ถ้ำเขาคูหา สงขลา ถ้ำขุดพันปีเก่าแก่ที่สุดในไทย อารยธรรมฮินดูโบราณ

ผมได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่ วัดพะโคะ จ.สงขลา และด้วยความบังเอิญระหว่างการเดินทาง ผมได้ดูแผนที่บน Google Map เห็นลักษณะภูมิศาสตร์ คล้ายสระน้ำอยู่ใกล้เคียงกับวัดพะโคะ และทราบว่าคือแหล่งชุมชนโบราณ ที่เรียกกันว่า “โบราณสถานถ้ำเขาคูหา” ที่ปรากฏร่องรอยโบราณสถาน การอยู่อาศัย และพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ของมนุษย์เมื่อกว่าพันปีที่แล้ว หลังจากเที่ยววัดพะโคะ ผมจึงได้เดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ห่างกันเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น เราจะมองเห็นภูเขาลูกเตี้ยๆอยู่เบื้องหน้า แล้วมีถนนเส้นเล็กๆเชื่อมต่อไปยังโบราณสถานถ้ำเขาคูหาแห่งนี้ เขาคูหา ปรากฏถ้ำขุด 2 ถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วางตัวในแนวทิศเหนือและใต้ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนโบราณ ในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ งานวิจัยเรื่อง เขาคูหาถ้ำศาสนสถาน สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์บนคาบสมุทรสทิงพระ โดยธัชวิทย์ ทวีสุข มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวสรุปว่า เป็นคูหาถ้ำในศาสนาพราหมณ์ที่ขุดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 12- 14 ตั้งอยู่บนคาบสมุทรสทิงพระ โดยมีชาวอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียใต้ได้เดินทางเข้ามาเพื่อทำการค้า และมีการตั้งชุมชนและศาสนสถานเพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตนในพื้นที่แถบนี้ ผมได้เดินเข้าไปชมถ้ำที่ 1 ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ พบว่าเป็นถ้ำที่ถูกเจาะเป็นรูปโค้งมน กว้างประมาณ 5 เมตร ลึกเข้าไปราว 8 เมตร มีแท่นฐานด้านใน น่าจะเป็นที่ตั้งรูปเคารพ ทางด้านซ้ายมือของถ้ำจะมีร่องน้ำที่เซาะให้น้ำไหลออกไปทางปากถ้ำ และมีอ่างกลมอยู่ด้านนอก ซึ่งน่าจะเป็นการรับน้ำศักดิ์สิทธิ์จากภายในถ้ำเพื่อประกอบพิธีกรรมด้านนอกอีกด้วย โดยพบหลักฐานว่า ด้านหน้าถ้ำจะมีแท่นบูชาศิวลึงค์ และร่องรอยของโบราณสถานที่พังทลายไปแล้ว จากนั้นผมได้เดินไปยังถ้ำที่ 2 ทางทิศใต้ พบว่ามีลักษณะการเจาะเป็นถ้ำคล้ายกัน แต่ด้านในผนังถ้ำ ปรากฏรอยรูปวงกลมเขียนด้วยสีแดง ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า… Read More »

ประติมากรรมพระพุทธเจ้าถือไม้เท้า ถ้ำยายจูงหลาน ทวารวดีที่เพชรบุรี

  ระหว่างทางขับรถกลับเข้ากรุงเทพฯ ผ่าน จ.เพชรบุรี จึงตั้งใจจะแวะที่วัดถ้ำรงค์ เพื่อสักการะและชมประติมากรรมผนังถ้ำโบราณ แต่ได้เลี้ยวรถผิดทาง ได้มาพบกับวัดถ้ำเขาน้อยเกสโร ซึ่งมีเขาหินปูนอยู่ภายในวัด ก็เลยคิดว่าจะต้องมีถ้ำตามชื่อวัด จึงได้เข้าไปถามน้องที่ช่วยงานในวัด จึงได้ทราบว่า ใกล้กับทางเข้าวัดจะมีช่องถ้ำเล็กๆ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ถ้ำยายจูงหลาน” ปรากฏภาพประติมากรรมนูนต่ำร่วมสมัยทวารวดีเลยทีเดียวครับ ข้อมูลจากรมศิลปากร เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “โบราณสถานถ้ำเขาน้อย” แต่ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักกันในชื่อ “ถ้ำยายจูงหลาน” ลักษณะปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วย 2 คูหา คูหาแรก มีขนาดใหญ่คนลงไปได้ และแสงสว่างส่องถึง มีความกว้าง 3.5 เมตร สูง 4.4 เมตร และลึกเข้าไป 7.5 เมตร ปัจจุบันพื้นถ้ำปกคลุมด้วยดินที่ทับถมกันหนา และคูหาที่สอง มีขนาดเล็กเป็นช่องเข้าไป ปากถ้ำกว้าง 1.5 เมตร สูง 1.4 เมตร และลึกเข้าไป 4.5 เมตร ข้อมูลจากกรมศิลปากรเมื่อครั้งสำรวจ เมื่อปี 2547 พบชิ้นส่วนอิฐเนื้อหยาบ เห็นเม็ดแกลบชัดเจน ความโดดเด่นที่ยังปรากฏในปัจจุบันคือ มีภาพประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำประดับผนังถ้ำ รูปพระพุทธเจ้า เทพพนม และรูปบุคคล 2 คน คนหนึ่งมีความสูงกว่า ลักษณะจูงแขน จึงเป็นที่มาของชื่อ “ถ้ำยายจูงหลาน” และมีเรื่องเล่าชาวบ้านว่า ช่วงใกล้รุ่ง เห็นยายจูงหลานเดินออกมาใส่บาตร ประติมากรรมนี้มีความแปลกที่ไม่ค่อยได้เห็นกันนัก เพราะเป็นรูปพระพุทธเจ้าถือไม้เท้า… Read More »

พระธาตุตาดทอง จากนิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ และตำนานพระธาตุพนม

พระธาตุตาดทอง ตั้งอยู่ที่ ต.ตาดทอง อ.เมือง ยโสธร เป็นพระธาตุเก่าแก่ กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 24 ที่มีการผูกตำนานการสร้างจากนิทานท้องถิ่น 2 เรื่อง ได้แก่ ตำนานพระธาตุพนม และนิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวว่าเมื่อครั้งบูรณะพระธาตุพนม ชาวบ้านได้นำทรัพย์สมบัติมีค่าใส่ถาดทอง เพื่อนำไปบรรจุในพระธาตุพนม เมื่อเดินทางไปถึงปรากฏว่าพระธาตุพนมได้บูรณะเสร็จแล้ว จึงได้นำเอาถาดทองสมบัติต่างๆ มาบรรจุสร้างพระธาตุขึ้นในหมู่บ้าน เป็นพระธาตุถาดทอง หรือ พระธาตุตาดทองนั่นเอง และอีกเรื่องหนึ่งคือในนิทานท้องถิ่น เรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ที่เด็กหนุ่มได้สร้างทดแทนพระคุณแม่ ที่ตนเองได้กระทำผิดพลาดไป ธาตุก่องข้าวน้อย ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร เป็นเรื่องราวตำนานเล่าขานที่ผมคุ้นเคยมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นการกล่าวถึงเรื่องบาปบุญ คุณโทษที่ได้รับการสั่งสอนให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจเมื่อครั้งยังเด็ก โดยมีเนื้อเรื่องพอสรุปสั้นๆดังนี้ มีชายหนุ่มคนหนึ่งออกไปทำนาแต่เช้า โดยไม่ได้กินข้าวเช้าจึงทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและหิวอย่างมาก จนเวลาเลยเที่ยงวัน แม่ก็ยังไม่มาส่งข้าวทำให้รู้สึกโกรธ และเมื่อเห็นแม่มาส่งข้าวด้วยก่องข้าวขนาดเล็ก ยิ่งทำให้รู้สึกโกรธมากยิ่งขึ้น ด้วยคิดว่าตนเองจะกินไม่อิ่ม จึงได้ทำร้ายแม่จนเสียชีวิต จากนั้นชายหนุ่ม จึงได้นำข้าวมากิน แต่กินอย่างไรก็ไม่หมด เพราะแม่ได้อัดข้าวเหนียวลงก่องข้าวปริมาณมากอัดจนแน่นเพราะห่วงลูกชาย ทำให้เขาสำนึกในบุญคุณแม่ขึ้นมาโดยทันที และเสียใจกับการกระทำของตน จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวเพื่อทดแทนคุณแม่ของตนเอง เรื่องราวนิทานก่องข้าวน้อย ได้เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2523 ที่โคลีเซี่ยม-ออสการ์ ต่อมาได้มีอีกทัศนะให้ความเห็นว่า ธาตุก่องข้าวน้อย น่าจะอยู่ที่วัดทุ่งสะเดา ห่างจากพระธาตุตาดทองไปราว 3 กิโลเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า / ขอขอบคุณการติดตาม แอดมินลุงตั้ม (ยุทธนา ผิวขม) ช่องทางการติดตาม… Read More »

วัดเกาะแก้วอัมพวัน นครพนม หลวงปู่เสาร์สร้าง หลวงปู่มั่นเคยพำนัก

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปตามรอยเส้นทางพระธุดงค์กรรมฐาน(หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น) ที่จังหวัดนครพนม โดยผมจะพาไปยังวัดเกาะแก้วอัมพวัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม อยู่ห่างจากองค์พระธาตุพนมไม่ถึง 2 กิโลเมตร วัดแห่งนี้เป็นวัดในท้องถิ่น ที่ไม่มีประวัติการสร้างแน่ชัด เล่ากันแต่เพียงว่า หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้เข้ามาพัฒนาและสร้างวัดขึ้นมาเมื่อราวปี พ.ศ.2473 เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ที่เรียกกันว่า “วัดอ้อมแก้ว” ตามชื่อเจ้าของที่ดินเดิมที่ไปได้บริจาคเพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะทางพระพุทธศาสนา และเรียกชื่อใหม่ว่า วัดเกาะแก้วอัมพวัน ในภายหลัง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2490 เมื่อราวปี พ.ศ.2486 หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยมาพำนักยังวัดแห่งนี้ โดยมีหลักฐานจากคำบอกเล่าของหลวงตามหาบัว ที่ได้เล่าไว้ว่า ในปี พ.ศ.2486 หลวงปู่มั่น ได้มาพำนักยังวัดเกาะแก้วอัมพวัน หลังงานฌาปนกิจหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ซึ่งได้อยู่พำนักระยะหนึ่ง จากนั้นหลวงตามหาบัวจึงได้ตามมารับหลวงปู่มั่นไปยังบ้านฝั่งแดง ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม เพื่อสงเคราะห์ญาติโยมที่นั่น และในครั้งนั้น หลวงปู่มั่นได้อนุเคราะห์ให้โยมทองอยู่ ได้ถ่ายภาพ เป็นภาพยืนพาดสังฆาฏิอยู่ใต้ต้นค้อ (ผมสันนิษฐานว่าจะเป็นวัดกัณตะศิลาวาส ที่หลวงปู่กินรีเคยพัฒนาไว้)  หลังจากที่หลวงปู่มั่นได้สงเคราะห์ญาติโยมที่บ้านฝั่งแดงแล้ว หลวงตามหาบัวได้พาท่านไปจำพรรษาที่ วัดป่านาคนิมิตต์ บ้านนามน ต.ตองโขป อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ผมเดินทางไปยังวัดเกาะแก้วอัมพวัน(ปี 2566) พบว่ามีการปลูกสร้างเสนาสนะหลายอย่าง และอยู่ในระหว่างการก่อสร้างพระธาตุมิ่งเมือง ภายในวัดมีลานธรรม สร้างพระพุทธรูปและรูปหล่อครูบาอาจารย์ที่เกี่ยวของกับวัดแห่งนี้ไว้ ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต… Read More »

เมืองโบราณเมืองไผ่ ทวารวดีสุดขอบตะวันออก สระแก้ว

ผมได้วางแผนเดินทางไปท่องเที่ยวโบราณสถานที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม แต่ระหว่างทางได้สังเกตเห็นแผนที่บน Google Map มีลักษณะคล้ายเมืองโบราณทวารวดี มีลักษณะคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทราบชื่อว่า “เมืองไผ่” และปรากฏร่องรอยโบราณสถานกลางเมือง ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นปราสาท ผมจึงได้ตัดสินใจแวะไปชม ซึ่งเส้นทางมีความสะดวก เป็นถนนคอนกรีตเข้าสู่ชุมชนไปตลอดทาง เมืองโบราณแห่งนี้ตามข้อมูลว่าเป็นเมืองโบราณทวารวดีสุดขอบตะวันออกของไทยเลยทีเดียว พบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จนกระทั่งรับวัฒนธรรมทวารวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จนไปถึงยุคขอม เมืองโบราณเมืองไผ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านเมืองไผ่ ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นเมืองโบราณทวารวดีสุดขอบทิศตะวันออกของไทย สันนิษฐานว่ามีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมตั้งแต่ช่วงต้นทวารวดีพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ลักษณะสัณฐานเมืองโบราณคล้ายวงรี รูปไข่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีลำห้วยไหลผ่าน คล้ายเป็นการแบ่งเมืองชั้นนอกและเมืองชั้นใน โดยภายในเมืองชั้นใน ปรากฏร่องรอยโบราณสถาน เรียกกันว่า “ปราสาทเมืองไผ่” สาเหตุชื่อเมืองไผ่ เพราะบริเวณคูเมืองมีก่อไผ่เกิดขึ้นจำนวนมาก กรมศิลปากรได้เข้าสำรวจเบื้องต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 พบโบราณสถาน ต่างๆ ได้แก่ ปราสาทเมืองไผ่ เนินโบราณสถานนอกเมือง คูเมือง สระน้ำโบราณหรือบาราย ปราสาทเมืองไผ่ เป็นอาคารก่ออิฐ ส่วนฐานเป็นมุขยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ บริเวณผนังแกะสลักลวดลายต่างๆ เช่น หน้าบุคคล มีกำแพงแก้วล้อม 2 ชั้น และพบโบราณวัตถุสำคัญ เช่น เทวรูปยืนถือกระบองศิลปะแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ธรรมจักรสมัยทวารวดี และจารึกอักษรปัลวะ ปราสาทเมืองไผ่ รายล้อมไปด้วยชุมชนในยุคปัจจุบัน ซึ่งทางชุมชนมีความคาดหวังที่จะทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง… Read More »

ตามรอยหาสมบัติ วัดพระยาไกร วัดร้างและสาบสูญสู่ศูนย์การค้าเอเชียทีค

หลายท่านคงทราบว่า เอเชียทีค ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ เคยเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่ง ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นั่นก็คือ “วัดพระยาไกร” ปัจจุบันได้กลายเป็นวัดที่สาบสูญ หลงเหลือเพียงชื่อ สถานที่ต่างๆ เช่น แขวงวัดพระยาไกร ชุมชนตลาดเก่าวัดพระยาไกร และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ความทรงจำในอดีต ได้สะท้อนให้เห็นที่หน้าสถานีตำรวจ มีการจำลองพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่เคยเป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัดพระยาไกรไว้อีกด้วย จากหนังสือถนนเจริญกรุง ได้อธิบายเรื่องราววัดพระยาไกรไว้ว่า มีอีกชื่อหนึ่งคือ “วัดโชตนาราม” ด้วยเหตุที่ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (บุญมา) เป็นผู้สร้าง โดยตั้งใจจะถวายเป็นวัดหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังได้รับพระราชทานราชทินนามที่ “พระยาไกรโกษา” วัดแห่งนี้จึงเรียกอีกชื่อว่า “วัดพระยาไกร” ความรับรู้เรื่องราวในอดีต เกี่ยวกับวัดพระยาไกร ได้สะท้อนความงดงามผ่านพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้กล่าวในหนังสือราชการตอนหนึ่งว่า “…ส่วนวัดโชตนารามนั้น พระยาไกรผู้สร้างได้ทำเป็นการใหญ่โต ฝีมือประณีต บรรจงเลียนแบบอารามหลวง เหลือที่คนภายหลังจะซ่อมรักษาไว้ได้ และอยู่ในหมู่การค้าของคนต่างประเทศด้วย…”  พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของวัดพระยาไกรว่า “… วัดนี้ขณะยังไม่ร้าง มีโบสถ์สูงตระหง่านกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกนั้น เรือที่ผ่านตามลำน้ำเจ้าพระยามาย่านนี้ จะเห็นหลังคาโบสถ์มาแต่ไกล…” ทุกสรรพสิ่ง ไม่มีอะไรคงทนถาวร และวัดพระยาไกรก็เช่นกัน ภายหลังที่ผู้สร้างวัดถึงแก่กรรม ก็ไม่มีทายาทที่พอจะมีกำลังในการดูแลรักษา ประกอบกับวัดยังไม่ได้รับเข้าเป็นพระอารามหลวง เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทรุดโทรมหนัก และมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินหลวงอีกด้วย จนกระทั่งปี 2440 ทางราชการจึงให้สิทธิ์เช่าพื้นที่วัดพระยาไกร แก่บริษัทอีสต์ เอเชียติค… Read More »