admin

ผมมีความรักในการเดินทางท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และได้เขียนบล็อกแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อแบ่งปันเรื่องราวให้กับเพื่อนๆทุกคนที่สนใจในสิ่งคล้ายๆกัน / ยุทธนา ผิวขม (แอดมินลุงตั้ม)

Author Archives: admin

ตื้นตันใจเป็นที่สุด ได้ตักบาตรหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร และคณะสงฆ์ลูกศิษย์

https://youtu.be/kP2laE2U8B8 วันนี้ผมจะมาเขียนบันทึกเรื่องราวที่ทำให้ผมได้ตื้นตันใจอีกครั้งหนึ่งในชีวิต เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2558 ตรงกับวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของผมด้วย ผมได้เตรียมตัวเดินทางเพื่อจะไปทำบุญตักบาตรกับหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ปัจจุบันท่านเป็นครูสอนสมาธิแก่พระสงฆ์ทั่วโลก แม้ท่านจะมีอายุถึง 95 ปี แล้วก็ตาม ผมได้ทราบเรื่องราวของหลวงพ่อวิริยังค์ เมื่อเร็วๆมานี้ จากการฟังธรรมและมีการกล่าวเรื่องราวของหลวงพ่อวิริยังค์ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามแนวทางของพระพุทธเจ้า เมื่อผมได้ทราบเรื่องราวนี้ ผมจึงได้เริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับหลวงพ่อ โดยทันที จนทราบว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เป็นเหตุให้ผมจะต้องเดินทางไปยังวัดแห่งนี้ให้ได้ ผมได้เดินทางไปยังวัดธรรมมงคล เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 สถานที่ตั้งเดินทางสะดวก เดินทางด้วย BTS จากสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิลงที่สถานีปุณณวิถี โดยลงฝั่งซ้าย แล้วนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างเข้าไป แต่ผมไม่ได้พบหลวงพ่อวิริยังค์ นะครับ แค่มาดูวัดของหลวงพ่อเท่านั้น อีกทั้งหลวงพ่อ ท่านก็มีภาระกิจมากมายคงพบท่านได้ยาก  ด้วยเหตุนี้หลังจากที่ผมกลับจากการเดินทางไปยังวัดธรรมมงคลแล้ว ผมก็ได้คิดอยู่ในใจว่า จะต้องหาโอกาสเดินทางเพื่อได้พบหลวงพ่อองค์จริงให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ขอแค่ให้ได้เจอกับองค์จริงก็ถือว่าคุ้มค่าสำหรับผมแล้วครับ หลังจากนั้นผมได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการอบรมสมาธิของหลวงพ่อ ในหลักสูตรคุรุสาสมาธิ 2 จำนวน 49 วัน ณ วัดศรีรัตนธรรมาราม จังหวัดสมุทรปราการ อีกทั้งหลวงพ่อได้มีเมตตาแก่สาธุชน โดยจะเดินรับบิณฑบาตรทุกเช้าพร้อมคณะลูกศิษย์ ทั้ง 49 วัน ซึ่งที่ผ่านมานั้น จะมีครั้งนี้ที่หลวงพ่อเมตตาจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เท่านั้น  ผมจึงคิดว่านี่แหละโอกาสมาถึงแล้ว ผมจะต้องไปให้ได้สักวัน… มูลเหตุความศรัทธาในตัวหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ของผม เริ่มจากการได้ฟังธรรมกับครูบาอาจารย์… Read More »

ความเชื่อ ตำนานเรื่องรอยพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง ตามพระไตรปิฎกและคติความเชื่อต่างๆ

ความเชื่อ ตำนานเรื่องรอยพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง ตามพระไตรปิฎกและคติความเชื่อต่างๆ วันนี้ผมจะมาเขียนบทความเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องรอยพระพุทธบาท ที่มีปรากฏในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาหรือพระไตรปิฎกและจากบทสวดมนต์ ผมได้เกิดความสงสัยหลายประการในเรื่องของรอยพระพุทธบาท ซึ่งมีมากมายในประเทศไทยและหลายๆประเทศทั่วโลก ผมสงสัยว่ารอยพระพุทธบาทมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่ มีการประทับไว้จริงหรือไม่ จึงได้ค้นหาข้อมูลเรื่องราวมาแบ่งปันกันไว้ที่บทความนี้ จากข้อมูลเรื่องราวที่ผมลองได้ค้นหาจากหนังสือและอินเตอร์เน็ต ผมจะนำมาสรุปให้ได้ใจความ เพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจ ทั้งนี้ในประเทศไทยก็จะมีเรื่องราวของรอยพระพุทธบาทมากมาย ถ้าจะกล่าวถึงรอยพระพุทธบาทที่คนไทยทั่วประเทศให้ความสนใจเดินทางไปนมัสการก็คงจะกล่าวถึงรอยพระพุทธบาทที่เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งคนไทยเดินทางไปร่วมแสน ร่วมล้านคนในแต่ละปี รอยพระพุทธบาทแต่ละแห่งนั้นจะเป็นรอยพระพุทธบาทแท้จริงหรือไม่นั้น ผมไม่สามารถที่จะฟันธงลงไปได้ ขอให้คิดว่าเป็นพุทธานุสติ ในการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าจะดีที่สุด…ซึ่งผมเคยฟังธรรมเทศนาของพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง ท่านก็ได้กล่าวไว้เช่นกันเกี่ยวกับเรื่องรอยพระพุทธบาท เป็นเรื่องของพุทธานุสติ ทำให้จิตเป็นกุศล จะแท้หรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ตามความเชื่อในพระไตรปิฎกนั้น ถูกกล่าวไว้ในปุณโณวาทสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 23 (ภาค 3 เล่ม 2) อรรถกถาปัญจสูทนี หน้า 410 (ฉบับมหามกุฏฯ ฉลองพระชนมายุสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ) ซึ่งจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท 2 แห่ง ได้แก่ รอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทา และที่ภูเขาสัจจพันธ์ เรื่องราวคร่าวๆ พอสรุปเนื้อหาในพระไตรปิฎกมีดังนี้ ที่แคว้นสุนาปรันตะ มีพี่น้อง 2 คน คนพี่ชื่อปุณณะ คนน้องชื่อจุฬาปุณณะ อาศัยอยู่ในหมู่บ้านพานิชคาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านของพ่อค้ากลุ่มหนึ่ง ครั้งหนึ่งฝ่ายพี่ชายได้บรรทุกเกวียน 500 เล่ม เดินทางไปค้าขายยังเมืองสาวัตถี และตั้งกองเกวียนพักแรมกันใกล้กับวัดพระเชตวันมหาวิหาร ในวันนั้นระหว่างการพักผ่อนกับบริวาร ได้เห็นชาวเมืองสาวัตถี อธิษฐานถืออุโบสถศีล (ถือศีลในวันพระ)… Read More »

เสียงสวดมนต์ไพเราะ จุลชัยยะมงคลคาถา (ไชยน้อย) หรือพุทธชัยมงคลคาถา (นะโมเม)

ถ้าจะกล่าวถึงบทสวดมนต์ที่นิยมสวดกันของคนไทย จะต้องมีบทพุทธชัยมงคลคาถาอยู่ด้วยอย่างแน่นอน โดยปกติแล้วเราจะคุ้นเคยในแบบทั่วๆไป แต่ผมได้บังเอิญฟังเสียงสวดมนต์จุลชัยยะมงคลคาถา (ไชยน้อย) หรือพุทธชัยมงคลคาถา จากบอร์ดพลังจิต Palungjit.org โพสไว้โดยคุณนิโรธสมาบัติ เป็นเสียงสวดมนต์ที่แสนไพเราะมาก และผมเองไม่เคยได้ยินเสียงสวดมนต์ที่ไพเราะนี้มาก่อนเลย จึงขออนุญาตคัดลอกเนื้อหาบทสวดมนต์นี้มาเผยแพร่ในบล็อกแห่งนี้ด้วยอีกทางหนึ่ง จึงขออนุโมทนาบุญนี้ต่อเจ้าของกระทู้มา ณ โอกาสนี้ บทสวดนี้ชื่อ จุลชัยยะมงคลคาถา หรือพุทธชัยมงคลคาถา หรือในท้องถิ่นอีสานเรียกว่าบทสวดไชยน้อย ประพันธ์ในสมัยล้านประเทศลาว โดยพระมหาปาสมันตระมหาเถร ว่าด้วยชัยชนะของพุทธเจ้า ต่อเทพพรหม ครุฑ นาค ปีศาจ ฯลฯ และอวมงคลทั้งหลาย นิยมสวดในยุคสมัย หลวงปู่ เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชอบ ปัจจุบันนี้มีสวดเพียงไม่กี่ที่ แต่ที่คุ้นเคยจะมีการสวดพระคาถาบทนี้ที่วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี หรือวัดที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินทร์แปงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จังหวัดอุบลราชธานีและสวดเนื่องในงานที่สำคัญ ๆ ที่มาของพระคาถา จุลชัยยะมงคลคาถา เป็นคาถาในหมวดเดียวกับพระคาถามหาชัยยะมงคลคาถา หรือ ไชยใหญ่ และพระคาถาไชยหลวง ซึ่งนิยมใช้สวดสาธยายกันในงานมงคลในแถบแว่นแคว้น 2 ฝั่งแม่น้ำโขง การแพร่หลายของพระคาถานี้ปรากฏโดยทั่วไปในแถบภาคอีสานของไทย และภาคกลางจนถึงภาคเหนือของลาว จากการสำรวจโดยหอสมุดดิจิตอลหนังสือใบลานลาว พบคัมภีร์ใบลานเกี่ยวกับบทสวดไชยน้อย ไชยใหญ่ หรือไชยหลวงจำนวนหนึ่ง ทั้งในเมืองหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงคำม่วนทางภาคกลาง และในแขวงไชยบุรี ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ประชิดกับภาคเหนือของไทย ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของจุลชัยยะมงคลคาถา มีอยู่หลายทฤษฎี ข้อมูลที่แพร่หลายที่สุดในประเทศไทย คือการระบุว่า พระมหาปาสมันตเถระ พระเถระแห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ผู้อุปการะพระเจ้าฟ้างุ้ม มหาราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง และพระเถรผู้อัญเชิญพระบางและพระไตรปิฎกมายังแผ่นดินลาว… Read More »

เที่ยววัดหงษ์ทอง โบสถ์และพระธาตุเจดีย์กลางทะเล ฉะเชิงเทรา

เที่ยววัดหงษ์ทอง โบสถ์และพระธาตุเจดีย์กลางทะเล ฉะเชิงเทรา สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาเดินทางไปพักผ่อนในบรรยากาศลมทะเลเย็นๆ สบายๆ ได้สงบจิตสงบใจในวันพักผ่อนสุดสัปดาห์ โดยผมจะเดินทางไปยังวัดหงษ์ทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา จุดเด่นของวัดหงษ์ทองคือ จะมีพระธาตุเจดีย์และโบสถ์สร้างยื่นออกไปในทะเล เป็นสิ่งที่แปลกตาจากวัดทั่วๆไป ผมได้เห็นรูปภาพความสวยงามของวัดนี้ จึงได้วางแผนจะเดินทางไปท่องเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ทันที การเดินทางมายังวัดหงษ์ทอง ผมได้ใช้เส้นทางจากสมุทรปราการวิ่งเส้นสุขุมวิทสายเก่า ผ่านอำเภอคลองด่าน และอำเภอบางบ่อ เมื่อถึงอำเภอบางบ่อ จะเห็นร้านค้าขายปลาสลิดตากแห้งตลอดเส้นทาง ขับไปสักระยะจะเห็นป้ายกลางถนนขนาดใหญ่เข้าเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านไปอีกประมาณ 500 เมตร จะเห็นป้ายชัดเจนของวัดหงษ์ทอง ไม่หลงทางแน่นอนครับ วันที่ผมเดินทาง เป็นวันอาทิตย์ จึงมีผู้คนเดินทางมาวัดค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ได้วุ่นวายมากมายนะครับ ส่วนมากจะมากันเป็นครอบครัว มีเด็กๆน่ารักๆ มากับพ่อแม่ ผมมองว่าเป็นบรรยากาศดีมากเลยทีเดียว เมื่อผมมาถึงบริเวณวัด ก็ได้หาที่จอดรถ ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางมากสามารถเลือกจอดได้ตามจุดที่วัดจัดไว้ให้ครับ วัดหงษ์ทองแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามประวัติได้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2533 และพระครูปรีชา ประภากร เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ได้ตั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ในวัดไว้อย่างเข้มงวด เช่น ห้ามมิให้พระออกเรี่ยไร มิให้เสพสิ่งเสพติดทุกชนิด มิให้ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง เล่นหวยล๊อตเตอรี่ มิให้จัดงานมหรสพ เป็นต้น พระครูปรีชา ประภากร ได้เป็นผู้นำชาวพุทธปฏิบัติศาสนกิจอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ และได้พัฒนาวัดหงษ์ทองแห่งนี้ให้เจริญและเป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป วันที่ผมเดินทางไปวัด จะเห็นคนสวมชุดขาวบางส่วน… Read More »

พระอรหันตธาตุ 28 องค์ ที่พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม สมุทรปราการ

จากบทความเดิมที่ผมได้เขียนเรื่องพาเที่ยววัดอโศการาม จุดเด่นสำคัญก็คือพระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ เพเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และประดิษฐานพระอรหันตธาตุในยุคปัจจุบันไว้ถึง 28 องค์ ถือได้ว่า เป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระอรหันตธาตุสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ พระอรหันตธาตุทั้ง 28 องค์นั้น ได้รับการคัดเลือกโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จากบทความเดิม ===> พาเที่ยววัดอโศการาม  ผมจึงได้ถ่ายรูปพระอรหันตธาตุที่ประดิษฐานในพระธุตังคเจดีย์แห่งนี้ และมาแชร์ไว้ในบทความนี้ เชิญรับชมได้เลยครับ 1. หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี 2. หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร 3. หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ 4. หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย 5. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร 6. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ 7. หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ 8. หลวงปู่สาม อกิญจโน  วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์ 9. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่ 10. หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล วัดรังสีปาลิวัน… Read More »

เที่ยววัดอโศการาม สมุทรปราการ ไหว้พระอรหันตธาตุ 28 องค์

https://youtu.be/lqATzh_rOW0 สวัสดีครับ กับวันสบายๆอีกครั้งหนึ่งของการหยุดงานสุดสัปดาห์ ครั้งนี้ผมจะเดินทางไปยังจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไปเที่ยวและทำบุญที่วัดอโศการาม ด้วยจุดประสงค์หลักๆคือ การได้มากราบไหว้บูชาพระอรหันตธาตุสายหลวงปู่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ถึง 28 องค์… ถ้าเราได้กล่าวถึงหลวงปู่มั่น พุทธศาสนิกชนน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักหลวงปู่มั่น และตัวผมเองนั้นก็ได้ยินชื่อของท่านมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะท่านเป็นพระอริยะสงฆ์ที่ปฏิบัติเคร่งครัดในธรรมวินัย สายวิปัสสนากรรมฐาน รักสันโดษ ตามรูปแบบของพระป่า ทำให้เป็นที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมและบรรลุธรรมได้ง่ายกว่า ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ก่อนเดินทางมาที่วัดอโศการาม ผมไม่เคยรู้จักวัดแห่งนี้มาก่อน แต่มีเพื่อนท่านหนึ่งกล่าวถึง ผมจึงเริ่มค้นหาข้อมูลทันที และจากข้อมูลทำให้ผมวางแผนเดินทางมาวัดแห่งนี้โดยไม่ต้องเตรียมตัวมากมาย พอถึงวันหยุดงานผมก็เดินทางมาวัดแห่งนี้ทันที จุดสำคัญของวัดอโศการาม สมุทรปราการ มีดังนี้ 1. พระธุงตังคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์หมู่รวม 13 องค์ ซึ่งมีความหมายถึง ธุงควัตร 13 ข้อ 2. วิหารพระสุทธิธรรมรังสี เป็นสถานที่เก็บสังขารของท่านพ่อลี 3. อนุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช 4. พระวิหารหลวงพ่อเศียร 5. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ในสถานที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ การเดินทางมายังวัดอโศการาม สมุทรปราการ ก่อนการเดินทางผมก็กังวลใจในเรื่องการเดินทางเหมือนกัน เพราะต้องผ่านกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองที่ผมไม่ชอบที่จะขับรถเข้ามาเลย เกรงเรื่อการหลงทาง ผมจึงเริ่มศึกษาเส้นทาง ซึ่งก็ไม่ได้ยากอะไรเลย สามารถใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์มายังสมุทรปราการ สถานที่ของวัดจะตั้งอยู่ใกล้เคียงกับเมืองโบราณ ถ้าสนใจที่จะเดินทางมา ลองศึกษาเส้นทางดูครับ แม้แต่ผมเป็นคนต่างจังหวัดก็ยังสามารถมาได้ถูก ก็คงไม่ยากอะไร เรื่องราวพอสังเขป ของวัดอโศการาม สมุทรปราการ การก่อกำเนิดของวัดอโศการาม เกิดจากปณิธานของหลวงพ่อลี ธัมมธโร หรือท่านพ่อลี… Read More »