admin

ผมมีความรักในการเดินทางท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และได้เขียนบล็อกแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อแบ่งปันเรื่องราวให้กับเพื่อนๆทุกคนที่สนใจในสิ่งคล้ายๆกัน / ยุทธนา ผิวขม (แอดมินลุงตั้ม)

Author Archives: admin

เมืองโบราณพันปี ที่ถนนสายเอเชียตัดผ่าน เมืองโคกไม้เดน นครสวรรค์

สวัสดีครับผมได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวโบราณสถานแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ ผมจึงได้ลองหาข้อมูลบน Google Map พบว่ามีสถานที่ในเขต อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีร่องรอยของเมืองโบราณ ร่วมสมัยทวารวดี เก่าแก่กว่าพันปี มีชื่อว่า “เมืองโบราณโคกไม้เดน”  จากการดูแผนที่บน Google Earth พบว่า เมืองโบราณโคกไม้เดนมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีถนนหมายเลข 1 หรือถนนสายเอเชียตัดผ่านทำให้เมืองโบราณถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน ถ้าเดินทางจากกรุงเทพฯ ฝั่งซ้ายจะเป็นเมืองชั้นใน(กรอบสีเขียว) ฝั่งขวาจะเป็นชั้นนอก มีภูเขาเขาเป็นปราการซึ่งเป็นเขตของวัดโคกไม้เดน และผมเชื่อว่า จะเป็นเมืองโบราณที่มีผู้คนเดินทางผ่านมากที่สุด แต่น้อยคนจะรู้ว่าได้เดินทางผ่านดินแดนโบราณที่สืบทอดการอยู่อาศัยมานานนับพันปี เนื่องจากผมมีเวลาค่อนข้างน้อย ผมจึงตัดสินใจที่จะเดินทางไปยังฝั่งวัดโคกไม้เดน ส่วนอีกฝั่งหนึ่งน่าจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ถ้ามีเวลาภายหลังจะหาโอกาสพาไปชมนะครับ ผมได้ตั้งพิกัดไปยังวัดเขาไม้เดน ซึ่งจะอยู่ทางเข้าด้านข้างศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 ผ่านศาลเจ้าพ่อขุนด่าน เส้นทางจะผ่านเขาลูกเตี้ยๆไปตลอดทางจนถึงวัดเขาไม้เดน ก็จะเริ่มเห็นร่องรอยของโบราณสถานแล้วครับ ย้อนกลับไปในอดีตที่มีการค้นพบเมืองโบราณแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2506 เกิดจาก ดร.ควอริตช์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้นำภาพถ่ายทางอากาศของทหารอังกฤษและอเมริกัน เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 มาทำการศึกษา จึงเห็นลักษณะทางภูมิประเทศเป็นผังเมืองโบราณ ซึ่งน่าจะค้นพบแหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุมากมายในพื้นที่แถบนี้ จึงได้แจ้งเรื่องและขออนุญาตร่วมสำรวจกับทางกรมศิลปากร ซึ่งขณะนั้นมีนายธนิต อยู่โพธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อทางกรมศิลปากรอนุมัติการสำรวจ จึงได้เริ่มสำรวจครั้งแรกราวเดือนเมษายน พ.ศ.2507 พบโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะในวัฒนธรรมทวารวดี เช่นเดียวกับที่นครปฐม ,เมืองโบราณคูบัว ราชบุรี โบราณสถานพงตึก กาญจนบุรี และ อู่ทอง สุพรรณบุรี และยังพบพระพิมพ์ดินเผา… Read More »

เมืองโบราณพันปีไพศาลี และเมืองเก่าเวสาลี นครสวรรค์

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองเก่าเวสาลี ตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงชัย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ การเดินทางถือว่ามีความสะดวก รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ กลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ได้รับการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 โดยกรมศิลปากร กำหนดอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นไป ความพิเศษของกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้คือ เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโบราณไพศาลี ซึ่งเป็นเมืองโบราณอายุกว่าพันปี ในสมัยทวารวดีอีกด้วย แผนผังการสำรวจเมืองโบราณไพศาลี เมื่อปี พ.ศ.2511 ได้ระบุตำแหน่งของกลุ่มโบราณสถานเมืองเก่าเวสาลี จะตั้งอยู่ทางทิศะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณไพศาลี งานวิจัยการพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนแรกเริ่ม ในเขตอำเภอไพศาลี โดย นฤพล หวังธงชัยเจริญ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่ามีการพัฒนาการของชุมชนมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยทวารวดี เช่นเดียวกับเมืองโบราณอื่นๆ ที่ค้นพบในลพบุรีและนครสวรรค์ จากนั้นได้พัฒนาการใช้งานในสมัยอยุธยา จากหลักฐานโบราณสถานในกลุ่มเมืองเก่าเวสาลี เมืองโบราณไพศาลี ในสมัยทวารวดี เดิมมีแผนผังคล้ายสี่เหลี่ยมมุมมน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ปัจจุบันถ้าดูแผนที่จาก Google Earth จะยังคงมองเห็นคูคันดิน และคูน้ำล้อมรอบในบางส่วน มีขนาดเมืองยาวประมาณ 700 เมตร กว้าง 500 เมตร เป็นรูปแบบเมืองโบราณทวารวดีที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป และคงมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับเมืองโบราณแถบภาคกลางของไทย ได้แก่ นครสวรรค์ ลพบุรี เพชรบูรณ์ สำหรับเมืองเก่าเวสาลีเป็นพัฒนาการต่อเนื่อง มาถึงสมัยอยุธยา โบราณสถานประกอบไปด้วย โบสถ์ วิหาร มณฑป ปรางค์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐและได้รับการบูรณะแล้ว เมืองเก่าเวสาลีแห่งนี้คงถูกทิ้งร้างในช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา จึงมีการบูรณะและสร้างกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ขึ้น ปัจจุบันตัวเมืองโบราณถูกปรับสภาพและผ่านกาลเวลามานานนับพันปี จึงไม่พบซากโบราณสถานใดๆ เราจึงได้ท่องเที่ยวเพียงกลุ่มโบราณสถานเมืองเก่าเวสาลี ที่มีอายุอยู่ในสมัยอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณเท่านั้น  สุดท้ายนี้ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ… Read More »

เมืองโบราณบ้านคูเมือง สิงห์บุรี จากเมืองโบราณพันปีสู่สวนรุกขชาติ

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองโบราณทวารวดีอีกแห่งหนึ่งในภาคกลาง นั่นก็คือ “เมืองโบราณบ้านคูเมือง” สิงห์บุรี ปัจจุบันพื้นที่ได้ถูกจัดสรรเป็นสวนรุกขชาติคูเมือง เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เมืองโบราณแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน และยังปรากฏคูน้ำคันดินล้อมรอบอย่างชัดเจน ภายในเมืองโบราณมีขนาดกว้าง 650 เมตร ยาว 750 เมตร สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันออก และแม่น้ำน้อยทางทิศตะวันตก และมีลำน้ำเครือข่ายอยู่โดยรอบ การขุดสำรวจภายในคูเมืองไม่หลงเหลือซากของโบราณสถาน  แต่พบหลักฐานทางโบราณวัตถุและร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ หลังการสำรวจ จึงได้จัดสรรพื้นที่ให้เป็นสวนรุกขชาติ เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชและเป็นแหล่งโบราณคดี การขุดสำรวจทางโบราณคดี ตั้งแต่ปี 2511-2526 พบโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา อาทิ ธรรมจักร พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป และโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา แวดินเผา ลูกปัด เป็นต้น คุณภัทราวดี ดีสมโชค นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560 พบหลักฐานทางโบราณคดี เป็นโครงกระดูกเด็ก โครงกระดูกสัตว์ เครื่องประดับลูกปัดต่างๆ เครื่องปั้นดินเผาและ เศษภาชนะดินเผาที่มีอักษรปัลลวะ การหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ จากโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ด้วยวิธีคาร์บอน 14 พบว่ามีอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 10 – 12 ในส่วนโบราณวัตถุที่พบ จะอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่… Read More »

เทือกเขางู ราชบุรี อารยธรรมวิหารถ้ำโบราณพันปี

ก่อนหน้านี้ผมเคยเดินทางไปชมถ้ำฤาษี เทือกเขางู เมืองราชบุรีมาแล้ว ซึ่งเทือกเขาแห่งนี้ ประกอบด้วยถ้ำหลายแห่ง ที่เคยเป็นสถานที่ทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี และน่าจะมีความเชื่อมโยงกับเมืองโบราณคูบัว ที่ห่างออกไปไม่ถึง 20 กิโลเมตรเท่านั้น ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดราชบุรีอีกครั้ง เพื่อไปชมถ้ำต่างๆบนเทือกเขางู ที่ประกอบไปด้วยถ้ำหลักๆ 4 ถ้ำได้แก่ ถ้ำฤาษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ ซึ่งแต่ละถ้ำล้วนพบร่องรอยการใช้พื้นที่ในทางศาสนา ได้แก่ภาพสลักและลวดลายปูนปั้นในศาสนาพุทธ อีกทั้งยังพบว่ามีภาพสลักพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ที่ถือว่าเป็นภาพสลักผนังถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย จุดแรกที่เราจะเดินทางขึ้นไปสักการะคือที่ถ้ำฤาษี จะเป็นถ้ำที่อยู่ไม่สูง นับได้คงไม่เกิน 40 ขั้นบันไดเท่านั้น จึงเป็นจุดที่หลายท่านคุ้นเคย และได้เข้าชมและสักการะมากที่สุด ถ้ำฤาษี ภายในเป็นถ้ำตื้นๆมีหลืบช่องเป็นถ้ำย่อยอีก 2 ถ้ำ มีพระพุทธรูปหลายองค์ พระพุทธรูปสำคัญของถ้ำฤาษีคือ สลักพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรม มีความสูงราว 2.5 เมตร จากฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้ระบุว่าปรากฏจารึกโบราณที่ฐานพระบาทลักษณะรูปอักษรเหมือนรูปอักษรที่ใช้อยู่ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ประเทศอินเดีย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ยอร์ช เซเดส์ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวฝรั่งเศส เคยขึ้นมาสำรวจเมื่อปีพ.ศ.2472 และทำการอ่านชำระเพิ่มเติมคำแปลและคำอธิบายเมื่อปี พ.ศ.2504 จนกระทั่งในปี พ.ศ.2529 อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกโบราณ ได้ทำการอ่านและแปลจารึกนี้ใหม่อีกครั้ง ความแปลพอสังเขป อธิบายว่าอาจเป็นการบอกชื่อของผู้สร้างพระพุทธรูป ในที่นี้คือ ฤาษีสมาธิคุปตะ หรือ พระศรีสมาธิคุปตะ ว่าเป็น ผู้บริสุทธิ์ ด้วยการทำบุญ จากจารึกนี้ จึงมีการสร้างรูปฤาษีในหลืบถ้ำเพื่อเป็นการแสดงถึงสถานที่บำเพ็ญพรตของฤาษีผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมา… Read More »

โบสถ์ร้างในหมู่บ้าน เก่าแก่โบราณกว่าร้อยปี วัดหนองเค็ด ฉะเชิงเทรา

หลังจากที่ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่จังหวัดสระแก้ว ระหว่างทางกลับผมตั้งใจที่จะแวะพักดื่มกาแฟที่ ไลฟ์เฮ้าส์ คิทเช่น อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดหนองเค็ด จึงนึกขึ้นได้ว่า “วัดหนองเค็ด” มีโบราณสถานที่น่าสนใจหลบซ่อนอยู่  นั่นก็คือโบสถ์หลังเก่าที่มีอายุกว่าร้อยปี ผมจึงได้ถือโอกาสนี้ แวะเข้าไปเก็บภาพ วัดหนองเค็ด ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เดิมพื้นที่วัดหนองเค็ด จะอยู่ลึกเข้าไปในหมู่บ้านลึกเข้าไปจากถนนหลายเลข 304 เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ไม่ได้ตั้งอยู่ริมถนนเช่นปัจจุบันนี้ โบสถ์หลังใหม่สร้างเมื่อปี 2516 แต่โบสถ์หลังเก่าที่อยู่ลึกเข้าไป ยังคงหลงเหลือให้เห็นถึงปัจจุบันนี้ และผมจะพาทุกท่านเข้าไปชมครับ ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เขียนไว้ว่า วัดหนองเค็ด ตั้งมาตั้งแต่ปี 2375 ซึ่งมีข้อมูลไม่มากนัก ผมจึงไปพบข้อมูลในกลุ่มเฟสบุ๊คหอจดหมายเหตุบางคล้า ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า “วัดหนองเค็ด” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งแต่ปี 2426 และได้รับพระราชทานตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดพนมพนาวาศ”  แต่ชาวบ้านยังคงใช้ชื่อวัดหนองเค็ดตามชื่อของหมู่บ้าน ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันฯ ระบุ จ.ศ.1245 ตรงกับปี พ.ศ.2426 เป็นปีที่วัดหนองเค็ด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพนมพนาวาศ”  โบสถ์หลังเก่าวัดหนองเค็ด มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นโบสถ์โล่ง มีเสาไม้ หลังคาสังกะสี ภายในมีฐานชุกชีและประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ที่เคยเป็นพระประธาน แต่มีสภาพที่ทรุดโทรมอย่างหนักด้วยกาลเวลาที่ผ่านมานานกว่าร้อยปี โครงสร้างภายในมีความชำรุดพอสมควรจากปลวกที่ขึ้นกินเนื้อไม้ เกรงว่าจะพังทลายลงมา แต่ชาวบ้านในพื้นที่มีความหวงแหน จึงได้ร่วมกันอนุรักษ์โครงสร้างเดิม โดยการสร้างหลังคาถาวรขึ้นปกคลุมไว้ เพื่อย้ำเตือนความทรงจำในความศรัทธาของบรรพบุรุษ ที่ร่วมสร้างโบสถ์หลังนี้ขึ้น… Read More »

วัดบันไดนาค วัดร้างที่เหลือเจดีย์ถูกเจาะหาสมบัติพรุนไปทั้งองค์ ในป่าที่อยุธยา

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางตามรอยวัดร้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้ามไปยังฝั่งทิศใต้นอกเกาะพระนครศรีอยุธยา ที่ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อไปยังวัดบันไดนาค ซึ่งเป็นวัดร้างยังไม่ผ่านการบูรณะ ปัจจุบัน(ปี 2566) ยังหลงเหลือซากเจดีย์สมัยอยุธยา ที่ถูกเจาะหาสมบัติจนพรุนทั้งองค์ วัดแห่งนี้ไม่พบข้อมูลเอกสารบันทึก แม้แต่หนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ที่ อ.น. ณ ปากน้ำได้ลงพื้นทีสำรวจ เมื่อราวปลายปี 2509 ก็ไม่ปรากฏการพบวัดแห่งนี้ ซึ่งสมัยนั้นคงอยู่ในป่ารกทึบ ประกอบกับวัดร้างในอยุธยามีเป็นจำนวนมาก จึงอาจตกสำรวจในครั้งนั้น แม้วัดบันไดนาค จะยังไม่ผ่านการบูรณะ แต่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้เรียบร้อยแล้ว  พื้นที่วัดบันไดนาค มีสภาพที่มีวัชพืชและต้นไม้ขึ้นปกคลุมจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะต้องลุยป่าเข้าไป ซากองค์เจดีย์ของวัดบันไดนาค มีสภาพถูกเจาะหาสมบัติด้านในจนพรุนไปทั้งองค์ เกือบจะพังทลายลงมา เมื่อเรามองเข้าไปด้านในจะเห็นช่องกรุ เป็นห้องกลวงที่เคยถูกค้นหาเมื่อครั้งอดีต สำหรับเรื่องการขุดหาสมบัติในอยุธยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากได้กอบกู้คืนเอกราช ซึ่งมีบันทึกในเอกสารจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาครั้งกรุงศรีอยุธยา บันทึกไว้ว่า มีการขุดหาสมบัติตามวัดในกรุงศรีอยุธยาโดยคนจีนและคนไทย พบของมีค่าและทองคำ มีจำนวนมากจึงต้องนำออกไปเป็นลำเรือ แม้แต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ให้รื้ออิฐไปสร้างกรุงใหม่ ก็มีการลักลอบขุดหาสมบัติด้วยเช่นกัน กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี จนมาถึงปัจจุบัน โบราณสถานทุกแห่งในกรุงศรีอยุธยา จึงถูกทำลายไปมากมาย เนื่องจากไม่พบบันทึกประวัติการสร้างวัด จึงสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปกรรมของเจดีย์ วัดบันไดนาค ผศ.ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเจดีย์ของวัดบันไดนาคไว้ว่า ชั้นซ้อนเจดีย์มีความคล้ายกับเมรุรายที่วัดไชยวัฒนราม ซึ่งมีชั้นซ้อนรองรับด้วยบัวหงายต่อกันขึ้นไปหลายชั้นจนแทบไม่เหลือยอด แม้จะเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมก็ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างถึงสมัยอยุธยาต้น แต่เป็นเจดีย์ที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบวัดไชยวัฒนารามในสมัยอยุธยาตอนปลาย สุดท้ายนี้ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไป สวัสดีครับ / แอดมินลุงตั้ม (ยุทธนา ผิวขม) ช่องทางการติดตาม Facebook : เพจภารกิจเที่ยววัด YouTube… Read More »