนาฬิกาไปทางผนังด้านทิศเหนือและสิ้นสุดที่ช่องว่างระหว่างประตูที่ผนังด้านทิศตะวันตก ส่วนภาพเรื่องทศชาติชาดกเริ่มจากผนังด้านทิศตะวันตก ช่องว่างซ้ายมือถัดจากประตูเขียนเป็นภาพเรื่องเตมีย์ชาดก แล้ววนมายังทางผนังด้านทิศใต้และสิ้นสุดที่เรื่องพระเวสสันดรชาดกที่ผนังด้านทิศตะวันออก ภาพจิตรกรรมพุทธประวัติและทศชาติชาดกภายในศาลาการเปรียญนี้ เขียนขึ้นโดยครูแขร่วมกับคณะ และพระอาจารย์อาภรณ์ธรรม เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ซึ่งมีอายุอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๔ ถึง พ.ศ.๒๔๑๑ ทั้งหมดนี้คือภาพความสวยงามของโบราณสถานภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า อยุธยา ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวและเก็บภาพความสวยงามนี้ไว้เป็นที่ระลึก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ แอดมินตั้ม – Faiththaistory.com ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่… Read More »

วัดสิงห์ปากน้ำ วัดร้างในชุมชนญี่ปุ่นสมัยอยุธยา พระพุทธรูปโบราณแบบอู่ทองเก่าแก่มาก

https://youtu.be/z2i3WBQXd0g ขณะนี้เรากำลังอยู่ที่วัดสิงห์ปากน้ำ เป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ใกล้กับหมู่บ้านญี่ปุ่น ซอยทางเข้าเดียวกับสมาคมมวยไทยนายขนมต้ม ปัจจุบันวัดสิงห์ปากน้ำมีสภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยบ้านเรือน ก่อสร้างศาลาและนำเศษซากพระพุทธรูปหินทรายหลายองค์มาประดิษฐานรวมกันไว้ด้านบน มีพระพุทธรูปหินทรายองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่ และมีพระเศียรอยู่ด้วย ผมจึงได้ส่งรูปให้อาจารย์ฉันทัสดู ซึ่งอาจารย์ให้ทัศนะว่า เป็นเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่มีความเก่าแก่มาก เป็นแบบศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 2 ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า ศิลปะพระพุทธรูปอู่ทองนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อระหว่างศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20  เป็นศิลปะที่คลี่คลายมาจากการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบทวารวดีกับศิลปะขอม ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองไว้ว่า มีลายเส้นคร่ำเคร่งและตึงเครียด มีลายเส้นขนาดใหญ่ เป็นอาการแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ยังมีอำนาจแห่งจิตที่จะเอาชนะกิเลส ตัณหา และค้นหาทางหลุดพ้น ตามที่อาจารย์ฉันทัสได้กล่าวไว้ว่า เป็นลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง รุ่นที่ 2 จะมีพัฒนาการคลายความเคร่งขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น ซึ่งศิลปะอู่ทองรุ่น 1 จะมีความเคร่งขรึมมากกว่า เราสามารถแบ่งพระพุทธรูปแบบอู่ทองได้ดังนี้ พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 1 หรืออู่ทองหน้าแก่ พบในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระพักตร์เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง เม็ดพระศกคมชัด ความกว้างของพระนลาฏรับกับแนวพระขนงที่ต่อกันคล้ายปีกกา พระหนุป้านเป็นอย่างที่เราเรียกว่า คางคน พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 2 หรืออู่ทองหน้ากลาง จะมีพัฒนาการคลายความเคร่ง ขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ลดอิทธิพลทางศิลปะแบบขอมลง ตัวอย่างเช่น หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น… Read More »

ตามหาวัดพระงาม จากนิราศนครสวรรค์

https://youtu.be/KIVj_Yrc9S0 ตามหาวัดพระงามในอยุธยา จากนิราศนครสวรรค์ ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า “พระศรีมโหสถแต่งเมื่อครั้งโดยเสด็จสมเด็จพระนารายณ์ฯ จากรุงศรีอยุธยาไปรับช้างเผือกที่นครสวรรค์ พ.ศ. ๒๒๐๑” การตามรอยหาวัดพระงามครั้งนี้ เป็นการจุดประเด็นโดยอัฐพงษ์ บุญสร้าง แอดมินกลุ่ม Facebook “ประวัติศาสตร์หลังเที่ยงคืน” จึงได้นำเนื้อความนิราศนครสวรรค์มาประกอบแผนที่มณฑล พ.ศ.๒๔๕๘ เพื่อประมวลผลเส้นทางตามลุ่มน้ำโพธิ์สามต้น จนได้ข้อสันนิษฐานนี้ว่า วัดที่ปรากฏให้เห็นพระพุทธรูปงามที่พรรณาไว้ในนิราศและติดริมน้ำ มองเห็นได้ชัดเจน น่าจะเป็นวัดท่ายักษ์(วัดพยัคฆ์) ซึ่งเป็นวัดร้างที่เหลือซุ้มพระยืนโดดเด่นให้เห็นถึงในปัจจุบันนี้ จุดเริ่มต้นในการเดินทางคือเพนียดคล้องช้าง วิ่งไปตามลำน้ำโพธิ์สามต้น ผ่านบ้านไทยใหญ่ ถึงวัดพระงาม หลังจากผ่านวัดพระงาม ไปถึงเกาะราชเทพีและวัดป่าใน เป็นจุดสุดท้ายในการเดินทางตามรอย ซึ่งเป็นไปตามบริบทในนิราศและสอดคล้องกับแผนที่มณฑลดังกล่าว *****เนื้อความ นิราศนครสวรรค์(บางส่วน) ….๏ ลุถึงพะเนียดช้าง สาวสรรค์เอาแต่ตัวตรูมัน โอบอ้อมนำมาสู่ซองกรร กงเขื่อน ขันนาเสด็จออกเอาพลล้อม ลากเข้าโรงรมย์ ฯ ๏ ดลบ้านไทยใหญ่น้ำ นองชล เชี่ยวแฮยลย่อมพานิชสน เสียดซ้องคิดครวญร่ำจวนจน ใจเดือด แดนากี่เมื่อเลยจะหล้อง ลาดเข้าคืนเวียง ฯ ๏ วัดพระงามเงื่อนเพี้ยง แมนสรรค์งามรูปปฏิมาพรรณ รุ่งเร้าถวายวันทนอัน ปราโมช แล้วแฮขอจงพลันคืนเข้า สู่บ้านเมืองหลวง ฯ ๏ ไคลคลานาเวศใกล้ ทรายมี มากนาเกาะราชเทพีศรี ชื่อไซร้ถนัดกลเทพี เพ็ญภาคย์ งามแฮมาเพื่อโลมลวงให้ หน่วงหน้านานถึง ฯ ๏ สัดจรเลอทุ่งถ้อง ทางไป เปล่าแฮเห็นแต่แฝกแขมใบ ค่าค้อมราตรีสว่างแสงใส โสภาคย เดือนนาลมระรวยชวยอ้อม โอบเนื้อเสียวสมร ฯ ๏ ลุบางลาง… Read More »

วัดนางคำ(ร้าง) พระเจ้าบรมโกศเสด็จฉลองสมโภช – อารามหลวงสมัยอยุธยา

https://youtu.be/YgGvfH6wNCw วัดนางคำ(วัดร้าง) พระเจ้าบรมโกศเสด็จฉลองสมโภช – อารามหลวงสมัยอยุธยา… สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยววัดนางคำ ซึ่งเป็นวัดร้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และถือเป็นอารามหลวงในสมัยอยุธยาอีกด้วย เพราะมีบันทึกในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จฉลองวัดนางคำ เมื่อจุลศักราช ๑๑๑๗ ตรงกับ พุทธศักราช ๒๒๙๘ จึงถือว่าวัดแห่งนี้มีความสำคัญในอดีตมากอีกวัดหนึ่ง การเดินทางถือว่าสะดวก ซอยเข้าวัดถือว่าแคบรถสวนทางกันไม่ได้ แต่ก็เข้าซอยไม่ลึกมากครับ ท่านสามารถใช้ Google Map เดินทางได้ ซอยเข้าวัดจะอยู่ที่ซอยอโยธยา 4/2 บันทึกอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ เมื่อข้ามคลองบ้านบาตรจะเห็นจุดเด่นคือเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา เจดีย์ประธานของวัดนางคำ ตั้งตระหง่านคงทนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ เคยเดินทางมาสำรวจเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๙ และเขียนลงในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ไว้ว่า พบเจดีย์ลังกาขนาดใหญ่ องค์ระฆังเพรียวสูงขึ้นเล็กน้อย ใต้องค์ระฆังเป็นลูกแก้วกลมสามชั้น ต่อลงมาเป็นฐานบัวสามชั้น ทรงแปดเหลี่ยม อาจเป็นีมือช่างในสมัยอยุธยาตอนต้น อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนบรรยายสภาพการสำรวจเพิ่มเติมไว้ว่า ตรงฐานเจดีย์ถูกนักล่าของเก่าขุดจนพรุน มองเห็นโครงภายในของเจดีย์ ซึ่งก่อเป็นโพรงไปตลอดทั้งองค์ เหนือองค์ระฆังเป็นคานไม้ ตังเจดีย์ผนังหนาประมาณ ๑.๓๐ เมตร อิฐที่ก่อมีขนาด ๓๐ x ๔.๕ x ๑๖ เซนติเมตร บัลลังก์ย่อมุมสิบสอง… Read More »

วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างริมถนนก่อนเข้าเมืองอยุธยา

https://youtu.be/wASinYPWf0M วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างข้างถนนก่อนเข้าเมืองอยุธยากับเจดีย์ทรงแปลกตาที่หลายคนไม่เคยรู้… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและรักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยอดีตทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางเข้าสู่เมืองพระนครศรีอยุธยา ก่อนที่จะเข้าเมือง เราจะสังเกตเห็นเจดีย์ร้างข้างถนนก่อนถึงวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม หลายท่านคุ้นตากันเป็นประจำ ด้วยความคุ้นชินอาจทำให้ไม่ได้สนใจถึงวัดร้างแห่งนี้ จากแผนที่วัดและโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา ได้ระบุในแผนที่ว่า ตำแหน่งตรงนี้คือ “วัดสี่เหลี่ยม” มีความโดดเด่นขององค์เจดีย์ รูปทรงที่ไม่ค่อยได้เห็นมากนักในอยุธยา ผมจึงได้เดินทางไปพร้อมกับ ผศ.ดร.ฉันทัส เพียรธรรม เพื่อลงพื้นที่นำข้อมูลสันนิษฐานมาแบ่งปันความรู้เพิ่มเติมให้กับท่านผู้ติดตามครับ Loading… ท่านที่สนใจไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึก สามารถจอดรถไว้ริมทางแล้วเดินเข้าไปชมกันได้ครับ นอกจากองค์เจดีย์ที่หลงเหลือ เราจะได้พบกับซากองค์พระพุทธรูปหินทรายข้างกับองค์เจดีย์นี้ ซึ่งเหลือเพียงส่วนลำตัว ซากพระพุทธรูปมีองค์ค่อนข้างใหญ่ มีรูแกนสำหรับใส่สลักพระเศียร ผศ.ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ได้ให้ข้อสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมไว้อย่างน่าสนใจ เพราะรูปแบบเจดีย์เช่นนี้ค่อนข้างแปลกตา ไม่ได้พบทั่วไปในอยุธยา ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับเจดีย์แบบชาวพยูในเมืองมอญ (เจดีย์แบบลอมฟาง) จากรูปแบบเจดีย์ในประเทศพม่า จึงมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ที่วัดสี่เหลี่ยมแห่งนี้ องค์ประกอบสำคัญของเจดีย์แบบพยู(ลอมฟาง) ประกอบไปด้วย ฐานสองชั้นบนผังสี่เหลี่ยม มีลวดบัวกลม(บัวลูกแก้ว) คาดกลางทั้งสองชั้น ตัวองค์ระฆังลักษณะแบบลอมฟาง(คล้ายฟางกองพูนขั้น) เหนือองค์ระฆังเป็นก้านฉัตร จากรูปแบบเจดีย์จึงสันนิษฐานได้ว่า เจดีย์นี้อาจจะสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ตรงกับสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นไป เพราะช่วงนั้นมีการกวาดต้อนชาวมอญเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอาจจะมีเชื้อสายชาวพยูในรัฐมอญ และมีการนำรูปแบบวัฒนธรรมของตนเองมาสร้างเจดีย์ในรูปแบบของตนเอง และลวดบัวลูกแก้วที่คาดตรงกลางฐานเจดีย์ทั้งสองชั้น จะพบมากในรูปแบบเจดีย์ในพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เช่นกัน จึงเป็นรูปแบบเจดีย์ที่ไม่ค่อยได้เห็นกันนักในอยุธยา และหลายท่านอาจจะไม่ได้สังเกตแม้จะมองเห็นผ่านตาอยู่เป็นประจำ จากข้อมูลนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาเพิ่มเติมของท่านที่รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยอดีตและวัฒนธรรมต่อไปนะครับ ขอขอบคุณการติดตาม พบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ…แอดมินตั้ม ช่องทางการติดตาม ติดตามเรื่องราวผ่าน Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด ได้ที่ www.facebook.com/faith108 หรือติดตามช่อง YouTube Channel FaithThaiStory… Read More »