admin

ผมมีความรักในการเดินทางท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และได้เขียนบล็อกแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อแบ่งปันเรื่องราวให้กับเพื่อนๆทุกคนที่สนใจในสิ่งคล้ายๆกัน / ยุทธนา ผิวขม (แอดมินลุงตั้ม)

Author Archives: admin

วัดสมณโกฏฐาราม วัดประจำตระกูลโกษาเหล็ก โกษาปาน

https://youtu.be/7UY3dhoajP8   วัดสมณโกฏฐาราม วัดประจำตระกูลโกษาเหล็ก โกษาปาน… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและรักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังวัดสมณโกฏฐาราม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์น่าเรียนรู้และเดินทางไปเที่ยวชมกันครับ วัดสมณโกฏฐาราม ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ฝั่งตะวันออก การเดินทางสะดวกเมื่อถึงเจดีย์กลางวงเวียน (เจดีย์วัดสามปลื้ม) ให้วนเลี้ยวขวา วัดจะตั้งติดถนนก่อนถึงวัดกุฎีดาว ครับ จุดสังเกตุชัดเจนคือ เราจะเห็นองค์พระพุทธรูปสีขาวสร้างใหม่ประดิษฐานบนวิหารเดิม บนวิหารเดิมพบซากพระพุทธรูปหินทรายจำนวนหนึ่งบริเวณหลังพระพุทธรูปองค์ใหม่ จากข้อสันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดประจำตระกูลของโกษาเหล็กและโกษาปานก็คือ มีศาลทั้งสองตั้งอยู่ 2 ข้างของวิหารเดิม ปรางค์ประธานถัดจากวิหาร เป็นมหาธาตุเจดีย์ที่เหลือเพียงซากฐาน และมีบันทึกในคำให้การขุนหลวงวัดประดูทรงธรรม เอกสารจากหอหลวงว่า เป็นมหาธาตุเจดีย์ที่เป็นหลักเป็นศรีแห่งพระนคร 1 ใน 5 อีกด้วย คำว่ามหาธาตุเจดีย์หมายถึงพระบรมธาตุที่บรรจุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ตามบันทึกมหาธาตุทั้ง 5 องค์ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดพระราม วัดราชบูรณะ วัดสมณโกฏฐาราม และ วัดพุทไธศวรรย์ เจดีย์ทรงระฆังจะตั้งอยู่หลังพระปรางค์ของหวัด ซึ่งมีความสมบูรณ์ตั้งแต่องค์บังลังก์ขึ้นไปถึงปล้องไฉน แลดูสวยงาม ส่วนองค์เจดีย์ได้รับการบูรณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงอุโบสถที่ได้รับการบูรณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่นกัน ข้อสันนิษฐานวัดประจำตระกูลโกษาเหล็กและโกษาปาน ตามบันทึกของหมอแกมป์เฟอร์ แพทย์ชาวเยอรมันที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเพทราชา ราวปีพ.ศ.2233 ได้บันทึกเขียนแผนที่และวดภาพผังวัดแห่งนี้ไว้ โดยใช้ชื่อว่า วัดเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งในสมัยนั้น เจ้าพระยาพระคลังก็คือ โกษาปาน ซึ่งถือว่ามีอำนาจมากในช่วงนั้น เพราะได้ร่วมมือกับพระเพทราชายึดอำนาจหลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต หมอแกมป์เฟอร์ ได้เขียนบรรยายถึงวัดเจ้าพระยาพระคลังไว้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ พร้อมเขียนแผนที่ระบุตำแหน่ง (E) ไว้อย่างชัดเจน ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเกาะเมือง มีคลองกั้น มีโบสถ์… Read More »

วัดป่าแสงอรุณ อุโบสถงามล้ำเมืองขอนแก่น ถิ่นพระสายหลวงปู่มั่น

https://youtu.be/Rp5s0aP2pa4 วัดป่าแสงอรุณ อุโบสถงามล้ำเมืองขอนแก่น ถิ่นพระสายหลวงปู่มั่น… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังจังหวัดขอนแก่น เป็นบ้านเกิดของแอดมินเองครับ เราจะเดินทางไปที่วัดป่าแสงอรุณ ซึ่งมีความสวยงามของอุโบสถเป็นอย่างมาก ถือว่ามีความเป็นเอกลักษณ์ สวยงามวิจิตรโดดเด่นอีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน วัดป่าแสงอรุณ ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต… มีประวัติการสร้างจากการริเริ่มของพระสายหลวงปู่มั่น และมีพระวายหลวงปู่มั่นได้เดินทางธุดงค์มายังถิ่นนี้มากมายหลายรูป จึงเป็นวัดที่น่าสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวตามรอยอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น อุโบสถ วัดป่าแสงอรุณมีความสวยงามโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมผสมผสานทั้งภาคอีสานและภาคกลาง จนเกิดรูปแบบความวิจิตรสวยงามประณีตอย่างยิ่ง ใบเสมา จุดปักอาณาเขตของอุโบสถมีความสวยงามและมีขนาดใหญ่ ตั้งโดยรอบอุโบสถทั้ง 8 ทิศ นอกจากความสวยงามของอุโบสถ วัดป่าแสงอรุณแล้ว …ภายในวัดยังได้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวบ้านไว้ให้ชมกันอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของวัดป่าแสงอรุณ ปีพ.ศ.2473 พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ.๓) อดีตเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (คณะธรรมยุต) วัดศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้นิมนต์หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมและพระมหาปิ่น ปัญญาพโล (ป.ธ.๕) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในระหว่างปฏิบัติศาสนกิจที่จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อมาช่วยศาสนกิจที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งนั้นหลวงปู่สิงห์พร้อมด้วยพระอาจารย์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่นหลายรูป เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์คูณ พระอาจารย์ดี พระอาจารย์อุ่น หลวงปู่อ่อน พระอาจารย์สีโห หลวงปู่สิม พระอาจารย์เพ็ง พระอาจารย์เกียรติ เป็นต้น มาตั้งวัด ณ บริเวณโคกเหล่างา (ปัจจุบันคือวัดป่าวิเวกธรรม) ส่วนพระมหาปิ่น พร้อมด้วยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่หลุย จันทสาโร พระอาจารย์ภูมี… Read More »

ถนนฝรั่งส่องกล้อง เส้นทางเสด็จนมัสการพระพุทธบาทของพระเจ้าทรงธรรม

https://youtu.be/ZcOFmaeTwWM ถนนฝรั่งส่องกล้อง เส้นทางเสด็จนมัสการพระพุทธบาทของพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและรักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปชมเส้นทางหรือถนนที่พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ได้เสด็จกลับจากการนมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี เรื่องราวการค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ซึ่งผมขอนำมาเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ จุลศักราช ๙๖๘ (พ.ศ.๒๑๔๙) พรานบุญได้ค้นพบรอยพระพุทธบาท จึงได้แจ้งแก่ทางการในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงทราบ จึงได้เสด็จมากราบนมัสการรอยพระพุทธบาทนี้ พระองค์ทรงโสมนัสยินดีที่ได้นมัสการรอยพระพุทธบาทนี้ เป็นไปตามพระไตรปิฎกที่สงฆ์แห่งลังกาได้กล่าวไว้ว่า กรุงศรีอยุธยามีรอยพระพุทธบาทอยู่เหนือยอดเขาสุวรรณบรรพต หลังการนมัสการรอยพระพุทธบาท พระเจ้าทรงธรรมรับสั่งให้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท สร้างอาราม พระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์และอาคารอื่นๆ แล้วรับสั่งให้ฝรั่งส่องกล้องตัดเส้นทางขนาดกว้าง 10 วา ตั้งแต่รอยพระพุทธบาทถึงท่าเรือ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็คือถนนฝรั่งส่องกล้องหรือถนนพระเจ้าทรงธรรมที่ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยวชมครั้งนี้ ภาพพรานบุญ : https://www.faiththaistory.com/pranboon ถนนฝรั่งส่องกล้องหรือถนนพระเจ้าทรงธรรม… มีป้ายจากกรมศิลปากรระบุตำแหน่งไว้ชัดเจน โดยมีรายละเอียดว่า เป็นถนนที่พระเจ้าทรงธรรม รับสั่งให้ฝรั่งส่องกล้องตัดขึ้นหลังจากการนมัสการรอยพระพุทธบาท ซึ่งฝรั่งสมัยนั้นคือชาวฮอลันดา แต่เดิมถนนมีความยาว 20 กิโลเมตร กว้าง 20 เมตร…ปัจจุบันถนนมีความกว้าง 6-8 เมตร ยาว 9 กิโลเมตร บนถนนฝรั่งส่องกล้อง จะมีจุดสำคัญอีกหนึ่งจุดคือ บ่อน้ำโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแหล่งน้ำที่ขุดขึ้นเพื่อใช้เป็นน้ำอุปโภคบริโภคของทัพพระเจ้าทรงธรรมระหว่างการเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาท ขอบบ่อด้านบนเป็นศิลาแลงที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อรักษาสภาพไม่ให้หน้าดินทลายลงไปทับถม รวมถึงป้องกันอุบัติเหตุที่อาจร่วงตกลงไปได้ ลักษณะบ่อนำโบราณปัจจุบัน เหือดแห้งไปมากพอสมควร ปรากฏให้เห็นอิฐเก่าของบ่อน้ำอย่างชัดเจน ผมเดินวนเวียนถ่ายรูปและเก็บบรรยากาศพอสมควรแก่เวลา จึงออกเดินทางสู่พระพุทธบาทสระบุรี มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท สระบุรี ได้รับการบูรณะมาหลายสมัย ดูสวยงามเป็นอย่างมาก… Read More »

วัดบรมพุทธาราม วัดสิงหาราม ย่านตลาดบ้านดินสอ ริมคลองฉะไกรน้อยในราชภัฏอยุธยา

https://youtu.be/8V_xM7k8X0s วัดบรมพุทธาราม วัดสิงหาราม ย่านตลาดบ้านดินสอ ริมคลองฉะไกรน้อยในราชภัฏพระนครศรีอยุธยา… ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส ณ ตลาดบ้านดินสอ… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยวัดวาอาราม วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางเข้าไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อเที่ยวชมวัดโบราณซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง คือ วัดบรมพุทธารามและวัดสิงหาราม ตั้งอยู่ริมคลองฉะไกรน้อยซึ่งเป็นคลองโบราณใช้สัญจรในสมัยอยุธยา ปัจจุบันลำคลองถูกตัดขาดเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ยังคงให้ได้เห็นสภาพลำคลองภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ภายในบริเวณริมคลองฉะไกรน้อยนี้ ได้ปรากฏชื่อในละครบุพเพสันนิวาส ที่กำลังโด่งดังช่วงต้นปี พ.ศ.2561 อีกด้วย โดยระบุว่าเป็นตำแหน่งของตลาดบ้านดินสอ เป็นย่านที่ขายสมุดและดินสอในสมัยอยุธยา โดยมีโบราณสถานยืนยันอีกจุดคือ สะพานบ้านดินสอที่ข้ามผ่านคลองฉะไกรน้อย ที่ได้รับการบูรณะแล้วให้ได้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ วัดแรก วัดบรมพุทธราราม การเดินทาง สะดวกมากครับ จะขับรถเข้ามาในมหาวิทยาลัยเลยก็ได้ มีที่จอดมากมายเมื่อ เข้ามายังพื้นที่วัดบรมพุทธารามสภาพปัจจุบันมีต้นไม้ใหญ่ให้ได้ร่มเงาอยู่ครับ ทำให้ลบร้อนกันได้ จึงมีนักศึกษามานั่งอ่านหนังสือและทำกิจกรรมกันพอสมควรในบริเวณนี้ เจดีย์ทรงปรางค์หน้าพระอุโบสถจะมีอยู่ 2 องค์คู่กัน อีกองค์หนึ่งชำรุดทรุดโทรมเหลือเพียงส่วนฐาน พระวิหาร วัดบรมพุทธารามจะตั้งอยู่ข้างพระเจดีย์หน้าอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่พระเพทราชา (ช่วงเวลาครองราชย์ พ.ศ. 2231 – 2245)โปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ณ บ้านป่าตองสถานที่พระองค์เคยตั้งบ้าเรือนเมื่อครั้งรับราชการอยู่ในกรมช้าง วัดนี้พระเพทราชาโปรดเกล้าให้ช่างทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองมุงหลังคาอาคารภายในวัด  จึงมีชื่อสามัยที่เรียกกันอีกชื่อว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ”  กล่าวกันว่าสมเด็จพระเพทราชาทรงได้รับแรงบันดาลใจจากกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคาพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรี จึงได้รับสั่งทำกระเบื้องเคลือบสีเดียวกันใช้มุงหลังคาวัดแห่งนี้ วัดที่สอง วัดสิงหาราม เมื่อเดินข้ามคลองฉะไกรน้อยไปอีกฟากหนึ่ง เราจะเห็นโบราณสถานอีกแห่ง นั่นก็คือวัดสิงหาราม ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานการสร้างมาก่อนวัดบรมพุทธาราม อย่างน้อยในช่วงอยุธยาตอนกลาง เจดีย์ทรงระฆังมีปรากฏในศิลปะอยุธยาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่  20 ที่วัดมเหยงคณ์และได้รับความนิยมสืบต่อมาถึงสมัยอยุธยาตอนกลางที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ส่วนวิหารส่วนหน้าต่างทำช่องแสงเป็นช่องลูกกรงเลียนแบบลูกกรงลูกมะหวดในศิลปะเขมร ซึ่งปรากฏมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นที่วิหารหลวงวัดมหาธาตุ … Read More »

ตามรอยเสด็จประพาส ร.๕ วัดศาสดา วัดร้างอยุธยาที่ไม่เคยรู้

https://youtu.be/Byo7fLYRFVo ตามรอยเสด็จประพาส ร.๕ วัดศาสดา วัดร้างอยุธยาที่ไม่เคยรู้… สวัสดีครับท่านผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยทุกท่าน วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๕ โดยเราจะเดินทางไปที่วัดศาสดา ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างไปเสียแล้ว มีซากเจดีย์โบราณที่ถูกปกคลุมด้วยต้นโพธิ์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ วัดศาสดาตั้งอยู่ในเขตบ้านเรือน แต่เราสามารถเข้ามาถ่ายรูป ท่องเที่ยวกันได้ แต่อาจจะมีเหล่าสุนัขคอยเห่ารบกวนสมาธิบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ต้องกังวลครับ (ไม่กัด) เมื่อผมเดินทางมาถึง จะเห็นต้นโพธิ์สูงใหญ่ชัดเจน แลดูช่างคลาสสิคเป็นอย่างยิ่ง ผมได้สอบถามป้าที่บ้านทางเข้าเขตวัดศาสดา ป้าบอกว่ากรมศิลปากรจะส่งเจ้าหน้าที่คอยมาทำความสะอาดและตัดต้นไม้ไม่ให้รกตามเวลาที่กำหนดไว้ ในเขตพื้นที่บ้านแต่เดิมจะมีแนวกำแพงและผนังโบสถ์ แต่ปัจจุบันได้ทลายหายไปหมดสิ้นแล้ว แนวผนังอาคาร ยังพอให้เห็นเศษอิฐโบราณที่กระจัดกระจายอยู่ครับ จากนั้นผมได้ขึ้นไปสำรวจเจดีย์ด้านบน ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเพราะมีความสูงชัน ตามรอยเส้นทางเสด็จประพาส รัชกาลที่ ๕ วัดศาสดา เป็นจุดหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาถึง ปรากฏในพระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่าและพระราชกระแสเรื่องจัดการทหารมณฑล กรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๕ มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัดศาสดาบางตอนดังนี้ ๒๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๗ (พ.ศ ๒๔๕๑) ลงเรือล่องลงมาเข้าคลองบางนางร้า หาที่พักทำกับข้าวไม่เหมาะจนมาออกปากคลอง เลยขึ้นไปดูข้างเหนือเห็นว่าจะช้าเสียเวลาไปจึงได้แล่นกลับลงมา ไม่ช้าเท่าใดก็ถึงวัดวรนายกรังสรรค์วัดเขาดิน ที่จริงภูมิฐานดี แลเห็นเด่นแต่ไกล เป็นที่ประชุมไหว้พระใหญ่ไม่มีที่ไหนเท่าสุพรรณ อ่างทอง ลพบุรีก็ลงมาพร้อมกันหมด เสียแต่การก่อสร้างไม่แข็งแรงเลยพูนดินขึ้นไปที่โคกโบสถ์สูงครากแบะจะพัง มาไลยเจดีย์ปูนยังไม่ทันจะดำมีต้นไม้ขึ้นมาก ทำกำมะลอเสียแต่แรกแล้ว ไม่ได้แวะเลยลงมาตามลำน้ำโพธิ์สามต้นไปทางบางขวดถึงปากช่องที่จะเข้าไปวัดตูม วัดศาสดา จอดเรือโมเตอร์ที่นั้นลงเรือสามสิบหกศอกแจวเข้าไป หยุดทำกับข้าวที่วัดศาสดา ซึ่งมีการเปรียญน้ำพอปริ่ม ๆ ที่จริงไม่เห็นท่าทางที่น่าจะอด หน้าวัดก็มีบ้าน การเปรียญก็ดูเป็นที่เทศนาวาการกันอยู่ แต่มีพระองค์เดียวเท่านั้น พระองค์เดียวก็มิใช่อยู่อย่างจนๆ อยู่กุฏิฝากระดานยังใหม่… Read More »

วิหารหลวงพ่อคอหัก(หลวงพ่อสุริยมุนี) วัดโคกกระบือ(ร้าง) สถานีรถไฟอยุธยา

https://youtu.be/FU-1-oeChYw วิหารหลวงพ่อคอหัก(หลวงพ่อสุริยมุนี) วัดโคกกระบือ(ร้าง) สถานีรถไฟอยุธยา… สวัสดีครับท่านผู้ติดตามและรักการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยความศรัทธาทุกท่าน วันนี้แอดมินตั้มจะพาทุกท่านเดินทางไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เราจะไปเที่ยวชมวัดร้างเดิม ที่มีชื่อว่าวัดโคกกระบือ คนในพื้นที่ไม่คุ้นชื่อนี้นัก แต่จะไปคุ้นเคยในชื่อวิหารหลวงพ่อคอหัก ด้วยชื่อที่แปลก ทำให้ผมเกิดความสนใจที่จะเดินทางไปชมสถานที่ และหาที่มาของชื่อนี้ วิหารหลวงพ่อคอหักถูกสร้างภายหลังบนพื้นที่วัดร้างที่ชื่อวัดโคกกระบือ ติดสถานีรถไฟ อยุธยา ซึ่งทราบชื่อนี้ได้จากแผนที่โบราณจากกรมศิลปากร จากตำแหน่งวัดโคกกระบือ จะอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟอยุธยา ซึ่งการเดินทางสะดวกมากครับ หลังจากเดินทางมาถึงสถานีรถไฟและหาที่จอดรถได้เป็นที่เรียบร้อย เราต้องเดินเข้าไปยังสถานีรถไฟและข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อข้ามทางรถไฟมาอีกฝั่ง จะมีสะพานเล็กๆเชื่อมกับหมู่บ้าน และมีป้ายบอกวิหารหลวงพ่อสุริยมุนี หลวงพ่อคอหัก อย่างชัดเจน เมื่อข้ามฝั่งมาจะเห็นที่ทำการชุมชน และวิหารจะอยู่ถัดเข้าไปเล็กน้อย หลวงพ่อสุริยมุนี (หลวงพ่อคอหัก) เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สันนิษฐานอายุในสมัยทวารวดีสลักจากศิลาเนื้อละเอียดสีเขียวเข้มเจือดำ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 ซม. สูง 89 ซม.  เดิมพระพักตร์กระเทาะหลุดหายไปและได้รับการบูรณะราวปี พ.ศ.2507 เรื่องราวตำนานหลวงพ่อสุริยมุนี (หลวงพ่อคอหัก) จากหนังสือประวัติพระสุริยมุนี ศรียะลา ได้กล่าวถึงประวัติหลวงพ่อคอหักไว้ว่า คุณพวง อุณจักร ได้เล่าไว้เมื่อปี พ.ศ.2475 ได้ย้ายมาจากอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งนายสถานีรถไฟอยุธยาในสมัยนั้น และได้เห็นโคกแห่งหนึ่งเป็นที่เลี้ยงกระบือของชาวบ้าน (สันนิษฐานน่าจะเป็นที่มาของชื่อวัดโคกกระบือ) ที่โคกแห่งนี้มีซากพระพุทธรูปถูกทิ้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จึงได้เก็บรวบรวมมาไว้เป็นที่เป็นทาง รวมถึงการแผ้วถางทำความสะอาดพื้นที่ และนำพระพุทธรูปมาประกอบร่วมกับชาวบ้าน และขนานนามว่า “หลวงพ่อคอหัก” และมีพิธีพุทธาภิเษกโดยหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2507 ครั้งนั้น คุณพวงได้ชักชวนเสมียนและพนักงานสถานีรวมเงินกันเพื่อซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล… Read More »