admin

ผมมีความรักในการเดินทางท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และได้เขียนบล็อกแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อแบ่งปันเรื่องราวให้กับเพื่อนๆทุกคนที่สนใจในสิ่งคล้ายๆกัน / ยุทธนา ผิวขม (แอดมินลุงตั้ม)

Author Archives: admin

จารึกโบราณ ถ้ำวิมานจักรี สระบุรี เส้นทางประพาสหลายรัชกาล

คลิปจาก FaithThaiStory ท่องเที่ยวสระบุรี ชมถ้ำวิมานจักรีได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 ตั้งอยู่ไหล่เขาดอกไม้ ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เป็นหนึ่งในถ้ำของเทือกเขาวง ในหลวงรัชกาลที่ 4 ค้นพบถ้ำนี้เมื่อครั้งทรงผนวช และโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปางประทับยืนไว้ในถ้ำแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2370 ซึ่งขณะนั้นตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระองค์ดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ การอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้ในถ้ำ ปรากฏการจารึกในผนังถ้ำแห่งนี้อีกด้วย นอกจากนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ก็เคยเสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ เมื่อปีพ.ศ.2426 และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ไว้ที่ผนังถ้ำ แต่ปัจจุบัน จารึก จปร.นี้ได้ชำรุดหลุดหายไปด้วยแรงระเบิดจากการสัมปทานภูเขาหิน และในปี พ.ศ.2495 ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ก็เคยเสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้เช่นกัน เนื้อหาจารึกนี้ จารึกขึ้นในปี พ.ศ.2370 ตรงกับรัชกาลที่ 3 โดยมีเนื้อหาพอสังเขปว่าพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 4 ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธรูปจากรุงเทพ มาประดิษฐานไว้ในถ้ำวิมานจักรีแห่งนี้ เพื่อเป็นสถานที่สักการะบูชาของเหล่าภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสิริมงคลก่อนเดินทางไปสักการะรอยพระพุทธบาทต่อไป รวมถึงพระองค์ได้อำนวยพรแผ่ส่วนกุศลแด่ผู้ที่เดินทางมาสักการะ ทั้งนี้ ในจารึกได้ระบุไว้ด้วยว่า อย่าเข้าใจผิดคิดว่ามีการฝังสมบัติไว้ในถ้ำนี้ ไม่ควรขุนค้นเพราะเสียงแรงเปล่าและยังเกิดบาปอกุศลอีกด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จากประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ประกาศเรื่อง-ประดิษฐานพระพุทธรูปในถ้ำวิมานจักรี กล่าวถึงพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาครั้งนั้น เป็นพระพุทธรูปโบราณ เดิมประดิษฐานในถ้ำแขวงเมืองอุทัยธานี มีลักษณะงดงาม… Read More »

พระพุทธรูปทองคำที่เคยถูกปูนพอกทับ วัดพะเยาว์ สระบุรี

คลิปจาก FaithThaiStory พาท่องเที่ยววัดที่สระบุรี กราบสักการะหลวงพ่อทองคำ วัดพะเยาว์ จ.สระบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ล้ำค่าอีกองค์หนึ่งที่สร้างจากเนื้อโละทองคำ คล้ายที่วัดไตรมิตรฯ กรุงเทพมหานคร และเคยถูกปูนพอกทับไว้เช่นกันอีกด้วย กล่าวกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาด้วยการหล่อองค์พระด้วยโลหะทองคำ ซึ่งจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรกล่าวว่า น่าจะมีความบริสุทธิ์ของทองคำถึง 70% ต่อมาองค์พระได้ถูกลงรักพอกปูนทับเพื่อปิดบังความล้ำค่าไว้เป็นความลับยาวนานหลายร้อยปี ก่อนที่จะอัญเชิญหลวงพ่อทองคำมาที่วัดพะเยาว์ เดิมได้ประดิษฐานที่วัดร้างแห่งหนึ่งใน อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา(บางท่านสันนิษฐานว่าคือ วัดขุนตานาค) ต่อมาราวปี พ.ศ.2420 ชาวบ้าน ต.ศาลารีไทย อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในหมู่บ้าน ชื่อ วัดอุทิศสโมสร แต่ยังขาดพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้เป็นพระประธาน จึงอัญเชิญพระพุทธรูปที่ตากแดดตากฝนในวัดร้างองค์นี้ มายังวัดอุทิศสโมสรเพื่อเป็นพระประธาน จนกระทั่งราวปี พ.ศ.2478 ชาวบ้านได้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงอพยพไปที่อื่น ทำให้วัดอุทิศสโมสรถูกทิ้งร้างลง พร้อมกับพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ที่ขาดการดูแลไปเป็นเวลาหลายปี ต่อมาราวปี พ.ศ.2484 ทางวัดพะเยาว์ ต้องการพระพุทธรูปประธานมาประดิษฐานในอุโบสถ ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญองค์พระจากวัดอุทิศสโมสร มาประดิษฐานนับแต่นั้นมา ในราวปี พ.ศ.2493 ชาวบ้านได้นิมนต์พระเทพวิมลโมลี(อดีตเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี) มาเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ชาวบ้าน ท่านได้มองไปที่พระประธานแล้วกล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะดี แต่ตามองค์พระมีรอยปูนแตกร้าว ไม่สมควรปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้ จึงให้ชาวบ้านช่วยกันกะเทาะปูนออก จึงพบว่าด้านในเป็นโลหะทองคำล้ำค่า จากนั้น อาจารย์ปรีดา วีรสวัสดิ์ ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์โรงเรียนวัดไตรมิตร ได้เชิญเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตรวจสอบ จึงประเมินว่า เป็นเนื้อทองคำถึง 70% ชาวบ้านจึงขนานนามว่า หลวงพ่อทองคำ นับแต่นั้นมา ปัจจุบัน หลวงพ่อทองคำ ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุข วัดพะเยาว์… Read More »

สระน้ำโบราณ 400 ปี วัดยม บางบาล อยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดยม ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา วัดยมแห่งนี้แม้ไม่ใช่วัดร้าง แต่ได้ปรากฏให้เห็นซากโบราณสถานสำคัญ และมีความอันซีนที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้ ได้แก่ สระน้ำโบราณหรือบ่อน้ำโบราณที่มีการก่ออิฐโดยรอบ มีความสมบูรณ์และสวยงามอย่างยิ่ง ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ทุกวัด มีเจดีย์โบราณฐานแปดเหลี่ยมที่ผ่านการบูรณะแล้ว สิ่งปลูกสร้างอื่นเช่น อุโบสถ แม้จะได้รับการสร้างบูรณะใหม่บนฐานอุโบสถเดิม แต่พบใบเสมาหินชนวนแบบอยุธยาที่มีความสมบูรณ์หลงเหลืออยู่จากการค้นหาประวัติ ไม่พบบันทึกการสร้าง แต่มีการบันทึกว่า เคยถูกทิ้งร้างลงหลังภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2310 จนกระทั่งราวปี พ.ศ.2474 พระครูภาวนารังสี ( เปลื้อง วิสัฏโฐ )ท่านเป็นชาวบางบาล ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดยม จนได้รับการยกให้เป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษา ถือว่าเป็นวัดสำคัญของตำบล จึงได้ตั้งชื่อตำบลที่ตั้งวัดแห่งนี้ ว่าตำบลวัดยมนั่นเอง แม้ว่าเราจะไม่พบบันทึกประวัติการสร้างชัดเจน แต่เราสามารถประเมินอายุได้จากศิลปกรรม เช่น เจดีย์โบราณบนฐานแปดเหลี่ยม และใบเสมาหินชนวนที่พบ จากลักษณะของเจดีย์บนฐานแปดเหลี่ยมที่พบในวัดยม มีความคล้ายกับที่วัดวังชัยในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่เก่าถึงราวพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งสอดรับกับรูปแบบของใบเสมาหินชนวนแบบเมืองเหนือ ที่นิยมสร้างในพุทธศตวรรษที่ 21 เช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าวัดยมแห่งนี้ อาจมีความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นอย่างช้า หรือมีอายุมากกว่า 400 ปี ขึ้นไป สำหรับท่านที่สนใจท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ผมจึงขอแนะนำวัดยมแห่งนี้ไว้อีกวัดหนึ่ง เพราะท่านจะได้เห็นโบราณสถานอันซีน ที่หลบสายตาจากผู้คนอีกมากมาย ขอขอบพระคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook… Read More »

ภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เขาพระพุทธฉาย สระบุรี

วัดพระพุทธฉาย สระบุรี เป็นสถานที่มีบันทึกเรื่องราวตำนานมากอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี โดยเฉพาะเรื่องราวของพระพุทธฉายหรือเงาพระพุทธเจ้า ที่หลายๆท่านได้เดินทางไปสักการะ อีกทั้งบนยอดเขาลมหรือเขาพระพุทธฉายแห่งนี้ มีมณฑปประดิษฐานรอยประทับพระพุทธบาท จึงเป็นสถานที่ ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวตลอดมา นอกจากเรื่องราวตำนานของพระพุทธฉายแล้ว พื้นที่แห่งนี้ ยังเป็นโบราณสถานมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มายาวนาน เพราะมีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งน่าจะราว 3,000 ปีก่อน คำว่า ก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ในยุคที่มนุษย์ยังไม่มีการบันทึกหรือการประดิษฐ์ตัวอักษร เราจึงค้นหาประวัติความเป็นมาจากภาพการเขียนรูป เครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต บริเวณที่พบภาพเขียนอยู่บนเพิงผาเดียวกับรอยพระพุทธฉาย เป็นภาพเขียนสีแดง จึงเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่ง ที่เราจะได้สัมผัสถึงเรื่องในอดีต ที่บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณมายาวนาน สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผมจึงขอถือโอกาสนี้ นำข้อมูลจากกรมศิลปากร มาอธิบายไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจต่อไป ดังนี้  ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาลม (เขาพระพุทธฉาย) แหล่งเขียนภาพสียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเพิงผาเขาลม(เขาพระพุทธฉาย) วัดพระพุทธฉาย ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี มีลักษณะเป็นภาพเขียนสีแดง ปรากฏอยู่บนเพิงผาเดียวกับพระพุทธฉาย ลักษณะของเพิงผาคล้ายหลังคา หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ความยาวประมาณ 106 เมตร ความสูงจากเชิงเขาประมาณ 20 เมตร สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่พักอาศัยหรือประกอบกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต เทคนิคการเขียนภาพมีทั้งแบบการเขียนโครงร่างและระบายสีทึบภายในโครงร่าง ส่วนวัสดุทำพู่กัน สันนิษฐานว่าทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การนำเปลือกไม้มาทุบจุ่มสีแล้ววาดลงผนังหิน เนื่องด้วยภาพเขียนสีผ่นกาลเวลามายาวนานหลายพันปี จึงมีสภาพที่ค่อนข้างเลือนลาง แต่ก็ยังพอสังเกตได้บ้าง ดังนั้นขอความร่วมมือ ไม่สัมผัสบริเวณภาพเขียนสีดังกล่าว เพื่อให้มีสภาพที่คงอยู่ได้นานที่สุดต่อไปครับ ภาพเขียนผนังเพิงผาสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ ภาพคน พบทั้งภาพคนถืออาวุธ แสดงถึงการล่าสัตว์ และภาพคนเรียงกันเป็นแถวคล้ายขบวนแห่… Read More »

เทวสถาน โบสถ์เทพฮินดูในสมัยอยุธยา

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานแห่งหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้ นั่นก็คือโบราณสถาน เทวสถานหรือโบสถ์เทวรูปฮินดูในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เทวสถานนี้เป็นไปตามคติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดู และในสมัยกรุงอยุธยาให้การเคารพกษัตริย์เปรียบสมมุติเทพแสดงถึงอำนาจบารมีในการปกครองบ้านเมือง จึงมีพิธีกรรมทางพราหมณ์ในพระราชพิธีตลอดมาและมีเทวสถานตรงนี้นั่นเอง ปัจจุบัน โบราณสถานนี้ กำลังได้รับการขุดสำรวจทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร เพื่อเป็นการเปิดเผยเรื่องราวประวัติศาสตร์สู่สาธารณชนให้ได้เรียนรู้ และอาจจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ต่อไป โอกาสนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเทวสถานสมัยอยุธยามานำเสนอให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่ผู้สนใจดังต่อไปนี้ คติความเชื่อเรื่องเทพในสมัยอยุธยา คติความเชื่อเกี่ยวกับเทพในศาสนาฮินดูสมัยอยุธยานั้น มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง รูปเคารพในศาสนาฮินดูสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย ผศ.ดร.เอกสุดา สิงห์ลำพอง ได้อธิบายบันทึกคติความเชื่อในสมัยอยุธยาไว้ว่า ความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่แรกสร้างกรุง จากบันทึกในพงศาวดารหลายฉบับ เช่น ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์, ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม), ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), ฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น เนื้อความในพงศาวดารกล่าวถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนากรุงศรีอยุธยา ความว่า “…ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักขิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง… และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว…” และจากข้อมูลการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2512 กล่าวว่า เทวสถานเดิมของกรุงศรีอยุธยาคือบริเวณศาลพระกาฬ ในบริเวณแยกตะแลงแกง… Read More »

วัดท่าทราย วัดร้างที่เคยพบพระพุทธรูปสำริดจมใต้น้ำ

คลิปจากยูทูป FaithThaiStory วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดท่าทราย ซึ่งเป็นโบราณสถานวัดร้างสมัยอยุธยานอกเกาะเมืองอยุธยา ในเขต ต.วัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดร้างที่แอบซ่อนใกล้กับบ่อดูดทรายใกล้เคียงกับวัดช้างใหญ่ ที่หลบซ่อนสายตาผู้คนทั่วไป วัดร้างแห่งนี้ ปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่กรมแผนที่ทหาร ฉบับตีพิมพ์ พ.ศ.2463 จึงเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่น้อยคนจะรู้ จากการลงพื้นที่ พบโบราณวัตถุสำคัญคือใบเสมาหนึ่งใบที่ทำจากหินชนวน ลักษณะศิลปกรรมตามรูปแบบนี้ ซึ่งผมได้ค้นข้อมูลจากหนังสือเสมา สีมา โดยอาจารย์พิทยา บุนนาค ได้กล่าวว่าเป็นเสมาแบบลูกผสม พัฒนาการมาเป็นรุ่นที่ 4 โดยมีทับทรวงเป็นรูปข้าวหลามตัด ซึ่งจะมีอายุหลังจากเสมากลุ่มวัดไชยวัฒนารามเล็กน้อย โดยจะอยู่ในช่วงกลางรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นต้นไป ก็คือต้นพุทธศตวรรษที่ 23 หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย จากการสันนิษฐานยุคสมัยว่าวัดท่าทรายน่าจะเป็นวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 หรืออยุธยาตอนปลาย ซึ่งมีความสอดคล้องกับโบราณวัตถุที่พบอีกชิ้นหนึ่งคือกระเบื้องเชิงชายลายเทพพนม ที่มีความคลี่คลายของลวดลายกลีบบัวเป็นกลีบแบบสะบัดพลิ้วสามชั้น ที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบซากโบราณสถาน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโคกเจดีย์ขนาดใหญ่ รวมถึงซากผนังอาคารที่หลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย พบพระพุทธรูปสำริด จมใต้น้ำบ่อดูดทรายติดวัดท่าทราย(ร้าง) อยุธยา มีเรื่องราวในอดีต จากโพสต์ในเฟซบุ๊คของอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ได้กล่าวว่า ราวปีพ.ศ.2533 ได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่หาปลาในพื้นที่ ได้พบพระพุทธรูปสำริดจมใต้น้ำ จึงได้แจ้งต่อกรมศิลปากร และได้มีการขอกำลังทหารมาช่วยกันงมพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวขึ้นมาได้สำเร็จ แต่พบว่าเศียรพระพุทธรูปได้หายไป ตามชุดภาพที่ท่านได้เห็นอยู่นี้ ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลว่า พระพุทธรูปองค์นี้ ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ใด การเดินทางเข้าชมสถานที่ การเดินทางค่อนข้างสะดวก ใกล้วัดช้างใหญ่ แต่จะเป็นเส้นทางที่แคบ ซึ่งอาจจะต้องขออนุญาตเจ้าของบ้านในพื้นที่ในการจอดรถเข้าชมสถานที่ ถ้าเดินทางมาจากวัดภูเขาทอง อยุธยา ให้ไปยูเทิร์นกลับเพื่อจะมายังวัดช้างใหญ่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยแรกก่อนถึงประตูวัดช้างใหญ่ จมีซอยเล็กๆเข้าไป สามารถชมคลิปการเดินทางประกอบการเดินทางที่ผมติดไว้ให้ด้านบนบทความนี้ วัดท่าทราย เป็นโบราณสถานวัดร้างอีกแห่งหนึ่งที่หลบสายตาที่น้อยคนจะรู้… Read More »